Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

ไขข้อสงสัย อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ตรวจวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง?

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจจับสภาพการทำงานของร่างภายในบริเวณตั้งแต่ ช่วงท้องบนและช่วงท้องล่างทั้งหมด โดยทางแพทย์ทำการเช็คสุขภาพอวัยวะแต่ละจุดมีการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลจากการวินิจฉัยนี้ ทำการรักษาและดำเนินการผ่าตัดแก่คนไข้ทันที และลดอัตราความเสี่ยงของโรคร้ายที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบกระเทือนแก่ชีวิตได้

เพราะ “อัลตราซาวด์ช่องท้อง” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากจำนวนคนไทยปัจจุบัน เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆในบริเวณช่องท้องเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ 

แล้วการอัลตร้าซาว์สามารถบอกความเสี่ยงอะไร เตรียมตัวอย่างไร และใครบ้างที่ควรตรวจบ้าง ทางทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องได้ในบทความนี้   
สารบัญบทความ

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound)

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound) คือ การตรวจสภาพการทำงานของอวัยวะภายในบริเวณช่วงท้องของคนไข้ทั้งหมด การทำงานของเครื่องอัลตราซาวด์ช่องท้องจะใช้ฟังก์ชันคลื่นเสียงที่มีคุณสมบัติในการสร้างคลื่นเสียงอัตราความถี่สูงสะท้อนตรงเนินหน้าท้องส่วนบนและส่วนล่างของคนไข้ เพื่อให้เกิดภาพอวัยวะภายในปัจจุบันตรงบริเวณที่ตรวจ 

และให้ทางแพทย์รับทราบสภาพการทำงานของช่วงท้องว่ามีสภาพการทำงานที่ปกติหรือไม่ หากมีส่วนใดส่วนของอวัยวะทำงานผิดปกติ ทางแพทย์สามารถใช้ข้อมูลจากการใช้อัลตราซาวด์ช่องท้องนี้ นำไปประกอบการรักษาโดยทันที  

ทำไมต้องอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

ทำไมต้องอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

โดยทั่วไป ประโยชน์การอัลตราซาวด์ช่องท้อง มีดังต่อไปนี้
  • เป็นการตรวจเช็คสุขภาพภายในช่วงท้องของคนไข้ เพื่อนำข้อมูลการตรวจมาประกอบการวินิจฉัยโรคได้ตรงกับสัญญาณอาการเจ็บป่วยของคนไข้
  • การอัลตราซาวด์ช่องท้องช่วยให้แพทย์จัดการวางแผน การผ่าตัด พร้อมหาทางวิธีรักษา และให้คำแนะนำกับคนไข้ที่มีปัญหาสุขภาพช่วงท้องได้อย่างถูกต้อง
  • การนำชิ้นส่วนอวัยวะสำหรับการอัลตร้าซาวด์ สามารถใช้ประโยชน์ของตัวเครื่องโฟกัสจุดส่วนส่วนการทำงานของอวัยวะตรงนั้นได้อย่างชัดเจน
  • อัลตราซาวด์ช่องท้องเป็นการตรวจภายในที่ใช้คลื่นความถี่กระทบกันเนินช่วงท้องที่ไม่สร้างรอยแผลหรือความเจ็บปวด ๆ ใดแก่คนไข้
  • เนื่องจากเครื่องอัลตราซาวด์ช่องท้องสามารถมองเห็นเนื้อเยื่อได้ชัดเจนกว่าการเอกซเรย์ปอด ทำให้เป็นอุปกรณ์ในการช่วยวินิจฉัยโรคภายในช่องท้องได้อย่างแม่นยำ

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง บอกอะไรได้บ้าง

1. อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน


อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง บอกอะไรได้บ้าง

อัลตร้าซาวด์สำหรับตรวจช่องท้องส่วนบน (Upper Abdomen Ultrasound) สามารถบอกสภาพการทำงานของอวัยวะในบริเวณเนินท้องเหนือสะดือเป็นต้นไป โดยเริ่มต้นจะเป็นการอัลตร้าซาวด์ตับเป็นจุดแรก ต่อมาจะเป็นตับอ่อน กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ม้าม ถุงน้ำดี และไต เพื่อวินิจฉัยในการหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากอวัยวะที่กล่าวขึ้นข้างต้น อย่างการเกิดอักเสบหรือเนื้องอก การเกิดมะเร็ง  เป็นต้น

2. อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง


อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง

อัลตร้าซาวด์สำหรับตรวจช่องท้องส่วนล่าง (Lower Abdomen Ultrasound) สามารถบอกสภาพการทำงานของอวัยวะในบริเวณเนินท้องใต้สะดือเป็นต้นไป โดยเริ่มต้นจะเป็นการอัลตร้าซาวด์ ลําไส้เล็ก-ใหญ่เป็นจุดแรก ต่อมาจะเป็นไส้ติ่ง กระเพาะปัสสาวะ ปีกมดลูก มดลูกของเพศหญิง และต่อมลูกหมากของเพศชาย เพื่อวินิจฉัยในการหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากอวัยวะที่กล่าวขึ้นข้างต้น อย่างการเกิดมะเร็งรุกราน การเกิดเนื้องอก  หรือ การตรวจมะเร็งลำไส้ เป็นต้น

3. อัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด


อัลตร้าซาวด์สำหรับตรวจช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) สามารถบอกสภาพตรวจดูอวัยวะในช่องท้องทั้งหมดตั้งแต่ช่วงเหนือสะดือและใต้สะดือลงไป เช่น ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ไต มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ ไส้ติ่ง เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

การเตรียมตัวก่อนอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

คนไข้ที่ได้ทำการนัดตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง มีลำดับการเตรียมตัวดังต่อไปนี้
  • ทำการนัดพบแพทย์เพื่อบอกรายละเอียดอาการ และสภาพร่างกายทางกายภาพทางปัจจุบัน ว่ามีจุดส่วนไหนของบริเวณท้องต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เพื่อให้ทางแพทย์ทำการนัดวันสำหรับการตรวจสุขภาพ
  • งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างต่ำ 4-6 ชั่วโมงก่อนเข้าการตรวจ
  • ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เยอะที่สุดเท่าที่ดื่มได้ และทำการกั้นปัสสาวะอย่างต่ำ 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้าการตรวจ
  • คนไข้ท่านใดที่มีโรคประจำตัว สามารถใช้ยาประจำทานตามเวลาที่กำหนดได้ตามปกติ

ขั้นตอนการอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

ขั้นตอนในขณะทำการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง มีดังต่อไปนี้
  1. ทางแพทย์จะให้คนไข้นอนบนเตียง พร้อมให้คนไข้เปิดเสื้อบริเวณช่องท้องเพื่อเตรียมตัวการอัลตราซาวด์ช่องท้อง
  2. แพทย์จะใช้เจลใสมาทาบริเวณเนินท้อง เพื่อให้เนื้อเจลนี้สามารถเป็นตัวกลางในการส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์ตรงส่วนหัวตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ช่วงเริ่มต้นการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง ทางแแพทย์จะกดบริเวณที่ตรวจเบา ๆ วนไปมาตรงจุดที่ต้องการโฟกัสให้ตรวจ
  4. ในขณะที่ทางแพทย์ใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่องท้องตรงจุดที่โฟกัส คนไข้สามารถมองเห็นสภาพการทำงานของอวัยวะในผ่านจอมอนิเตอร์จากการสร้างภาพของเครื่องอัลตร้าซาวด์ได้ โดยระยะเวลาการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10-45 นาที
  5. หลังทำการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องเสร็จเรียบร้อย คนไข้เตรียมรอฟังการวัดผลจากแพทย์ ในการรักษาขั้นต่อไป

ใครบ้างที่ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

บุคคลที่มีความจำเป็นในการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง ดังต่อไปนี้
  1. ชายและหญิงที่มีอายุ 30 ปีเป็นต้นไป
  2. ผู้ที่มีปัญหากับระบบย่อยอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืดบ่อย หรือเกิดอาการจุกเสียดทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
  3. ผู้ที่มีปัญหากับระบบขับถ่าย เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ถ่ายไม่ออก

ข้อสรุป

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นวิธีการตรวจอวัยวะภายในช่วงท้องที่ปลอดภัย ไม่สร้างรังสีใด ๆ ที่เกิดความเสียงหายทางด้านผิวหนังของคนไข้ ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมอุปกรณ์สำหรับตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องราคาย่อมเยาว์ พร้อมบริการรับตรวจช่องท้องทั้งหมด เพื่อค้นหาสภาพอาการโดยรวม และเน้นย้ำส่วนของอวัยวะที่ต้องการโฟกัสอย่างการใช้อัลตร้าซาวด์กระเพาะอาหาร ที่คนไทยเป็นกันบ่อย ๆ โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม