Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

ตรวจมะเร็งลำไส้ ช่วยคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ทันโรคร้าย ก่อนสายเกินแก้

ตรวจมะเร็งลําไส้ ราคา

ปัญหาท้องผูก ท้องเสีย การขับถ่าย แม้จะดูเป็นปัญหาที่เล็กน้อย น่ากวนใจ แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นแล้ว การดูแลสุขภาพในระยะยาวเพื่อหลีกเลี่ยงการมีปัญหาในระบบลำไส้และการขับถ่ายได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆของคนไทย นอกจากจะเป็นสาเหตุของความไม่สบายกายแล้วยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจและเป็นกังวลกับปัญหาสุขภาพข้างต้นอีกด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นมะเร็งแล้วก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทั้งในระยะแรกเริ่ม หรือการรักษาในระยะยาวด้วย

สารบัญบทความ
 


มะเร็งลำไส้ใหญ่ อันตรายที่ใกล้ตัว

มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มแรกอาจไม่ค่อยมีอาการที่ชัดเจนมากนัก สามารถสังเกตได้จากการขับถ่ายที่ผิดปกติเป็นหลัก เช่น ท้องผูก ท้องเสีย สลับกัน ถ่ายมีเลือดปน มีสีคล้ำกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือขนาดอุจจาระที่มีลักษณะลีบผิดไปจากเดิมเพราะอาจหมายถึงลำไส้มีความผิดปกติและส่งผลต่อรูปทรงของอุจจาระได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 มะเร็งยังอยู่ในบริเวณเยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2 มะเร็งแพร่เข้าสู่ชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ อาจทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้และเข้าถึงบริเวณเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเคียงข้าง
  • ระยะที่ 3 มะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและบริเวณใกล้เคียง อาจลุกลามไปตามกระแสเลือดรวมถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก ตับ ปอด

ผลกระทบจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ใช่แค่เรื่องของการขับถ่ายเท่านั้น นอกจากความผิดปกติของอุจจาระแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องรุนแรง ไปจนถึงอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวพรรณซีดเซียว หรือคลำพบก้อนในบริเวณท้อง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้วควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ไม่ควรปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในระยะแรก เนื่องจากสาเหตุมักมาจากการเกิดติ่งเนื้อ ติ่งเนื้องอกในผนังลำไส้ เป็นเซลล์ผิดปกติที่สามารถกำจัดออกได้ ป้องกันการเพิ่มจำนวนตามอายุของผู้ป่วย และป้องกันไม่ให้ติ่งเนื้อเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้อีกด้วย


อาการส่งสัญญาณเตือนโรคมะเร็งลำไส้

ค่ามะเร็งลําไส้
  • อาการปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสียสลับกัน
  • ความรู้สึกอ่อนเพลีย
  • ร่างกายซีดเซียว
  • อุจจาระมีลักษณะแบนลีบผิดจากปกติ
  • อุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดจากปกติ
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถึงแม้ว่าสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่จะไม่แน่ชัด แต่มะเร็งลำไส้มีแนวโน้มว่าจะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยเฉพาะการรับประทานอาหารอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลค่อนข้างมาก นอกจากนั้นก็มีปัจจัยอื่นด้วย ได้แก่

  • อายุ โดยบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงมากกว่า
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีไขมันสูง ทำให้ท้องผูกบ่อย อาจทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม หากมีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อน ก็จะมีแนวโน้มมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • บุคคลที่ท้องผูก ท้องเสียบ่อย โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

การตรวจมะเร็งลำไส้ (Colonoscopy Cancer Screening)

วิธีตรวจมะเร็งลําไส้

การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ Colonoscopy Cancer Screening คือการตรวจร่างกายเพื่อเช็คสุขภาพบริเวณลำไส้ หากมีสิ่งผิดปกติ แพทย์จะสามารถรู้และตรวจสุขภาพเพิ่มเติมได้ เป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีของมะเร็งลำไส้เนื่องจากผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดเจน การตรวจจะทำให้สังเกตเห็นความผิดปกติที่อาจเกิดได้ง่ายขึ้น


วิธีตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีกี่วิธี อะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ การตรวจอุจจาระ การตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียมและการตรวจด้วยการส่องกล้องเสมือนจริง หากเกิดความสงสัยว่าการตรวจมะเร็งลำไส้ในแบบต่าง ๆ นั้นทำยังไง บทความนี้ได้สรุปการตรวจแต่ละแบบไว้ดังนี้ 

การตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)


ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่หรือ colonoscopy คือวิธีการตรวจโดยใช้กล้องขนาดเล็กจิ๋วสอดผ่านเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจสอบลำไส้โดยตรง วิธีนี้ผู้ป่วยจะรับประทานยาระบายเพื่อเตรียมลำไส้ก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อประสิทธิภาพการตรวจที่สูงสุด

  • ไม่เจ็บ
  • ใช้เวลาไม่นาน
  • เป็นวิธีตรวจที่ประสิทธิภาพสูงสุด
  • ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ไม่ต้องตรวจบ่อย หากผลตรวจออกมาไม่พบสิ่งผิดปกติก็ไม่จำเป็นจะต้องตรวจอีกในระยะเวลา 5-10 ปี

หรือหากผลตรวจพบติ่งเนื้อ สามารถตัดติ่งเนื้อ หรือเก็บตัวอย่างเพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติมได้ในทันทีด้วยการส่องกล้อง อาจไม่ต้องผ่าตัดเพิ่มเติมได้ ป้องกันการกลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง


การตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test)

การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้เพื่อหาเลือดในอุจจาระเพื่อหาความผิดปกติในเบื้องต้น ควรมีการตรวจทุกปีเนื่องจากมีความแม่นยำที่น้อยกว่าการส่องกล้อง แต่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการตรวจ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีการตรวจมะเร็งลำไส้ที่ราคาจับต้องได้ และสามารถใช้เพื่อตรวจจากตัวอย่างอุจจาระได้เลย 
โดยวิธีการใช้ก้านอุปกรณ์การตรวจจุ่มตัวอย่างในจุดที่แตกต่างกัน 5-6 ครั้ง จากนั้นใส่ก้านกลับเข้าไปในหลอดและเขย่าให้ผสมกับตัวเจือจาง เพื่อหยดตัวน้ำยาลงบนแผ่นทดสอบ 
ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการตรวจมะเร็งลำไส้ด้วยตนเอง การตรวจมะเร็งลำไส้ขึ้น 2 ขีด บ่งชี้ได้จากการที่มีเลือดปะปนออกมากับอุจจาระ หากตรวจอุจจาระแล้วขึ้นขีดเดียวแสดงว่าผลออกมาเป็นลบ (Negative) ซึ่งเป็นค่าปกติ แต่หากตรวจอุจจาระขึ้น 2 ขีดแสดงว่าผลออกมาเป็นบวก (Positive) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกว่ามีเลือดปนอยู่กับอุจจาระ

  • ไม่เจ็บ
  • ใช้เวลาไม่นาน
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ

การตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียม (Barium Enema)

การตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียมเป็นอีกหนึ่งวิธีตรวจมะเร็งลำไส้ที่มีประสิทธิภาพ โดยจะใช้สารทึบรังสีที่เรียกว่าแบเรียมซัลเฟตเข้าไปเคลือบผนังลำไส้ใหญ่ แล้วจึงทำการเอกซเรย์เพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในบริเวณลำไส้หรือไม่ 

ขั้นตอนในการตรวจมะเร็งลำไส้ด้วยการสวนแป้งแบเรียมมีดังนี้
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้ แล้วนอนตะแคงคว่ำไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • แพทย์จะทำการสอดท่ออ่อนขนาดเล็กที่มีความยาวประมาณหนึ่งเข้าทางทวารหนัก แป้งแบเรียมจะถูกฉีดเข้าไปผู้เข้ารับการตรวจจะต้องพลิกตัวเพื่อให้สารเคลือบบริเวณผนังลำไส้จนทั่วและพยายามเกร็งหูรูดเพื่อไม่ให้สารไหลย้อนออกมา
  • จะมีการเป่าลมเข้าไปในท้องผ่านทางท่ออ่อนด้วยเครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติ เพื่อให้ลำไส้ขยายและทำให้ตรวจสอบได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกแน่นท้อง
  • การเอกซเรย์จะใช้เวลาราว ๆ 20-30 นาที หลังการตรวจอาจทำให้รู้สึกปวดอุจจาระ

การตรวจด้วยการส่องกล้องเสมือนจริง (Virtual Colonoscopy: VC)

การตรวจด้วยการส่องกล้องเสมือนจริงจะใช้คลื่นสนามแม่เหล็กในการถ่ายภาพ โดยภาพนั้นจะถูกฉายขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์ในรูปแบบภาพสองมิติและสามมิติ ลำไส้ตั้งแต่ส่วนล่างสุดของลำไส้ใหญ่ไปจนถึงส่วนล่างสุดของลำไส้เล็ก

ขั้นตอนการตรวจจะมีลำดับดังนี้
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ถูกเตรียมไว้ให้และนอนลงบนเครื่องสแกน
  • แพทย์จะมีการฉีดสารที่ชื่อว่าไฮออสซีน บิวทิลโบรไมด์ เพื่อลดการปวดเกร็งในลำไส้และให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • แพทย์จะทำการเป่าลมเข้าช่องท้องเพื่อขยายลำไส้ด้วยเครื่องช่วยหายใจอัตโนมัติเพื่อให้ตรวจสอบได้สะดวกมากขึ้น
  • ในขณะที่ทำการสแกน ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องกลั้นหายจเอาไว้เพื่อไม่ให้ภาพนั้นคลาดเคลื่อนไป และจะต้องสแกนอีกครั้งในท่านอนคว่ำ คอมพิวเตอร์จะทำการฉายภาพขึ้นบนจอและทำให้ภาพกลายเป็นสามมิติ
  • หลังจากการสแกนเสร็จเรียบร้อย ผู้เข้ารับการตรวจจะมีอาหารผายลมซึ่งเป็นเรื่องปกติหลังการตรวจ

วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งลำไส้

การตรวจมะเร็งลำไส้สามารถทำได้ด้วยหลายวิธีโดยจะมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละวิธีการดังนี้
 
  1. การเตรียมตัวสำหรับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
    • แจ้งประวัติการแพ้ยาหรือโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ ก่อนเข้ารับการตรวจ 7 วันให้หยุดรับประทานยาต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือดเช่น แอสไพริน และต้องงดยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กประกอบเพื่อไม่ให้สีดำของยาไปเคลือบและบดบังการมองเห็นระหว่างส่องกล้อง
    • ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดการรับประทานผักและผลไม้ทุกชนิด 2 วันก่อนการตรวจ รวมถึงงดรับประทานอาหารที่มีกากใย
    • ให้ผู้เข้ารับการตรวจรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและรสอ่อนและไม่มีสี เช่น โจ๊กเหลว ซุปใส
    • รับประทานยาระบายตามที่แพทย์สั่งและงดกินอะไรหลังจากนั้นเพื่อให้ลำไส้สะอาดและง่ายต่อการตรวจสอบ
  2. การเตรียมตัวสำหรับการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ
    • 3 วันก่อนการเก็บตัวอย่างอุจจาระให้งดการทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาหารจำพวกเนื้อแดง และควรลดปริมาณการบริโภควิตามินซีลง
    • สำหรับผู้เข้ารับการตรวจที่เป็นริดสีดวงทวาร การเก็บตัวอย่างไม่ควรทำในช่วงที่มีเลือดออกจากริดสีดวงทวาร
    • สำหรับผู้เข้ารับการตรวจที่มีประจำเดือน ควรเลื่อนไปเก็บตัวอย่างช่วงที่ไม่เป็นประจำเดือน
    • หากเป็นผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคติ่งเนื้ออักเสบในลำไส้ใหญ่ หรือมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้ใหญ่บวมอักเสบ ผู้มีอาการเหล่านี้จะไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้
  3. การเตรียมตัวสำหรับการตรวจด้วยการสวนแป้งแบเรียม
    • แจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัวและประวัติการผ่าตัดให้แพทย์ทราบและนำฟิล์มเอกซเรย์เก่ามาให้แพทย์
    •  2-3 วันก่อนเข้ารับการตรวจควรรับประทานอาหารรสอ่อน เช่น ซุปใส ขนมปัง
    • งดการรับประทานหรือดื่มน้ำก่อนหน้าเข้ารับการตรวจเป็นเวลา 6-8 ชั่วโมง
    • แพทย์จะมีการให้ผู้เข้ารับการตรวจรับประทานยาระบายเพื่อให้ลำไส้สะอาดและตรวจสอบได้ง่าย
  4. การเตรียมตัวสำหรับการตรวจด้วยการส่องกล้องเสมือนจริง
    • แจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัวและประวัติการผ่าตัดให้แพทย์ทราบ
    • 1 วันก่อนตรวจให้รับประทานอาหารที่มีลักษณะเหลวและใส เช่น ซุปใส และงดการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหลังเที่ยงคืนก่อนจะเข้ารับการตรวจ

ทำความรู้จักค่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ CEA

หลายท่านอาจได้ยิน “การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง” หรือ Carcinoembryonic Antigen มาบ้าง ซึ่งเป็นการตรวจระดับโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายผ่านการตรวจเลือด โดยสารดังกล่าวอาจพบได้สูงในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีการอักเสบของอวัยวะต่างๆ หรือผู้ที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกายด้วย โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยกว่าชนิดอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม CEA ไม่สามารถใช้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ตำแหน่งของมะเร็งหรือการเกิดมะเร็งได้อย่างเจาะจง ซึ่งหมายความว่าค่า CEA ที่สูงกว่าปกติไม่ได้แปลว่าผู้เข้ารับการตรวจเป็นมะเร็ง และค่า CEA ที่ปกติเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพดีไม่มีสิ่งผิดปกติ

ดังนั้นการตรวจ CEA จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำผลไปใช้วินิจฉัยร่วมกับการตรวจสุขภาพอื่นๆ เช่น ผลการตรวจสุขภาพประจำปี การนำค่า CEA ที่ตรวจได้มาประเมินอาการผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกท้องเสียร่วมด้วย หรือตรวจค่า CEA ก่อนและหลังการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ เพื่อประเมินผลของการผ่าตัด หรือการทำเคมีบำบัดที่เรียกกันว่าคีโม (Chemotherapy)


ค่า CEA บอกโรคอะไรได้บ้าง

ค่า CEA สามารถใช้บ่งบอกความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้
  • มะเร็งไทรอยด์
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งปอด
  • ลำไส้อักเสบ
  • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ตับแข็ง
  • ไตเสื่อม

ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตรวจลำไส้ใหญ่

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือบุคคลทุกเพศทุกวัย เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเกิดได้กับทุกคน การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกปีจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพก่อนการเกิดปัญหา เช่นการตรวจอุจจาระ และผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจมากเป็นพิเศษได้แก่บุคคลที่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้อื่น

  • ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป เพราะจากการเก็บข้อมูล หากรอตรวจเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป อาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งลำไส้แล้ว จึงควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปี เพื่อดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น
  • ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่มีปัญหาการขับถ่าย เช่น ท้องผูกท้องเสียสลับกันบ่อย หรือผู้ที่ขับถ่ายแล้วมีเลือดปน

ตรวจมะเร็งลําไส้ มีผลข้างเคียงไหม

สำหรับการตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง อาการที่จะเกิดขึ้นตามมาจะมีตั้งแต่อาการท้องอืด แน่นท้อง ในบางครั้งก็อาจมีอาการง่วงหลังการทำด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีเลือดออกหลังจากการส่องกล้องในช่วงแรกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อาการที่ถูกกล่าวถึงในข้างต้นนั้นยังเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป แต่หากผู้เข้ารับการตรวจมีอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ ขอให้ไปพบแพทย์โดยด่วน
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกอ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
  • มีอาการปวดรุนแรง
  • มีเลือดไหลออกมาเป็นจำนวนมาหรือเป็นลิ่มเลือด
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่นที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการเข้ารับการส่องกล้องตรวจมะเร็งลำไส้ เช่น มีโอกาสำไส้ใหญ่ทะลุหรือมีเลือดออก แต่ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากมาก 

ตรวจมะเร็งลําไส้ที่ไหนดี

การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรตรวจกับสถานพยาบาลที่มีการรับรองคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจแบบส่องกล้อง เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและใช้ฝีมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ เปี่ยมไปด้วยแพทย์ผู้มีความชำนาญสาขาอายุรศาสตร์ รวมไปถึงความรู้ความสามารถเฉพาะทางในโรคระบบทางเดินอาหารด้วย ผู้เข้ารับบริการสามารถไว้วางใจสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ มั่นใจเหมือนมีหมอเป็นเพื่อนบ้าน


ค่าตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ราคาเท่าไหร่

โปรแกรม
ราคาปกติ (บาท) ราคาโปรโมชั่น (บาท)
1. การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ Gastroscopy + Colonoscopy 30,000 25,500
2. การส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมด Colonoscopy 19,000 16,000
3. การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร Gastroscopy 13,000 10,000

เงื่อนไขการรับบริการ
 

  1. ท่านจะต้องทำการพบแพทย์ก่อนทำการตรวจ
  2. ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  3. ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าเครื่องมือพิเศษ และค่าส่งตรวจชิ้นเนื้อ (กรณีพบความผิดปกติ)
  4. โปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดจากไลน์ หรือส่วนลดอื่นๆ ได้อีก
  5. โปรแกรมดังกล่าว สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้น
  6. สามารถใช้บริการได้ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ถ.เยาวราช เท่านั้น

แนวทางการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน แต่ว่าสามารถปรับไลฟ์สไตล์และใช้ชีวิตเพื่อลดแนวโน้มและความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้
 

  • รับประทานอาหารให้หลากหลาย อย่าลืมผักและผลไม้ที่มีกากใย ช่วยในการขับถ่าย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
  • สังเกตนิสัยการขับถ่ายของตัวเองเสมอเพื่อให้รับรู้ได้หากมีความผิดปกติ
  • ตรวจอุจจาระทุกปีเพื่อดูแลสุขภาพร่างกาย หากมีความผิดปกติจะได้รีบรักษาแต่เนิ่น

ข้อสรุปเรื่องตรวจมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นมะเร็งที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆของคนไทย แต่การรักษาสามารถทำได้โดยเฉพาะในระยะแรกเริ่ม หากตรวจเจอติ่งเนื้อในบริเวณลำไส้แล้วผู้ป่วยสามารถวางใจได้เนื่องจากทั่วไปติ่งเนื้อสามารถใช้ระยะเวลาได้ตั้งแต่ 5-10 ปีก่อนจะกลายมาเป็นเนื้อร้าย ดังนั้นมีโอกาสรักษาได้แต่เนิ่นๆ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมดูแลผู้เข้ารับบริการทุกท่านตั้งแต่ให้คำปรึกษา การตรวจและวินิจฉัยโรค ไปจนถึงขั้นตอนการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วย ผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจสามารถสอบถามรายละเอียดหรือนัดหมายการตรวจได้ที่ Line: @samitivejchinatown

 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

เอกสารอ้างอิง

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2023, February 23). Colorectal Cancer Screening Tests. https://www.cdc.gov/cancer/colorectal/basic_info/screening/tests.htm

Mayo Clinic. (2022, December 6). Colon cancer screening: Weighing the options. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/in-depth/colon-cancer-screening/art-20046825

Cancer.Net. (n.d.). Colorectal Cancer: Screening | Cancer.Net. https://www.cancer.net/cancer-types/colorectal-cancer/screening

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม