Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

ศูนย์รักษาโรค

ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์

ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์


เราเป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ ประกอบด้วยทีมแพทย์ที่มีความชำนาญระดับสูงในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ทั้งข้อเข่า และข้อสะโพก ตั้งแต่ระดับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาโดยใช้ยา การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เพื่อรักษาอาการข้อสะโพกเสื่อม หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจนส่งผลกระทบต่อข้อเข่าและข้อสะโพก

ทำไมต้อง Samitivej SMART Joint Center

ที่ศูนย์ผ่าตัดข้อเทียม สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เรามอบประสบการณ์ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้ออย่างมืออาชีพ และได้มาตรฐานสากล โดยเรายึดหลักสำคัญในการดูแลรักษา คือ

Safety: เรามอบการดูแลรักษาที่มีความปลอดภัยสูงสุด
Multidisciplinary: เราดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน
Advance: เราใช้เทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง เพื่อดูแลทุกความซับซ้อนของปัญหา
Rehabitation: เราให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หลังการผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด
Total Joint Care: การดูแลโรคข้อแบบรอบด้าน ทั้งการให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การผสมผสานการรักษาแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา

 

โรคข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

 
  • เกิดจากพันธุกรรมและความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ขาหรือเข่าผิดรูป
  • อายุที่มากขึ้น ส่งผลให้การซ่อมแซมตัวเองของกระดูกอ่อนลดลง และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มของการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน
  • น้ำหนักตัวมาก หรือมี BMI มากกว่า 23 กก./ม.2
  • มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อเข่า ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูง เช่น
    • ข้อเข่าซ่อมแซมตัวเองหลังการบาดเจ็บได้ไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
    • ได้รับการรักษาอย่างไม่ถูกวิธี
  • การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ หรือท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือนั่งยองๆ ซึ่งทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง
  • โรคไขข้ออักเสบ เช่น รูมาตอยด์ เกาท์ ส่งผลให้กระดูกอ่อนถูกทำลายจนกระทั่งหมดไป ทำให้เกิดอาการปวดและข้อติดแข็งตามมา

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

 
  • เจ็บปวดบริเวณข้อ เจ็บข้อเข่า มีอาการปวดข้อ ปวดเข่า โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหว
  • มีเสียงดังที่ข้อ เวลาเคลื่อนไหว
  • ขาโก่ง ขากาง กระดูกผิดรูป เข่าชนหรือเข่าห่างกันมากเกินไป
  • ขาบิดออกด้านนอก หรือบิดเข้าด้านใน
  • ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน
  • งอเหยียดเข่าหรือสะโพกได้ไม่สุดหรือไม่เท่าปกติ ลุกนั่งยาก ขัดในข้อ ขึ้นลงบันไดไม่สะดวก

ระยะของโรคข้อเข่าเสื่อม

ระยะแรก  ตอนนี้กระดูกอ่อนผิวข้อยังสึกไม่มาก อาการเจ็บเข่า จะมีเฉพาะเวลาทำกิจกรรมที่ใช้งานข้อเข่ามากๆ หรือ มีแรงกดมาที่ผิวข้อเยอะๆ เช่น ตอนขึ้นหรือลงบันได ตอนนั่งยอง นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ หลายท่านมีอาการหลังจากเดินไกลๆ เช่นตอนไปท่องเที่ยว มีอาการตอนนั่งรถแคบๆ ที่ต้องนั่งงอเข่าอยู่นานๆ หรือ หลังจากไปทำบุญที่วัด เพราะไปนั่งพื้นมา อาจจะมีเสียงดังในเข่าได้บ้างอาจจะดังเป็นบางจังหวะและไม่ใช่เสียงกรอบแกรบชัดเจน ระยะนี้จะปวดไม่นาน ปวดเป็นช่วงๆหลังทำกิจกรรมที่กล่าวมา และอาการดีขึ้นเองได้

ระยะปานกลาง ระยะนี้ความสึกหรอในข้อจะเพิ่มมากขึ้น ผิวข้อมีความเสียหายมากขึ้น เกิดการอักเสบต่อเนื่องในข้อเข่า จะมีอาการปวด บวม อุ่นในข้อบ่อยขึ้น มีเสียงดังในเข่าขยับดูจะมีเสียงกรอบแกรบในข้อ อาการเจ็บข้อจะเป็นตอนทำกิจกรรมปกติธรรมดา เช่น ยืน เดินพื้นราบปกติ ตอนลุกจากเก้าอี้ธรรมดาก็จะลุกลำบากขึ้น ลุกช้า ลุกแล้วต้องยืนตั้งตัวซักพักถึงจะออกเดินได้ สำหรับกิจกรรมที่ใช้งานเข่ามาก ก็จะมีอาการเจ็บมากขึ้นด้วย เช่น ตอนขึ้นบันไดเจ็บเข่ามาก ขึ้น-ลงได้ลำบาก นั่งพื้น นั่งงอเข่าไม่ได้เลย ระยะนี้อาการปวดอักเสบอาจจะต่อเนื่อง ไม่หายเอง หรือ หายก็ไม่หายสนิทครับ

ระยะรุนแรง เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อสึกหรอหลายตำแหน่งหรือเป็นวงกว้าง กระดูกอ่อนอาจจะบางลงจนไม่เหลือเลย ระยะนี้เข่าจะมีความผิดรูป ขาโก่ง งอเหยียดไม่สุด งอไม่ลง เดินตัวเอียงไปซ้าย-ขวา (ต้องโยกตัวเดิน) อาการเจ็บปวดอาจจะเป็นตลอดทุกครั้งที่ยืน เดิน หรือขยับเข่า หรือ อาจจะไม่เจ็บปวดแล้ว เพราะข้อเข่าติดแข็งมาก เคลื่อนไหวได้น้อย กลุ่มนี้จะมีความผิดรูปของข้อเด่นชัดมากกว่าอาการเจ็บปวด

 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

การรักษาด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด ช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เข่าเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ได้แก่
 
  • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หากมีน้ำหนักตัวเกิน แนะนำควบคุมน้ำหนักตัว และออกกำลังกายที่กระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดิน เพื่อส่งเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น
  • รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • การฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเข่าในกรณีที่มีอาการปวดไม่มาก และการทำลายของกระดูกอ่อนยังไม่รุนแรง 
  • การฉีดยาสเตรียรอยด์ในกรณีที่มีอาการปวดเฉียบพลันที่รุนแรงและเป็นครั้งคราว
  • การกายภาพบำบัดข้อเข่า

โปรแกรมการรักษาโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด

การใช้ยาฉีด Hyaluronic Acid

 
  • ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปานกลาง
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้
  • ในปัจจุบันฉีดเพียง 1 เข็ม/เข่า ผลการรักษาจะอยู่ได้นาน 6-12 เดือน (ขึ้นอยู่กับความเสื่อมของแต่ละคน)

ราคา 22,000 บาท/เข็ม
หมายเหตุ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามลักษณะอาการที่เกิด


การใช้ยาฉีดสเตียรอยด์

ยาสเตียรอยด์ถือเป็นยาต้านการอักเสบที่ออกฤทธิ์ได้ผลดีมาก ช่วยลดอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้กระดูกอ่อนโดนทำลายมากขึ้นได้โดยยาสเตียรอยด์มีประโยชน์ดังนี้

  • สามารถลดอาการปวด บวม และอีกเสบ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มสมรรถนะการใช้งานข้อเข่าในระยะสั้นได้
  • ควรใช้ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบของข้อเข่าแบบเฉียบพลันเท่านั้น น้ำในข้อเข่ามาก และมีข้อจำกัดเรื่องการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อมีผลกระทบต่อกระดูกอ่อนผิวข้อเมื่อใช้ต่อเนื่องในระยะยาว จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อเข่าควรฉีดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลางถึงระยะรุนแรง โดย 1 เข็ม ฉีดสำหรับ 2 เข่า ซึ่งผลการรักษาจะอยู่ได้นาน 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับความเสื่อมของแต่ละคน)

ราคา 3,000 บาท/เข็ม
หมายเหตุ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามลักษณะอาการที่เกิด

 

    เพิ่มเพื่อน


การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม


การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Replacement: TKR) จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมาก มีอาการเข่าโก่ง หรือเหยียดและงอเข่าได้ไม่สุด จนอาการจากโรคข้อเสื่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีแบบไม่ผ่าตัดได้

หมายเหตุ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามลักษณะอาการที่เกิด

 

ใครบ้างควรเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

 
  1. ปวดเข่ามากจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ปวดมากเวลาเดิน ขึ้นลงบันได ลุกหรือนั่ง หรือปวดเวลานอน
  2. มีการอักเสบบวมแดงของเข่าบ่อยครั้ง และติดต่อกันเรื้อรัง
  3. เข่ามีการผิดรูป เช่น เข่าโค้งออก หรืองอเข้าด้านใน
  4. ขยับเข่า งอเข่า หรือเหยียดเข่าลำบาก
  5. ใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นเริ่มไม่ได้ผล เช่น การรับประทานยา การฉีดยาเข้าในข้อเข่า หรือการทำกายภาพบำบัด

 
ขั้นตอนการตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัด

สิ่งที่ควรตรวจก่อนเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า คือ

  • ตรวจสุขภาพทั้งหมด เพื่อดูสุขภาพโดยรวมของคนไข้ว่าพร้อมต่อการผ่าตัดหรือไม่ (รายการตรวจขึ้นอยู่กับแพทย์สั่ง)
  • ตรวจการทำงานของเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่าและความแข็งแรงของเอ็นรอบ ๆ เข่า
  • ทำการเอ็กซ์เรย์ข้อเข่าเพื่อดูความเสียหายของเข่า
  • การตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์พิเศษ หรือตรวจด้วยการทำ MRI เพื่อดูสภาพของกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ รอบกระดูก

หมายเหต: ​ผลการรักษามากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดน้อยลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ


การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

 
  • การตรวจร่างกายโดยแพทย์อายุรกรรมเพื่อดูความพร้อมก่อนการผ่าตัด และอาจมีการตรวจซ้ำโดยแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์อายุรกรรมหัวใจอีกครั้ง
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และ X-Ray
  • การเตรียมบริเวณที่ผ่าตัด ตรวจดูผิวหนังบริเวณเข่าและขา หากมีอาการผิวหนังอักเสบ บวมแดงผิดปกติ จะต้องให้แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดพิจารณาอีกครั้ง
  • เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดใหญ่ มีการเสียเลือดมาก อาจต้องมีการให้เลือดในระหว่างการผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมเลือด โดยคนไข้สามารถใช้เลือดที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ หรือคนไข้สามารถบริจาคเลือดของตัวผู้ป่วยเองไว้ใช้ในการผ่าตัดได้ โดยบริจาค 3 – 4 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด และบริจาคครั้งสุดท้ายไม่น้อยกว่า 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด
  • ยาประจำที่ผู้ป่วยใช้ ผู้ป่วยต้องบอกแพทย์เรื่องยาที่รับประทานเป็นประจำ โดยยาบางตัวจำเป็นต้องหยุดก่อนการผ่าตัด เช่น ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด พวกยาแอสไพริน (Aspirin) ยาลดการอักเสบบางตัว


การดูแลหลังการผ่าตัด

การเตรียมสิ่งแวดล้อมในบ้านและคนช่วยเหลือในช่วงหลังผ่าตัดถือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยจะสามารถช่วยตัวเองและเคลื่อนไหวโดยเครื่องพยุง แต่ในช่วงแรก ๆ หลังการผ่าตัดจำเป็นต้องมีคนช่วยในการประกอบกิจกรรมบางอย่าง เช่น อาบน้ำ ทำอาหาร ซื้อของ หรือซักผ้า ควรมีการติดตั้งและปรับปรุงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อให้เหมาะสมหลังผ่าตัด ดังนี้

  • การติดตั้งราว (Bar) ตามขอบในห้องน้ำ เพื่อช่วยในการเดิน และลุกนั่ง
  • ตรวจดูราวบันไดให้แข็งแรงและมั่นคง
  • ควรมีเก้าอี้พลาสติกไว้รองนั่งเวลาอาบน้ำฝักบัว
  • ควรจัดให้ผู้ป่วยอยู่ชั้นใดชั้นหนึ่ง ในกรณีที่บ้านมีหลายชั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้น – ลงบันได ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อเข่าได้

โปรแกรมการรักษาของเรา

 
แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ข้าง
ค่าข้อเข่าเทียม
Implant
ค่าห้องพักแบบมาตราฐาน 4 คืน ,รวมค่าการพยาบาล,บริการห้องพัก,ค่าอาหาร,ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด)
Standard Room 4 Nights, Nursing, Room Service and Medical Equipment. The package includes 3 meals per day
ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์,ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด)
Medicine, Medical Equipment/Supplies at Ward
ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอฟักฟื้น รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด)
Operating Room, Recovery Room, Medicine, Medical Equipment and supplies in OR
ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด
Rehabilitation Service
ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี
Surgeon and Anesthesiologist Fee
ราคา 220,000 บาท
 

 

หมายเหตุ

  • ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด   
  • ราคาดังกล่าว เริ่มใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค.65 เท่านั้น
  • ราคานี้สำหรับคนไทยเท่านั้น
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า            
  • สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ บนถนนเยาวราช ติดวงเวียนโอเดียน เท่านั้น        
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายตรงโทร. 02-118-7893 หรือสายตรงแผนกกระดูกและข้อ 02-118-7922


     เพิ่มเพื่อน

“แนวทางการรักษาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ที่นี่เรามุ่งหวังที่จะมอบประสบการณ์การรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดีที่สุดให้แก่คนไข้ของเรา”

ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการรักษา