ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี อายุเท่าไหร่ควรตรวจอะไรบ้าง?
จากสถิติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเผยว่า มีคนไทยเพียง 2% เท่านั้นที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และมีคนถึง 59% ที่คิดว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพประจำปี แต่ว่าหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดีอย่างการกินอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างที่เคยบอกต่อๆกันมาอาจไม่พอ
เราอาจคิดว่าเรามีไลฟ์สไตล์ที่ดี ดูแลสุขภาพอย่างดี แต่โรคต่างๆ อาจจะกำลังเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้แสดงอาการหรือบอกให้เรารู้ ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพแย่ลง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ นอนดึก ไม่ชอบออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน ชอบอาหารรสจัด ชอบอาหารปิ้งย่างหรือทอด ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัยโดยมีรายละเอียดการตรวจที่แตกต่างกัน
สารบัญบทความ
การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจระบบการทำงานของอวัยวะและตรวจระดับสารต่างๆ ภายในร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคในระยะเริ่มต้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสามารถป้องกันระดับความรุนแรงของโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ด้วยเหตุนี้ จึงมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่รวบรวมการตรวจต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับ ไต ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
“การตรวจสุขภาพประจำปี” นอกจากจะเป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอแล้ว ยังเป็นการวางแผนครอบครัวอีกด้วย เช่น หากเรามีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมที่อาจส่งต่อให้ลูกหลานเรา เราจะได้วางแผนในกรณีที่สุขภาพกระทบไปถึงสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าเราอาจจะมีไลฟ์สไตล์ที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจมีปัจจัยภายนอกอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควันพิษจากท่อไอเสีย สารเคมีและสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในผักและผลไม้ หรือโรคระบาดอย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือโรคโควิด-19
รวมถึงปัจจัยภายในอย่างโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพฤติกรรมของบุคคล เช่น การออกกำลังกายน้อยลง การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากขึ้น การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มีความเครียดสะสมมากขึ้น พักผ่อนน้อย ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพได้
การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดโรค คือ การตรวจสุขภาพประจำปีนั่นเอง
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเราต้องตรวจสุขภาพประจำปีด้วย? นานๆ ตรวจทีไม่ได้หรอ? เหตุผลหลักที่คุณควรตรวจสุขภาพประจำปี มีดังนี้
- เพื่อป้องกันหรือรักษาโรค โรคบางโรคไม่แสดงอาการเจ็บป่วยที่เห็นได้ชัด การตรวจสุขภาพสามารถค้นหาโรคเหล่านั้นเพื่อบรรเทาหรือรักษาให้ได้ทันท่วงที
- เพื่อให้เราสังเกตตัวเองเสมอ บางทีเราอาจมีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารรสจัดมากขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง ฯลฯ การตรวจสุขภาพสามารถทำให้เห็นร่างกายของเราในแต่ละช่วงเวลาได้ และทำให้เราไม่ลืมที่จะดูแลตัวเองอยู่เสมอ
- เพื่อวางแผนสุขภาพของคนในครอบครัว หากมีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอยู่ สมาชิกในครอบครัวจะได้ดูแลสุขภาพของตัวเองเพื่อบรรเทาหรือรักษาให้โรคต่างๆดีขึ้นได้

ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว แต่ก็ยังคงมีประเด็นคำถามที่ว่า “แล้วเราควรตรวจสุขภาพตอนอายุเท่าไหร่?”
แท้ที่จริงแล้ว การตรวจสุขภาพครั้งแรกสามารถทำได้ตั้งแต่วัยแรกเกิดเป็นต้นไป เพราะหากสามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้เช็คเรื่องพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตได้
นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพของแต่ละช่วงวัย ก็จะมีจุดที่ต้องให้ความสำคัญแตกต่างกัน โดยช่วงอายุที่ควรเข้ารับการตรวจมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มพบความเสื่อมสภาพของร่างกาย ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเริ่มน้อยลง ส่งผลให้โรคหรือสภาวะต่างๆ มีโอกาสเกิดได้ง่ายแบบไม่รู้ตัว
บ่อยครั้งมักจะแสดงอาการตอนช่วงวัยสูงอายุ ซึ่งอาการเหล่านี้มักอยู่ในช่วงระยะกลางถึงระยะท้ายๆของโรคแล้ว ทำให้มีความยากลำบากในการรักษา และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก หากเราตรวจสุขภาพ รู้แนวโน้มของการเกิดโรค หรือตรวจเจอตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น
“การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง?” อย่างที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น แต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องสภาวะหรือโรคที่มักพบบ่อยในแต่ละช่วงวัย ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ฯลฯ ทำให้ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ตามช่วงอายุ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการตรวจที่เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเอง
การตรวจสุขภาพสามารถตรวจได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อเช็คร่างกายอย่างละเอียด ป้องกันการเกิดโรคร้าย ลดระดับความรุนแรงของโรค และจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งการตรวจแต่ละช่วงอายุมีรายละเอียดดังนี้
ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี
การตรวจสุขภาพสามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุโดยแต่ละช่วงอายุจะมีความละเอียดต่างกัน ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการเจ็บป่วยของแต่ละบุคคลด้วย โดยทั่วไปมักจะตรวจเบื้องต้น อย่างการซักประวัติทางสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไป
สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปีนั้นมักจะเป็นการตรวจทั่วไป สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง
ตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป
“อายุ 30 ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?” การตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นเนื่องจากเป็นวัยที่มีแนวโน้มในเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงค่อนข้างมากในด้านการทำงาน อาจมีปัจจัยทางด้านความเครียดที่เพิ่มขึ้น จึงควรตรวจสุขภาพให้เป็นประจำทุกปี โดยการตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นด้วย นอกจากการประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปแล้วอาจมีการตรวจที่เพิ่มขึ้นเพื่อเจาะจงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดได้ตามช่วงอายุ สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง
คนแต่ละช่วงวัยจะมีโปรแกรมตรวจที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุ โดยมีตัวอย่างตามช่วงวัยดังนี้
การตรวจที่แนะนำ
|
ต่ำกว่า 30 ปี |
30-39 ปี |
40-49 ปี |
50-59 ปี |
60 ปีขึ้นไป |
การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา |
● |
● |
● |
● |
● |
การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb) |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
● |
● |
● |
● |
● |
เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19 |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย |
● |
● |
● |
● |
● |
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 |
|
|
● |
● |
● |
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่ขณะออกแรงและช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง) |
|
|
● |
● |
● |
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจพิการ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ, โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร) |
|
|
● |
● |
● |
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) |
● |
● |
● |
● |
● |
สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9) |
|
|
|
● |
● |
สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125) ในสตรี |
|
|
|
● |
● |
สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ |
|
|
|
● |
● |
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV) |
● |
● |
● |
● |
● |
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป |
|
|
● |
● |
● |
Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Common Carotid Artery) ที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน |
|
|
● |
● |
● |
การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ |
|
|
45 ปีขึ้นไป
สามารถ
ตรวจได้ |
● |
● |
สนใจโปรแกรมดูแลสุขภาพ
ลดสูงสุด 70% คลิก |
การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการตรวจสภาพร่างกายหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะการตรวจ จุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
การซักประวัติทางสุขภาพ จะมีการสอบถามรายละเอียดเบื้องต้น อย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ ฯลฯ และรายละเอียดที่เป็นเชิงลึกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ หรือการเข้ารับการผ่าตัดในอดีต ประวัติการเจ็บป่วยของสมาชิกภายในครอบครัวที่มีแนวโน้มมาจากพันธุกรรม ประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น
หลังจากทำการซักประวัติสุขภาพเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย น้ำหนัก ส่วนสูง การตรวจสอบหาความผิดปกติของบริเวณช่องปากและลำคอ รวมไปจนถึงแพทย์จะใช้เครื่องมือในการฟังการทำงานของปอดและหัวใจว่ามีเสียงหรือจังหวะที่ผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(CBC) เป็นการตรวจองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือด ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด เพื่อค้นหาความผิดปกติของเลือด โดยภาวะหรือโรคที่พบบ่อยจากการที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคลูปัส ปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูก รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เ
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) เป็นการตรวจวัดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด ณ เวลานั้น ซึ่งสามารถดูเรื่องของการควบคุมระดับน้ำตาลภายในร่างกายได้ ส่วนการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เป็นการเช็คระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการประเมินโรคเบาหวาน
ตรวจไขมันในเลือดเพื่อดูระดับไขมันภายในร่างกาย โดยดูทั้งไขมันคอเลสเตอรอล ไขมันชนิดดี ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินการไหลเวียนเลือดและดูความเสี่ยงในการเกิดสภาวะหรือโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดตีบตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
ตรวจระดับกรดยูริก เป็นการตรวจปริมาณกรดยูริกในเลือด เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์และสุขภาพของไต โดยหากผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูง ก็อาจส่งผลให้มีอาการปวดข้อกระดูกต่างๆ บวม ยากลำบากในการขยับบริเวณนั้นๆ ส่วนผู้ที่มีกรดยูริกต่ำเกินไป มีแนวโน้มที่จะเกิดโรควิลสัน ภาวะไตบกพร่อง ฯลฯ
ตรวจค่าไต เป็นการตรวจของเสียที่ถูกขับออกมาอย่างการตรวจปัสสาวะและการเจาะเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติ โดยจะมีเครื่องมือในการตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียจากไต
เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับจากปริมาณเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด ซึ่งสารแต่ละชนิด สามารถบ่งบอกได้ถึงผลข้างเคียงของยารักษาโรค ความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตับและท่อน้ำดี ระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน โดยหากตับมีความบกพร่อง ก็อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับ ตับแข็ง โรคท่อน้ำดี เป็นต้น
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบภายในร่างกาย เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb) ทำให้สามารถดูเรื่องความเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบและดูปริมาณภูมิคุ้มกันร่างกายได้
ตรวจปัสสาวะ เป็นการดูส่วนประกอบภายในปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่ปรากฏ สี กลิ่น สารเคมีฯลฯ เพื่อดูเรื่องของความเจ็บป่วย ความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะการตั้งครรภ์ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน โรคนิ่วไต ฯลฯ
การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจลักษณะทางกายภาพ สี ค้นหาพยาธิ โปรโตซัว เม็ดเลือดต่างๆ ภายในอุจจาระ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ รวมไปจนถึงขนาดหัวใจ ลักษณะการทำงานของแต่ละห้องหัวใจ ซึ่งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถจับสัญญาณโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจ เป็นต้น
เอกซเรย์ปอด เป็นการฉายรังสีถ่ายภาพอวัยวะภายในบริเวณทรวงอก เพื่อดูความผิดปกติของระบบการทำงานภายในปอดที่เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรค การแตกร้าวของกระดูก โรคมะเร็ง โรคปอดที่เกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19 ภาวะปอดบวม เป็นต้น
อัลตราซาวน์ช่องท้อง เป็นการตรวจดูการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่บริเวณช่องท้อง ซึ่งสามารถดูอวัยวะภายในได้หลายจุด เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี กระเพราะปัสสาวะ รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
ตรวจไทรอยด์ โดยทั่วไปจะมีการตรวจตามมาตรฐานอยู่ 3 วิธี ได้แก่ การตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ วัดการทำงานของต่อมใต้สมอง และวัดระดับปริมาณแอนติบอดี เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์ขาดฮอร์โมน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ โรคก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ ฯลฯ
- ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test)
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่ขณะออกแรง และช่วยค้นหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง เป็๋นการตรวจไปพร้อมๆกับการออกกำลังกาย เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร)
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP)
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) เป็นการเจาะเลือดเพื่อค้นหาโปรตีนที่มีสาร CEA ซึ่งจะสามารถใช้ดูแนวโน้มการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งกระเพาะอาหาร ภาวะถุงน้ำดีอักเสบ ลำไส้อักเสบ ฯลฯ ส่วนการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) เป็นการค้นหาสารโปรตีน AFP เพื่อดูเรื่องของตับโดยเฉพาะ
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9)
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9) มักจะใช้ตรวจในกรณีที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี ผู้ที่ภายนอกดูแข็งแรงปกติดีแต่ตรวจพบค่าผิดปกติ หรือการตรวจเพื่อแยกชนิดของเนื้องอก แยกโรค ซึ่งวิธีนี้สามารถดูเรื่องของมะเร็งตามจุดต่างๆ ภาวะท่อน้ำดีอักเสบ โรคตับแข็ง ฯลฯ
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125)
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) เป็นวิธีตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่อาจกลับมาเป็นซ้ำสำหรับผู้หญิง ส่วนการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ (CA125) ก็เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่เคยเป็๋นมะเร็งรังไข่ เพื่อติดตามอาการเช่นเดียวกัน
- การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สำหรับผู้ชาย เป็นการตรวจปริมาณสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากจากเลือดที่บริเวณแขน ซึ่งหากมีปริมาณที่สูงกว่าปกติ ก็อาจบ่งบอกได้ถึงโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ภาวะการติดเชื้อ การอักเสบ เป็นต้น
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง โดยจะใช้การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV)
การตรวจมะเร็งเต้านมก็มักจะรวมอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงเช่นกัน โดยมักจะตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวน์เต้านมทุก 1-2 ปี เพราะมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย แนะนำให้ตรวจในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound)
การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแสดงภาพของหลอดเลือดแดงใหญ่ด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) ที่เกาะอยู่ภายในหลอดเลือด และดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน
- การส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
ตรวจมะเร็งลำไส้ ด้วยเทคนิคที่ NBI (Narrow Band Image) ที่สามารถตัดติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านกล้องได้ในทันที โดยไม่ต้องเปิดหน้าท้อง ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดระยะเวลาการอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล ฟื้นตัวได้เร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ปลอดภัย และที่สำคัญไม่มีแผลเป็นที่จะทำให้ต้องกังวลใจ
หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการตรวจด้วยการปฏิบัติตัว ดังนี้
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะค่าความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
- กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง หากดื่มไปแล้ว ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลให้ทราบก่อนตรวจ
- หากกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย
- สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังจากมีประจำเดือน
ถึงแม้จะขึ้นชื่อว่า ตรวจสุขภาพประจำปี แต่ในความเป็นจริงแล้วควรตรวจสุขภาพปีละกี่ครั้งกันแน่? คำตอบก็คือ ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาแนวโน้มหรือความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว
ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ควรมาติดตามสุขภาพทุกๆ 3-6 เดือน ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต้องทานยาจำนวนมาก เป็นต้น เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ไม่ได้ติดตามอาการ จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ หรือเกิดสภาวะอันตรายขึ้นได้
ตรวจสุขภาพประจำปี ที่ไหนดี? การเลือกสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก หากคุณมีประกันสังคม ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่อยู่ในสิทธิ์ได้ แต่ถ้าหากไม่มี สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับบริการกับสถานพยาบาล มีดังนี้
- สถานพยาบาลมีความสะอาดตรงตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้เข้ารับบริการ
- แพทย์ที่ทำการตรวจจะต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ มีประสบการณ์ และได้รับใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องตามกฏ
- โปรแกรมการตรวจสุขภาพ จะต้องมีการตรวจที่หลากหลาย ครอบคลุมหลายส่วนของร่างกาย
- ราคาค่าใช้จ่าย จะต้องมีการแจกแจงอย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล
- เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจควรต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมใช้งาน มีการตรวจเช็ค ซ่อมบำรุงอยู่เสมอ
การตรวจสุขภาพประจำปี สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราพร้อมให้บริการด้วยอุปกรณ์ที่ครบครัน ทันสมัย และแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ว่าจะตรวจสุขภาพครั้งแรกหรือครั้งไหนๆ ก็อุ่นใจได้เสมอ ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมทุกเรื่องสำคัญ ให้คุณสามารถมาตรวจพร้อมกันได้ทั้งครอบครัว
แต่ละโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพแตกต่างกัน โดยทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีครอบคลุมทุกเพศทุกวัย พร้อมเทคโนโลยีการตรวจที่ได้มาตรฐานสากล
ตัวอย่างการตรวจสุขภาพโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
- โปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไป Basic Check-up (สำหรับทุกเพศ อายุต่ำกว่า 30 ปี)
- Advanced Check-up (สำหรับเพศชายและหญิง อายุ 30 - 40 ปี)
- Executive Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 40 - 50 ปี)
- Absolute Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 50 - 60 ปี)
- Longevity Check-up (สำหรับเพศชายและเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป)
ผู้ที่ต้องการใช้บริการสามารถเข้าเว็บไซต์ของทางโรงพยาบาลเพื่อดูราคาและเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่สนใจ พร้อมจองผ่านทาง เว็บไซต์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ หรือซื้อผ่านทาง Lazada โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถแอดไลน์โรงพยาบาลเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ได้
การตรวจสุขภาพประจำปี ควรตรวจเป็นประจำทุกปี ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัย 30 ปีขึ้นไปเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพและป้องกันหรือรักษาอาการเจ็บป่วยที่อาจจะแอบแฝงและไม่แสดงอาการได้อย่างทันท่วงที นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพรายบุคคลแล้วยังเป็นการวางแผนสุขภาพสำหรับสมาชิกในครอบครัวในกรณีที่มีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย โดยผู้เข้ารับบริการสามารถเลือกโปรแกรมตรวจได้ตามช่วงอายุและเพศที่เหมาะสม
ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพมากมายให้ผู้เข้าใช้บริการเลือกตามความต้องการและความเหมาะสม ทั้งตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่า 30 ปี และตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับบุคคลอายุ 30 ปีขึ้นไปซึ่งจะเฉพาะทางมากกว่าและละเอียดมากกว่า
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีให้บริการทุกท่านด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานสากลและการบริการที่ดีเยี่ยมเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้เข้ารับบริการ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อทางโรงพยาบาลได้ที่เบอร์โทร 02 118 7893 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอดไลน์โรงพยาบาล Line: @samitivejchinatown
สมิติเวช ไชน่าทาวน์..มั่นใจมีคุณหมอเป็นเพื่อนบ้าน