Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีสาเหตุ และวิธีป้องกันในขณะรักษาตัวอย่างไรบ้าง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” คือ ความผิดปกติของการทำงานหัวใจ โดยเกิดได้จากกลไกของคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อ ส่วนประกอบอื่นๆ ของหัวใจ อาทิ หลอดเลือด ลิ้นหัวใจ ห้องหัวใจที่มีการตอบสนองที่ไม่เป็นธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ระบบอวัยวะภายในและภายนอกรวน สั่นคลอน ก่อให้ร่างกายผู้ป่วยทรุดตัว

แล้วสาเหตุโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หายเองได้มั้ย? หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาเบื้องต้นมีวิธีอะไรบ้าง? แล้วหัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาหายไหม? ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อเป็นความรู้แบ่งปันแก่ผู้อ่านรับทราบ และรับมือการรักษาอย่างถูกวิธีได้ในบทความนี้  


สารบัญบทความ
 


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

Arrhythmia หรือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของคลื่นต้นกระแสไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าในโครงสร้างหัวใจได้ลัดวงจรเฉียบพลัน ส่งผลให้อัตราการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ บางรายอาจเต้นช้ากว่าหรือเร็วกว่าปกติ หรือบางเคสจะออกอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตอนนอน 

ซึ่งหากปล่อยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทิ้งไว้ อาจทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่สามารถสูบฉีดเลือดหล่อเลี้ยงได้ทั่วระบบภายในร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกใจสั่น เจ็บหน้าอก หอบหืด แล้วเสียชีวิตในที่สุด 

 

จังหวะการเต้นของหัวใจปกติ

โดยทั่วไป อัตราการเต้นหัวใจสำหรับคนปกติ จะอยู่ในระดับที่ 60 - 100 ครั้งต่อวินาที แต่หากกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแบ่งผู้ที่มีความผิดปกติอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

 

  • ประเภทที่ 1 หัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยกว่า 60 ครั้งต่อวินาที
  • ประเภทที่ 2 หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วกว่า 100 ครั้งต่อวินาที
  • ประเภทที่ 3 หัวใจเต้นพริ้ว จังหวะมาไม่สม่ำเสมอ 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากสาเหตุใด

หัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุหลักๆ เกิดได้จากพันธุกรรมรุ่นสู่รุ่นที่มีโครงสร้างระบบภายในร่างกายและเซลล์หัวใจผิดปกติ รวมไปถึงพฤติกรรมเรื้อรังที่กระตุ้นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น การสูบบุหรี่ การทานเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนสูง นอกจากนี้ปัจจัยสภาพจิตใจที่สั่นคลอน อาทิ เครียด วิตกกังวลของผู้ป่วย อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติได้

 

ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้การหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมี 3  สาเหตุ ได้แก่ 

 

  • ยาทานบางชนิดที่มีส่วนผสมก่อให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น สารซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) ในยาแก้หวัดบางชนิด , สารแอมเฟตามีน (Amphetamine) และ ไซบูทรามีน (Sibutramine) ในยากระตุ้นระบบประสาท
  • ผลข้างเคียงการฉีดวัคซีน COVID-19 บางรุ่นที่ออกฤทธิ์กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกแน่นอก ใจสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนผสมเป็นประจำ อาทิ กาแฟ, ชา, น้ำอัดลม, น้ำดื่มชูกำลัง และแอลกอฮอล์

ปัจจัยภายใน ที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมี 3  สาเหตุ ได้แก่ 

 

  • ยีนพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมีโครงสร้างอวัยวะส่วนหัวใจไม่สมบูรณ์ 
  • โรคประจำตัว ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคอ้วน, โรคไตวาย, โรคเบาหวาน และโรคนอนกรนขณะนอนหลับ

สัญญาณเตือนอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

7 สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนี้

 

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลียไม่มีกำลัง รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจติดขัด ไม่ทั่วท้อง รู้สึกไม่สดชื่น
  • หายใจเข้า-ออก มีเสียงหวีด 
  • เจ็บปวดจี๊ดๆ บริเวณหน้าอก
  • หน้ามืด ตาลาย บ้านหมุน รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
  • คุมการทรงตัวไม่ได้ จนเป็นลม หมดสติ
  • รู้สึกใจสั่น ใจหวิวเป็นช่วงๆ 

หัวใจเต้นผิดจังหวะแบ่งเป็นกี่ประเภท

หัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจาก

ทางเราจะแบ่งชนิดการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

1. หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Tachycardia)

ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ เกิดได้จาก

 

  • หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation : A-Fib) คือ หัวใจห้องบนเต้นไม่สม่ำเสมอ เพราะส่วนประกอบภายในหัวใจ อาทิ ลิ้นหัวใจหรือหลอดเลือดตีบตัวลง จนทำให้กลายเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว กล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจโดยรอบอักเสบ 
  • กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Atrial flutter : AF) คือ ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ แต่ยังคงจังหวะเร็วสม่ำเสมอ  
  • จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Supraventricular tachycardia : SVT) คือ จุดกำเนิดกระแสไฟฟ้ามีมากมากกว่าปกติ ส่งผลให้การเต้นหัวใจเร็วกว่าปกติ 
  • หัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วไม่เป็นจังหวะ (Ventricular fibrillation : V-Fib) คือ กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวทำให้ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวไม่สัมพันธ์กับหัวใจห้องอื่นๆ 
  • วงจรไฟฟ้าลัดวงจรหัวใจห้องล่าง (Ventricular tachycardia : V-tach) คือ ความผิดปกติของสัญญาณไฟฟ้าที่หล่อเลี้ยงหัวใจด้านล่างเร็วกว่าผิดปกติ 

 

2. หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เกิดได้จาก

 

  • โรคซิคไซนัส (Sick Sinus syndrome) คือ การทำงานของไซนัสโนดบกพร่องทำให้โรคระบบทางเดินหายใจที่กำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจปกติ ทำให้อัตราการเต้นหัวใจช้ากว่าปกติ
  • การเดินสายฟ้าถูกบล็อก (Conduction block) ตัวนำกระแสสายฟ้าในหัวใจถูกปิดกั้น ทำให้การเต้นหัวใจช้ากว่าปกติแล้วหยุดลงเรื่อยๆ 

กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คนทั่วไปสามารถเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทุกเพศและทุกวัย แต่กลุ่มบุคคลที่คาดว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจผิดจังหวะเร็วที่สุด จะมี 4 กลุ่มทั้งหมด ได้แก่

 

  • กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ไตวาย, โรคไทรอยด์เป็นพิษ, โรคนอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับ
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีโครงสร้างอวัยวะหัวใจจากยีนพันธุกรรมไม่สมบูรณ์
  • กลุ่มหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้สูงอายุ เพราะการทำงานของหัวใจเสื่อมสภาพไปตามวัย
  • กลุ่มผู้ที่มีปัญหากระแสไฟฟ้ากระตุ้นระบบหัวใจให้ทำงานผิดปกติ 

ความรุนแรงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม? คำตอบคือ ความรุนแรงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะขึ้นอยู่กับชนิดอาการของหัวใจผู้ป่วยแต่ละราย หากเป็นชนิดโรคที่ไม่รุนแรง ก็สามารถบำบัดด้วยการปรับพฤติกรรมของตัวคนไข้ให้มีอัตราการเต้นที่คงตัว สม่ำเสมอเหมือนเดิมได้ แต่กรณีที่ชนิดหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะแบบรุนแรง หากปล่อยอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเสียชีวิตได้ในภายหลัง


การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจาก

การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจอาการด้วย 5 วิธี ดังนี้ 

 

1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) คือ การตรวจกระแสไฟฟ้าภายในร่างกาย โดยโฟกัสบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อวินิจฉัยขนาด อัตรา และการเต้นของหัวใจของคลื่นไฟฟ้า ให้ถูกวาดออกมาเป็นเส้นกราฟ

 

2. การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitoring Test)

การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitoring Test) คือ การนำอุปกรณ์บันทึกการเต้นหัวใจแบบพกพามาติดบริเวณช่วงอก เพื่อวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

3. การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) 

การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) คือ การวัดผลคลื่นไฟฟ้า โดยให้คนไข้วิ่งออกกำลังกายขณะบนสายพาน เพื่อวินิจฉัยอัตราการสูบฉีดกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมากพอในขณะที่ร่างกายออกแรงหนักหรือไม่ 

 

4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนเสียงของการสูบฉีดกับการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ และวัดขนาดไซต์หัวใจแต่ละห้องกลับมาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์

 

5. การสวนหลอดเลือดหัวใจ (CAG)

การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography : CAG) คือ การใช้สายตรวจขนาดเล็กสวนเข้าผ่านข้อมือหรือขาหนีบ แล้วฉีดสารทึบรังสีไปถึงเส้นหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวินิจฉัยช่องหลอดเลือดที่ตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะลิ่มเลือดอุดตัน


การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปฐมพยาบาล

ปัจจุบันการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถบำบัดได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะรักษาด้วยวิธีการแพทย์หรือปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ตามระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิด ซึ่งหลักๆ การรักษาที่นิยมใช้กับผู้ป่วย จะเป็น 5 การรักษาดังต่อไปนี้

 

1. การใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ

การรับประทานยาคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยลดความผิดปกติของตัวนำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ แล้วช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้คงที่ สม่ำเสมอ โดยยาที่นิยมใช้ในการบำบัด จะมี อะมิโอดาโรน (Amiodarone), โดเฟทิไลด์ (Dofetilide), โดรนดาโรน (Dronedarone), เฟลคาไนด์ (Flecainide), อิบูทิไลด์ (Ibutilide) และโพรพาฟีโนน (Propafenone) ทั้งนี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น     

 

2. การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Cardioversion) 

การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Cardioversion) ช่วยฟื้นฟูสภาพการเต้นหัวใจเต้นผิดจังหวะ และการสูบฉีดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดสูบฉีดมีจังหวะสม่ำเสมอ 

 

3. การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ (Ablation Therapy)

การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ (Ablation Therapy) ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นต้นเหตุทำให้คลื่นไฟฟ้าทำงานผิดปกติ โดยปล่อยคลื่นเสียงวิทยุกระตุ้นความถี่เป็นวงรัศมีจุดเล็กๆ 

 

4. การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)

การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ช่วยกระตุ้นไฟฟ้าในระบบหัวใจ เพื่อให้หัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาเดินจังหวะปกติ โดยวิธีการนี้จะทำการฝังอุปกรณ์บนผนังหน้าอกใต้ผิวหนัง

 

5. การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD)

การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) ช่วยกระตุ้นไฟฟ้าในระบบหัวใจให้ผลิตการอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาปกติ โดยวิธีนี้จะฝังอุปกรณ์ผ่านบริเวณอกหน้าด้านซ้ายหรือขวาชั้นใต้ผิวหนัง ส่วนสายอุปกรณ์จะฝังในหลอดเส้นเลือดดำบริเวณใต้รักแร้หรือไหปลาร้า 


การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การปฏิบัติดูแลรักษาขณะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มี 6 วิธีดังนี้ 

 

  • ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มให้สารคาเฟอีน
  • พักผ่อนอย่างน้อย 6 - 7 ชั่วโมงต่อวัน 
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เน้นโปรตีนกับวิตามิน 
  • ทานยาตามที่แพทย์กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  • นัดตรวจสุขภาพอัตราการเต้นของหัวใจกับแพทย์ตามวันเวลานัดสม่ำเสมอ

สิ่งที่ไม่ควรทำ ขณะดูแลรักษาขณะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มี 6 ปัจจัยดังนี้

 

  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา เครื่องดื่มชูกำลัง  
  • การไม่หลับไม่นอนตามเวลา ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • การทานอาหารประเภทไขมันสูง ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน และกระทบต่อระบบหัวใจ
  • การทานยาไม่สม่ำเสมอ อาจทำให้ระบบการทำงานของหัวใจสั่นรวนได้
  • ออกกำลังกายหักโหม หนักเกินไป
  • ละเลยนัดตรวจสุขภาพกับแพทย์  

แนวทางป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ด้วย 5 วิธีดังนี้

 

  • ทำจิตใจให้แจ่มใส หากิจกรรมเสริมสร้างความคิดสุขภาพจิตและอารมณ์ในด้านเชิงบวก เช่น ช้อปปิ้ง, ฟังเพลง, อ่านหนังสือ ฯลฯ
  • ดื่มน้ำเปล่าขั้นต่ำ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ และควรเลือกชนิดกีฬาที่ไม่หักโหมสุขภาพกายของตัวเองหนักเกินไป
  • นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลาทุกๆ วัน 
  • ทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือทานอาหารเสริมเพื่อช่วยอัตราหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาปกติเร็วขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถปรึกษาสรรพคุณอาหารเสริมกับแพทย์เฉพาะทาง

ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อสุขภาพหัวใจที่ยั่งยืน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะ และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานพยาบาลตรวจบริเวณหัวใจโดยรอบๆ อาทิ ขนาด อัตราการเต้น คลื่นกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่ครบวงจร ทางสถาบันรักษาโรคหัวใจ  โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมแพคเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และโปรโมชันสำหรับการตรวจ หัวใจเต้นผิดจังหวะราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้


ข้อสรุป

การตรวจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นการวินิจฉัยทางเดินกระแสไฟฟ้า กล้ามเนื้อ อัตราการเต้นหัวใจ  ว่ามีปัญหาจังหวะของหัวใจใดบ้างไม่ว่าจะเป็นภาวะอายุมากขึ้น พันธุกรรม และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากการเสื่อมสภาพการทำงานของระบบหัวใจ

ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฏิบัติของแพทย์มืออาชีพ ที่มีแพคเกจตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะราคาย่อมเยาว์ และพร้อมรายงานผลตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


References

 

  • Mayo Clinic Staff (2022, April 30). Heart arrhythmia

 Mayoclinic

https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-arrhythmia/
 

  • Cleveland Clinic medical professional (2022, Mar 03). Arrhythmia

Cleveland Clinic

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16749-arrhythmia
 

  • WebMD Editorial Contributors (2021, Oct 21) What Is an Arrhythmia?

WebMD

https://www.webmd.com/heart-disease/atrial-fibrillation/heart-disease-abnormal-heart-rhythm


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม