Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

เฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ระบาดช่วงหน้าฝน



โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่มักพบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และจะระบาดมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งโรคมือ เท้า ปากนี้ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองจำเป็นต้องคอยสังเกตอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้นกับลูกหลานได้ เช่น อาการเยื้อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาโรคมือ เท้า ปาก

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโดยตรง ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการของผู้ป่วยเท่านั้น



 

สาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก

 

เกิดจากเชื้อไวรัสหลายนิด แต่เชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของโรคคือ เชื้อไวรัสคอกซากีไวรัส เอ16 (Coxsackievirus A16) และ เชื้อไวรัสเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งมักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี


อาการทั่วไปของโรคมือ เท้า ปาก

 

- มีไข้
- มีตุ่มน้ำใสบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว

- มีแผลในปาก


การป้องกันจากโรคมือ เท้า ปาก

 

- หมั่นรักษาสุขอนามัย ล้างมือก่อน – หลังรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย
- หมั่นดูแลและทำความสะอาดข้าวของ เครื่องใช้

- ดูแล หลีกเลี่ยงให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

- หมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบเด็กป่วย ควรนำส่งโรงพยาบาลทันที
 

สัญญาณเตือนของอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
 
- เด็กจะมีอาการซึมลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ยอมเล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
- เด็กมีอาการปวดศีรษะมาก หรือปวดทนจนไม่ไหว
- เด็กมีอาการพูดเพ้อ หรือพูดไม่รู้เรื่อง หรืออาจเห็นภาพแปลกๆ
- เด็กมีอาการปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
- เด็กมีอาการสะดุ้งผวา เกิดอาการร่างกาย แขนหรือมือสั่นบ้าง
- เด็กมีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจจะมีหรือไม่มีไข้ก็ได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม