บทความสุขภาพ

ตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ ด้วยเครื่องมือทันสมัย ครบจบในวันเดียว

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

ตรวจหัวใจ สมอง ปอด

หัวใจ สมอง ปอด ถือว่าเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ทำงานหนักและมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะนอกจากคุณจะสามารถตรวจเช็กความผิดปกติของอวัยวะหรือการทำงานของระบบใดระบบหนึ่งได้แล้ว คุณยังสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ดังนั้น เพื่อให้การดูแลร่างกายของคุณเป็นเรื่องง่ายและสามารถวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันให้มีสุขภาพดีไปนาน ๆ วันนี้เราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการตรวจหัวใจ สมอง ปอด หรือแม้กระทั่งการตรวจไทรอยด์นั้นมีความสำคัญและมีการทำงานที่สัมพันธ์กันอย่างไร รวมไปถึงการแนะนำสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณได้รู้จัก

 


สารบัญบทความ

 

 


หัวใจ สมอง ปอด สัมพันธ์กันอย่างไร

อวัยวะหลักสำคัญอย่างหัวใจ สมอง ปอด อวัยวะเหล่านี้ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีระบบการทำงานสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ซึ่งหากเกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคที่ระบบใดระบบหนึ่งทำให้มีโอกาสสูงที่จะส่งผลต่อระบบที่สัมพันธ์กัน เรียกได้ว่า ไม่สามารถขาดอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งได้เลย

จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในปี 2019 พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิต 3 อันดับแรกของโลก คือ โรคหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โดยทั้งสามอวัยวะมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

 

โรคหัวใจและโรคทางปอด

อย่างที่ทราบกันว่า หัวใจ สมอง ปอดมีระบบการทำงานที่สัมพันธ์กัน ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจไม่ว่าจะชนิดไหน มักจะส่งผลต่อปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วจนเกิดการบีบเลือดออกจากหัวใจได้ไม่ดี ส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติมีเลือดคั่งค้างที่หัวใจและเลือดล้นกลับไปที่ปอด ทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ในที่สุด จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยจนไม่สามารถนอนราบได้หรือต้องตื่นขึ้นมาหายใจหลังจากหลับไปแล้ว ภาวะนี้จึงเป็นอันตรายอย่างมากถึงชีวิต

ในทางกลับกันสำหรับการเกิดโรคปอดก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นเดียวกัน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคปอดที่พบบ่อย คือ การสูบบุหรี่ ซึ่งโรคที่พบ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease-COPD) เช่น ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เนื่องจากโรคนี้เกิดแรงต้านในปอดที่สูงกว่าปกติ ความดันของเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น จึงทำให้หัวใจเกิดการทำงานหนักและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้โรคถุงลมโป่งพองทำให้เกิดความดันโลหิตของหลอดเลือดปอดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจห้องขวาล้มเหลวได้ ภาวะเหล่านี้จึงเป็นอันตรายอย่างมากเพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอด หากเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันสามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือทำให้หัวใจด้านขวาวายฉับพลันได้อีกด้วย

 

โรคทางปอดและโรคหลอดเลือดสมอง

สำหรับโรคปอดและโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงร่วมกันมักมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มักมีโอกาสที่จะพบทั้งสองโรคนี้ได้พร้อมกัน อย่างเช่น การเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) ร่วมกับภาวะผนังกั้นหัวใจรั่ว ทำให้ลิ่มเลือดในปอดผ่านทางหลอดเลือดดำจากปอดไปยังสมอง ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ทั้งนี้ มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดได้หลายตำแหน่ง เช่น หลอดเลือดปอด หลอดเลือดที่ขา และหลอดเลือดสมอง

เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองและมีความทุพพลภาพ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ขาและหากมีการหลุดของลิ่มเลือดจากขาเข้าสู่ปอด สามารถส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันที่ปอดตามมาได้ด้วยเช่นกัน

 


การตรวจหัวใจ สมอง ปอด สำคัญอย่างไร

ตรวจสุขภาพ, หัวใจ สมอง ปอด

การตรวจสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปี คือ ตรวจสอบระบบการทำงานของอวัยวะและระดับสารต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อให้คุณสามารถรับรู้และตรวจสอบความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะเริ่มต้นและสามารถหาทางป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรักษาได้อย่างทันท่วงที การหมั่นตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มีความเครียดสูง ไม่ชอบออกกำลังกาย และนอนดึกเป็นประจำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดโรค ควรหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ที่เป็นอวัยวะสำคัญ รวมไปถึงการตรวจไทรอยด์เช่นเดียวกัน
 


ตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ที่ไหนดี

แพคเกจตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์
การเลือกตรวจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ หรือตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ที่ไหนดี? สิ่งที่คุณควรพิจารณาเลือกสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ มีดังนี้

 

  • สถานพยาบาลต้องสะอาดตรงตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้เข้ารับบริการ
  • แพทย์ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ มีความน่าเชื่อถือ และมีใบประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง
  • โปรแกรมการตรวจสุขภาพมีความหลากหลายและครอบคลุมหลายส่วนของร่างกาย
  • มีการแจกแจงราคาค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล
  • เครื่องมือสำหรับการตรวจสุขภาพต้องมีความพร้อม มีการตรวจเช็กและซ่อมบำรุงอยู่เสมอ

สมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมทุกส่วนสำคัญอย่างการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์สูง อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมและเครื่องมือที่ทันสมัย ให้คุณตรวจสุขภาพและรู้ผลอย่างแม่นยำได้ภายในวันเดียว

 


ตรวจ CT Calcium Score คืออะไร

สำหรับโปรแกรมการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมการตรวจ CT Calcium Score ซึ่งการตรวจชนิดนี้ คือ การตรวจแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ โดยการตรวจปริมาณแคลเซียมนี้จะสามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ และถ้าหากมีภาวะแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ CT Calcium Score

ก่อนเข้ารับการตรวจ CT Calcium Score ควรเตรียมตัวก่อนตรวจด้วยการงดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา คาเฟอีน หรืองดออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจ 4 ชั่วโมง

 

ขั้นตอนการตรวจ CT Calcium Score

ขั้นตอนการตรวจ CT Calcium Score มีดังต่อไปนี้

 

  1. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า CT Scan ตรวจบริเวณหลอดเลือดหัวใจ
  2. เมื่อเครื่องเอกซเรย์ทำการตรวจเสร็จแล้ว จะคำนวณผลตรวจออกมาเป็นค่าตัวเลข
  3. ผู้เข้ารับการตรวจคนใดมีค่าตัวเลขอยู่ในระดับสูง แสดงว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดสูง
     

ตรวจ CT Chest Lowdose คืออะไร

ตรวจหัวใจ สมอง ปอด, เอกซเรย์ปอด

ตรวจ CT Chest Lowdose คือ การเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำเพื่อคัดกรองมะเร็งปอด (Lung Cancer) ซึ่งการเอกซเรย์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำและใช้วิธีถ่ายภาพสามมิติจะให้ความละเอียด แม่นยำ และลดอันตรายจากรังสีได้มากกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา อีกทั้งยังสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ CT Chest Low Dose

ก่อนเข้ารับการตรวจ CT Chest Lowdose ไม่ควรสวมใส่ วัตถุที่เป็นโลหะ เช่น แหวน ต่างหู สร้อยคอ ในกรณีตั้งครรภ์หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบทันที

 

ขั้นตอนการตรวจ CT Chest Low Dose

 

  1. ผู้เข้ารับการตรวจ CT Chest Lowdose จะนอนหงายบนเตียงที่เคลื่อนที่ได้ 
  2. ในการตรวจปอดผู้เข้ารับการตรวจต้องทำการยกมือขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าและกลั้นหายใจ เตียงจะเคลื่อนเข้าไปยังเครื่องสแกนขณะที่ลําแสงเอกซเรย์ถูกฉายและเคลื่อนเป็นเกลียวไปรอบ ๆ ขั้นตอนการตรวจนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
  3. เมื่อทำการตรวจเสร็จจะได้ภาพเอกซเรย์แบบ 3 มิติ
  4. แพทย์จะทำการตรวจสอบผลเอกซเรย์ 
  • ผู้ที่มีผลบวก (Positive) หมายถึง ตรวจพบความผิดปกติหรือก้อนเนื้อ แพทย์จะทำการวางแผนรักษาตามความเหมาะสม 
  • ผลลบ (Negative) หมายถึง ไม่พบความผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองเป็นประจำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติความเสี่ยงของผู้รับการตรวจ
  • ผลไม่แน่ชัด (Indeterminate) หมายถึง ผลที่ไม่แน่ชัด จำเป็นต้องทําการตรวจอีกครั้งในภายหลัง
     

ตรวจ Carotid doppler คืออะไร

การตรวจ Carotid doppler คือ การตรวจหาภาวะความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกับหลอดเลือดหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เพื่อตรวจดูหลอดเลือดแดง Carotid, เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง รวมไปถึงตรวจดูคราบหินปูนหรือไขมัน (Plaque) มีเกาะในหลอดเลือดหรือไม่ โดยจะวัดความหนาของผนังหลอดเลือด, วัดความเร็วของการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดตีบตัน หรือมีลิ่มเลือดหลุดไปยังหลอดเลือดส่วนปลายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เป็นเหตุให้สมองขาดเลือดและเกิดอาการอัมพาต (Stroke) ตามมา

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ Carotid doppler

การเตรียมตัวก่อนตรวจ Carotid doppler ไม่มีขั้นตอนการเตรียมตัวให้ยุ่งยาก ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร, งดสูบบุหรี่ก่อนตรวจ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง, ไม่สวมใสสร้อยคอหรืออุปกรณ์ใด ๆ บริเวณคอ และไม่ควรทาแป้งบริเวณคอ

 

ขั้นตอนการตรวจ Carotid doppler

สำหรับการตรวจ Carotid doppler จะใช้เวลาเฉลี่ย 15-30 นาที

 

  1. ผู้เข้ารับการตรวจจะนอนหงายบนเตียง โดยการแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย
  2. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้สารหล่อลื่นที่มีลักษณะเหมือนเยลลี่ที่คอทั้งสองข้างของคุณ ซึ่งเป็นจุดที่หลอดเลือดแดง Carotid
  3. แพทย์จะทำการใช้อุปกรณ์ Doppler ขยับไปมาเหนือคอเพื่อตรวจจับการไหลเวียนของเลือด
  4. เมื่อทำการตรวจเสร็จแล้ว แพทย์จะทำการอ่านผลการตรวจและอธิบายให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบ 
     

ตรวจไทรอยด์เป็นอย่างไร

ตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์

นอกจากการตรวจหัวใจ สมอง ปอด การตรวจไทรอยด์ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่ผลิตและควบคุมฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์จะสร้างผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะทั้งหมด โดยการตรวจไทรอยด์จะใช้วิธีตรวจเลือดเพื่อดูระดับการทำงานของฮอร์โมนภายในร่างกาย, ภายในต่อมใต้สมอง และการตรวจแอนติบอดี้ของต่อมไทรอยด์โดยตรง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและหาวิธียับยั้งและรักษาโรคไทรอยด์ได้อย่างถูกจุด

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจไทรอยด์

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจไทรอยด์ ผู้เข้ารับการตรวจควรพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา คาเฟอีนและงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1-2 วัน ผู้เข้ารับการตรวจสามารถทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร

 

ขั้นตอนการตรวจไทรอยด์

ขั้นตอนการตรวจไทรอยด์จะขึ้นอยู่กับวิธีตรวจ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยและเลือกใช้ในการตรวจ ดังนี้

1. วิธีการตรวจเลือด 

ขั้นตอนการตรวจวิธีนี้ ผู้เข้ารับการตรวจไทรอยด์จะได้รับการเจาะเลือดจากเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเลือดไปวัดผลส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการสำหรับวินิจฉัยชนิดอาการของโรคไทรอยด์

2. วิธีตรวจภาพต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เจลทาผิวหนังตรงบริเวณที่ตรวจ ใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวด์กดและเคลื่อนไปตามตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อตรวจเสร็จ แพทย์จะเช็ดเจลออกให้จนหมด

3. วิธีตรวจบริเวณลำคอด้วยการเจาะคอตรวจไทรอยด์ 

แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่ตะทำการเจาะ โดยเจาะบริเวณส่วนลำคอด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Needle Biopsy) ทำการดูดเซลล์ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ นำไปวิเคราะห์ชิ้นเนื้อในห้องปฎิบัติการ เพื่อตรวจสอบเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ และซีสต์หรือไม่

 


ใครบ้างที่ควรตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้

 

  1. บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีและอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเป็นโรคเบาหวาน
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  4. ผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  5. ผู้ที่ตกอยู่ในสภาวะเครียดตลอดเวลา
  6. ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ, โรคปอด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไทรอยด์ หรือมีเนื้องอกบริเวณต่อมหมวกไต
  7. สำหรับผู้ที่ควรตรวจไทยรอยด์ให้สังเกตว่ามีอาการกลืนน้ำลาย-อาหารลำบาก, หายใจเข้า-ออกไม่เต็มปอด และมีเสียงแหบ ไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาได้สุด
     

สรุปเรื่องตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์

ตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจเช็กการทำงานที่ผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจ สมอง ปอด ที่มีระบบการทำงานสัมพันธ์กันมาโดยตลอด รวมไปถึงการตรวจไทรอยด์ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการผลิตฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติจนร่างกายเสียสมดุล

หากคุณต้องการโปรแกรมตรวจหัวใจ สมอง ปอด รวมทั้งตรวจไทรอยด์ครบจบในโปรแกรมเดียว ขอแนะนำโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถตรวจค้นหาโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และใช้เวลาการตรวจเพียงวันเดียว หากคุณสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 

 


References 

Matt, M. (2022, Dec 9). How Your Heart and Lungs Work Together. HealthCentral.
https://www.healthcentral.com/article/how-the-heart-and-lungs-work-together 

N.D. (2022, Apr 15). Cardiac CT for Calcium Scoring. Radiologyinfo.
https://www.radiologyinfo.org/en/info/ct_calscoring 

N.D. (2022, Mar 24). HOW THE LUNGS WORK The Lungs. National Heart, Lung, and Blood Institute.
https://www.nhlbi.nih.gov/health/lungs#:~:text=Your%20brain%20controls%20your%20breathing,prevent%20lung%20injury%20and%20disease

Marian, E. (2023, Jan 25). What Is a Carotid Doppler Test?. Verywellhealth.
https://www.verywellhealth.com/carotid-doppler-2967718 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ