Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

10 วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) บอกลาอาการปวดหลัง

รักษาออฟฟิศซินโดรม

ปวดคอ ปวดบ่า เข้าข่ายออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ รักษาออฟฟิศซินโดรมต้องทำยังไง ? ด้วยไลฟ์สไตล์การทำงานในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และชาวออฟฟิศมีอาการปวดคอ ไหล่ และหลังมากกว่าเดิม หรือที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือท่านั่งไม่เหมาะสม ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเป็นเวลานาน ทำให้หลายคนรู้สึกปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และหลัง 

บทความนี้จะพาไปเจาะลึกกับโรคยอดฮิตของวัยทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม อาการที่ปวดหลังแบบใดที่บ่งบอกว่าคือออฟฟิศซินโดรม รักษาออฟฟิศซินโดรมหายไหม พร้อมได้รวบรวม 10 วิธีรักษา Office Syndrome ที่จะช่วยให้ชาวออฟฟิศบอกลาอาการปวดและตึงคอ บ่า ไหล่


สารบัญบทความ
 


ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหรือชาจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็น ซึ่งอาการปวดมักจะเริ่มจากจุดหนึ่งและค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ  สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มวัยคนทำงานโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน 

ทั้งนี้ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน และการนั่งท่าที่ไม่เหมาะสม ไม่รองรับกับสรีระร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง หรือ ยืดค้างในรูปแบบเดิมจนทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือ อาการปวด เช่น การนั่งพิมพ์งานเป็นเวลานานและการนั่งไขว่ห้าง

ในปัจจุบันมีหลายคนที่เข้าข่ายออฟฟิศซินโดรมและยังคงละลาย ปล่อยผ่าน ไม่ได้มีการรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างถูกวิธีเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยที่การละเลยไม่รักษาออฟฟิศซินโดรมอาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แขนขาอ่อนแรง และกระดูกสันหลังคด


อาการโรคออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง

อาการออฟฟิศซินโดรม

ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)เป็นภาวะที่มีอาการที่แสดงออกหลายอย่าง ทำให้หลายคนอาจจะเกิดความสับสนว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่เข้าข่ายออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมที่มักพบกับผู้ป่วยในปัจจุบัน ได้แก่ 
 

1. ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะอาจจะเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งว่าคุณเข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม โดยที่อาการปวดศีรษะจากภาวะออฟฟิศซินโดรมมักจะมีการลุกกลามมาจากปัญหากล้ามเนื้อบริเวณไหล่ บ่าที่ตึง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงบริเวณศีรษะได้สะดวก 

นอกจากนี้อาการปวดศีรษะจากภาวะออฟฟิศซินโดรมอาจจะเกิดภาวะตาแห้ง และปวดร้าวไปถึงศีรษะได้ บางคนอาจจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย 
 

2. ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่

อาการปวดหลัง คอ บ่า และไหล่ มักมีสาเหตุมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีการเกร็งตัวและยืดตัว จนทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เช่น การนั่งพิมพ์งานตลอดทั้งวัน หรือ ท่ายืนที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน 
 

3. ปวดตา สายตาเบลอ ตาแห้ง

อาการปวดตา ตาเบลอ ตาแห้ง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีช่วงเวลาพักสายตาจนทำให้ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ ทั้งนี้อาการปวดตามันมาควบคู่กับอาการปวดหัว
 

4. ปวดขา เหน็บชา

อาการปวดขา เหน็บชา มักมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานนานๆ ไม่ได้ลุกขึ้นเดินระหว่างวันมากนัก ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและทำให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการเหน็บชาในที่สุด 
 

5. ปวดข้อมือ เอ็นข้อมืออักเสบ

อาการปวดข้อมือและเอ็นข้อมืออักเสบ มักมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกเกิดการอักเสบจนจากการนั่งจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ส่งผลให้ปวดข้อมือ ปวดแขน และข้อศอก
 

6. ปวดนิ้ว นิ้วล็อค

อาการปวดนิ้ว นิ้วล็อคเป็นภาวะที่มักพบกับผู้ที่ต้องออกแรงที่นิ้วมือมากๆ และบ่อยครั้ง เช่น การพิมพ์งาน การคลิกเม้าส์ รวมไปถึงเหล่าแม่บ้านที่ต้องดูแลบ้านให้สะอาด กวาดบ้าน และบิดผ้า ทำให้เกิดการเสียดสีจนปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นของนิ้วมือเกิดการอักเสบ
 

7. ปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม โดยมักจะมีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ บ่า หลัง และสะโพก และมักจะมีอาการปวดเรื้อรังไม่หายขาด 
 

8. พังผืดทับเส้นประสาท

อาการพังผืดดทับเส้นประสาทผู้ป่วยมักจะรู้สึกชาที่บริเวรฝ่ามือ นิ้วมือ และ แขน เป็นต้น เนื่องจากมีพังผืดที่ฝ่ามือทำให้เส้นประสาทบริเวณฝ่ามือถูกกดทับ 

ทั้งนี้อาการออฟฟิศซินโดรมมีวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมที่แตกต่างกันออกไป ตามอาการที่พบ วิธีที่ดีที่สุดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาที่ตรงจุดมากที่สุด

ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม

ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานที่เปลี่ยนไป และยิ่งในช่วงนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้บางบริษัทมีนโยบาย Work from home ส่งผลให้หลายๆ คน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายกันเท่าที่ควร จึงเกิดภาวะออฟฟิศซินโดรมที่มีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่า ถ้าตนเองมีอาการที่เข้าข่ายภาวะออฟฟิศซินโดรมแล้วต้องทำอย่างไร แล้วรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมหายไหม ? 

ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลไป เนื่องจากการรักษาออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สามารถรักษาให้หายได้ โดยจำเป็นต้องพึ่งความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเป็นหลัก เพราะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานบางอย่าง ร่วมกับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพ โดยผู้ป่วยที่รักษาออฟฟิศซินโดรมควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด 


10 วิธีรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

สำหรับผู้ป่วยที่อาการออฟฟิศซินโดรมสามารถบรรเทาความรุนแรงของโรคได้ด้วยตัวเอง ด้วย 10 วิธีรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ดังต่อไปนี้ 
 

1. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ผู้ที่มีภาวะตาแห้ง แสบตา ตาพร่ามัวระหว่างวันที่มีสาเหตุมาจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ตลอดทั้งวัน ควรปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เหมาะสม เช่น แสงไฟในที่ทำงานไม่ควรมืดและสว่างเกินไป 

เพราะจะส่งผลต่อดวงตาโดยตรงทำให้ดวงตาทำงานหนักกว่าปกติ ทำให้รู้สึกไม่สบายตา ตาแห้ง และปวดตาได้ นอกจากนี้ควรใช้โต๊ะและเก้าอี้ทำงานที่รองรับสระรีที่เหมาะสม เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง 
 

2. เปลี่ยนท่าทางระหว่างวัน

เปลี่ยนท่าทางระหว่าง

สาเหตุหลักที่มักพบจากผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม มักมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานานตลอดทั้งวัน ทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเกิดความตึงเครียด โดยแนะนำให้พยายามเปลี่ยนท่าทาง ยืดเส้นยืดสายเพื่อคลายกล้ามเนื้อ และลุกขึ้นเดิน หรือ เดินออกไปสูดอากาศในระหว่างวันบ้าง 
 

3. ปรับอิริยาบถให้ถูกหลักสรีรศาสตร์

หลีกเลี่ยงการยืนหลังค่อม

การหลังค่อม หรือ นั่งเองหลัง สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดความล้า การปรับอิริยาบถให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การนั่ง นอน หรือ เดิน นอกจากจะช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังช่วยลดอาการปวดหลัง ช่วยให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อต่างๆ ช่วยให้ออกซิเจนในร่างกายไหลเวียนได้ดี และยังช่วยเสริมสร้างให้บุคลิกภาพดูดี
 

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ออกกำลังกายรักษาออฟฟิศซินโดรม

การออกกำลังกายเป็นวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เสริมสร้างความแข็งแกร่ง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันภาวะเส้นเอ็นและข้อยึด ช่วยผ่อนคลายความเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และเดิน เพื่อบรรเทาอาการได้  
 

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

พักผ่อนให้เพียงพอ ออฟฟิศซินโดรม

หลังจากที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเกิดความตึงเครียดมาตลอดทั้งวัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานในท่าเดิมนานๆ ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการนอนพักผ่อน ควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ เนื่องจากในระหว่างที่นอนหลับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และระบบต่างๆ ในร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและตึงของข้อต่อได้ นั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมถึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ 
 

6.ใช้ยาแก้ออฟฟิศซินโดรม

ยาแก้ออฟฟิศซินโดรม

ปวดหลังเข้าข่ายภาวะออฟฟิศซินโดรมกินยาอะไรดี ? สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง หรือ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะโพกมากจนกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันอาจจะใช้วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาคลายเครียด แต่การใช้ยาเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมควรอยู่ในการดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 
 

7. ทำกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดรักษาออฟฟิศซินโดรม

ภาวะออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาและบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด และจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งแพทย์และนักกายภาพจำเป็นต้องวางแผนการรักษาให้อย่างเหมาะสมควบคู่ไปกับการดูแล และการประเมินสุขภาพของผู้ป่วย 

โดยที่กระบวนการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีและยังยืน ซึ่งการทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การลดอาการปวดเมื่อย การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 
 

8. รักษาด้วยเวชศาสตร์ทางเลือก

เวชศาสตร์รักษาออฟฟิศซินโดรม

เป็นการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพต่างๆ เข้ามาช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย และลดความเจ็บปวดจากาภาวะออฟฟิศซินโดรมของผู้ป่วยลง เช่น 

 

  • การฝังเข็ม

การฝังเข็ม (Dry needing) เป็นวิธีที่ช่วยยับยั้งความเจ็บปวด และช่วยให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้อาการปวดเมื่อย และเจ็บลดลง พร้อมช่วยให้กล้ามเนื้อคลายจุดปวด โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปในจุดที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว ให้ปลายเข็มสะกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การฝังเข็มเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมยังช่วยปรับสมดุลต่างๆ ในร่างกายให้กลับมาปกติ 

 

  • การนวดแผนไทย

การนวดแผนไทยนับว่าเป็นวิธีแก้ Office Syndrome วิธีแรกๆที่คนเริ่มรู้จัก และเป็นวิธีรักษาแบบธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้จนปัจจุบันกลายเป็นศาสตร์ที่ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยได้ดี ซึ่งการนวดแผนไทยเป็นการนวดและกดไปตามจุดต่างๆ ที่มีอาการปวดเมื่อย 
 

9. รักษาด้วยเทคโนโลยีจัดกระดูกสันหลัง

รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการจัดกระดูกสันหลัง

การจัดกระดูก (Chiropractic) เป็นหนึ่งในการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ซึ่งเป็นการปรับลักษณะกระดูกภายในร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากอาการเจ็บปวด 

ทั้งนี้การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเทคโนโลยีจัดกระดูกควรอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และในปัจจุบันมีเตียงจัดกระดูกสันหลังที่หมุนได้สามมิติ ช่วยรักษาอาการปวดหลังเรื้อรัง พร้อมทั้งใช้รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกสันหลังคดได้ด้วย 
 

10. รักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy)

Shockwave ออฟฟิศซินโดรม

การรักษาด้วยคลื่นกระแทก หรือที่หลายคนเรียกว่า Shockwave เป็นการรักษาโดยใช้คลื่นกระแทกกระตุ้นบริเวณที่บาดเจ็บให้มีการเร่งกระบวนการซ่อมแซม ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดการอักเสบ และรักษาฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้ โดยวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย Shockwave Therapy เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก และข้อ 

ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อเลือกวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมที่เหมาะกับตนเองมากที่สุดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมให้หาย 


ท่าบริหารร่างกายแก้ออฟฟิศซินโดรม

ยืดเส้นยืดสายระหว่างวัน

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะโพกสามารถบริหารร่างกายด้วยท่ายืดเส้นแก้ออฟฟิศซินโดรม ที่จะช่วยบำบัดออฟฟิศซินโดรม อาการปวดเมื่อยระหว่างวัน พร้อมทั้งช่วยยืดและคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อได้ 
 

  • ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อต้นแขน โดยลุกขึ้นยืนตัวตรง ประสานมือเข้าหากันแล้วยืดแขนขึ้นเหนือศีรษะ นับ 1-10 แล้วค่อยๆ ดึงกลับลงมาที่ศีรษะช้าๆ แล้วทำซ้ำอีกครั้ง 
  • ท่าที่ 2 บริหารหัวไหล่ ท่านี้สามารถช่วยลดอาการตึงบริเวณที่ไหล่และหัวไหล่ได้ โดยให้พับแขนทั้ง 2 ข้างขึ้น ให้ปลายนิ้วแตะที่ไหล่ทั้ง 2 ข้าง ยกหัวไหล่ขึ้นแล้วหมุนไปด้านหน้า 5 รอบ จากนั้นหมุนกลับสวนทางไปด้านหลังอีก 5 
  • ท่าที่ 3 ยืดกล้ามเนื้อคอ ท่านี้ช่วยแก้ปวดคอออฟฟิศซินโดรมได้ โดยเอามือไพล่หลังแล้วใช้มือซ้ายจับข้อมือขวาแล้วเอียงศีรษะไปทางซ้ายช้าๆ นับ 1-10 แล้วค่อยเอียงศีรษะคืนกลับมาตั้งตรง แล้วจึงสลับไปทำแบบเดิมกับอีกข้าง 
  • ท่าที่ 4 บริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ พนมมือขึ้นมาคล้ายกับท่าสวัสดีขึ้นมากลางอก แล้วจึงดันข้อมือกางศอกออกให้สุด นับ 1-10 แล้วจึงผ่อนข้อมือและดันข้อมือใหม่ ทำซ้ำอีกรอบ แล้วค่อยกลับข้อมือลงด้านล่างและทำเหมือนเดิมอีกรอบ 
  • ท่าที่ 5 บริหารมือ โดยการเหยีดนิ้วออกให้ตรงเหยียดแล้วกำ ทำวนให้ครบ 5 รอบ 

แนวทางป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

ภาวะออฟฟิศซินโดรมสามารถป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 

 

  • ปรับท่านั่งให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการนั่งห่อไหล่ และนั่งหลังค่อม 
  • หากต้องยกของหนัก ควรยกให้ถูกท่า 
  • ระหว่างวันควรพัก เพื่อยืดเส้นยืดสายด้วยการบริหารกายด้วยท่าง่ายๆ 
  • เปลี่ยนตำแหน่งการวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้ให้เหมาะสม ให้ตั้งตรงไม่เอียงซ้ายขวาและไม่อยู่ในท่าคอมหน้า 
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าส้นสูง หรือ ใส่รองเท้าส้นสูงที่มีความสูงไม่เกิน 2 นิ้ว 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 

นอกจากจะเป็นแนวทางในการป้องกันออฟฟิศซินโดรมแล้ว วิธีนี้ยังสามารถใช้รักษาออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย 


ออฟฟิศซินโดรม รักษาที่ไหนดี

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะโพก อาจจะสงสัยว่าควรรักษาอาการปวดเมื่อยได้ที่ไหนดี รักษาออฟฟิศซินโดรมโรงพยาบาลไหนดี หมอรักษาออฟฟิศซินโดรมท่านไหนเชี่ยวชาญ ? โดยคุณสามารถรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ตามสถานพยาบาลต่างๆ 

ไม่ว่าจะเป็น คลินิกเฉพาะทาง ศูนย์กายภาพบำบัด หรือโรงพยาบาล โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เรามีโปรแกรมสำหรับรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย Shockwave สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังจากเข้ารับการรักษา และเรายังมีแพทย์เฉพาะทางที่จะช่วยประเมินอากาศและวางแผนการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน 


โปรแกรมรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วย Shockwave

สำหรับท่านไหนที่มีอาการปวดเมื่อยที่มีสาเหตุมาจากภาวะออฟฟิศซินโดรม ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมรักษาที่จะช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมและอาการปวดเมื่อยตามจุดต่างๆ บนร่างกายไม่ว่าจะเป็น คลื่นกระแทก Shockwave แผ่นร้อน ยืดกล้ามเนื้อ หรือการ Ultrasound

หมายเหตุ

  1. ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าแพทย์ แต่รวมค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  2. โปรแกรมดังกล่าวทำการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ
  3. กรณีซื้อเป็นแพ็กเกจที่มากกว่า 1 ครั้ง ไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้
  4. ราคาดังกล่าว ตั้งแต่วันนี้ - 28 กุมภาพันธ์ 2566 เท่านั้น 

ข้อสรุป

แม้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จะเป็นภาวะที่ไม่ได้อันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ภาวะออฟฟิศซินโดรมสามารถสร้างความรำคาญ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันรวมไปถึงการทำกิจกรรมบางอย่าง เนื่องจากมีอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ แม้ว่าจะเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายก็ตาม 

นอกจากนี้หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาภาวะออฟฟิศซินโดรมก็จะสิ่งส่งผลเสีย และทำให้กลายเป็นการปวดเรื้อรังที่สร้างความรำคาญและทรมานให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งการแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุด คือการไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายหาสาเหตุที่แท้จริง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดภาวะออฟฟิศซินโดรม 

หากคุณมีอาการปวดคอ บ่า หลัง และไหล่ ในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


References

Cathy, C. (2021, Mar 21). 6 Simple Solutions to Improve the Ergonomics of Your Home Workspace. Healthline.

https://www.healthline.com/health-news/6-simple-solutions-to-improve-the-ergonomics-of-your-home-workspace

 

N.D. (2022, Feb 12). Work-Related Musculoskeletal Disorders & Ergonomics. CDC.

https://www.cdc.gov/workplacehealthpromotion/health-strategies/musculoskeletal-disorders/index.html


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม