บทความสุขภาพ

รักษาอาการปวด เมื่อย ออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS กายภาพ

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

เครื่อง PMS

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษากลุ่มอาการปวด อาการชาจากเส้นประสาท และอาการออฟฟิศซินโดรมที่หลายคนเลือกใช้บำบัดรักษา รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเครื่อง PMS เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดดังกล่าวให้ดีขึ้น ในบทความนี้จะอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเครื่อง PMS กายภาพไว้เป็นทางเลือกเพื่อการรักษาต่อไป


สารบัญบทความ

 


เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS)

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยการใช้ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท อาการปวดออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น ด้วยคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุเข้าผ่านอวัยวะเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
 


เครื่อง PMS คืออะไร

เครื่อง PMS คือ

เครื่อง PMS ย่อมาจาก Peripheral Magnetic Stimulation คือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic กระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กความแรงสูงเพื่อยับยั้งอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคปวดข้อต่อ โรคเอ็นข้อมืออักเสบหรือโรคเอ็นต่าง ๆ และอาการชาจากเส้นประสาท โดยกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง PMS ได้ เช่น กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stoke) กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังหรือกลุ่มที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือออฟฟิศซินโดรม กลุ่มอาการชา เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาร่วมกับ Shockwave และ High power laser therapy ได้
 


หลักการทำงานของเครื่อง PMS

หลักการทำงานของเครื่อง PMS คือ เมื่อเกิดอาการปวดหรืออาการชาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปวดจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่าง ๆ เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือเส้นประสาท เครื่อง PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดหรือชา ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดีขึ้น 

รวมถึงเครื่อง PMS จะส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไปยังสมองและกระตุ้นให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว และส่งสัญญาณกลับมายังบริเวณที่มีอาการปวด ชา หรือบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เพื่อยับยั้งการอาการปวด อาการชา หรือบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น
 


เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง

เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง

เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง? กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง PMS หรือรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถแบ่งได้หลัก ๆ ประมาณ 5 กลุ่มโรค ดังนี้
 

1. ออฟฟิศซินโดรม

ผู้ป่วยกลุ่มออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดต่าง ๆ ทั้งชนิดเชื้อรัง และเฉียบพลัน การใช้เครื่อง PMS เข้ารักษาจะช่วยลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท กล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น อาการเคล็ดคัดยอก เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แขน มือ หลัง เอว สะโพก เข่า หรือปวดข้อเท้า เป็นต้น หากรักษาด้วยเครื่อง PMS อย่างต่อเนื่องอาการปวดต่าง ๆ รวมถึงออฟฟิศซินโดรมจะค่อย ๆ ดีขึ้น
 

2. อัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมองตีบ

กลุ่มผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke) รวมถึงการบาดเจ็บในสมอง การบาดเจ็บของไขสันหลัง หน้าเบี้ยวครึ่งซีก โดยการรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยลดภาวะการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มคนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
 

3. โรคกระดูกสันหลัง

กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังคือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง มาจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือในกลุ่มคนที่กระดูกสันหลังมีการยุบตัวลงจนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการเหมือนปวดร้าวลงขา หรือถ้าหากเป็นกระดูกบริเวณต้นคอก็จะมีอาการปวดร้าวลงแขน 

การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยเครื่อง PMS จะช่วยรักษาและลดอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลังได้ เนื่องจากการถูกกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถลงลึกไปถึงรากประสาทได้
 

4. กลุ่มอาการชา

กลุ่มอาการชา หรือผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาท หรือเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา เท้าชา แขนชา โดยส่วนมากมักพบในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้เกิดการขาดสารอาหารจากน้ำตาลในเลือดที่จะไปเลี้ยงตัวเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบขึ้นมา การรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยให้อาการชาดีขึ้นในแต่ละครั้งที่รักษา
 

5. อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

เครื่องกายภาพ PMS ยังสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้ เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก จำพวกอาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ การใช้เครื่อง PMS จะช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและช่วยซ่อมแซมระบบประสาทส่วนที่มีการเสียหายให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
 


ระยะเวลาในการรักษาแบบ PMS

การใช้เครื่อง PMS บำบัดรักษาจะใช้ระยะครั้งละ 5-30 นาที ส่วนจำนวนครั้งในการรักษาจะขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมินอาการ สำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น จะใช้ระยะเวลารักษาด้วยเครื่อง PMS 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
 


กายภาพ PMS กี่ครั้งเห็นผล

การใช้เครื่องกายภาพ PMS ช่วยรักษากลุ่มที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือจากโรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดจะดีขึ้นใน 1-2 ครั้ง ส่วนผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเกร็ง จะใช้ระยะเวลารักษาด้วยเครื่อง PMS 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ก็จะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ขยับดีขึ้น

สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังจากข้อไหล่ติดไม่มาก การทำ PMS ประมาณ 1-2 ครั้ง ร่วมกับเทคนิคทางกายภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถยกแขนได้ นอกจากนี้การใช้เครื่อง PMS รักษากลุ่มคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด ปกติจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และจะเริ่มดีขึ้นในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
 


ข้อดีของการกายภาพด้วยเครื่อง PMS

ข้อดีของการกายภาพด้วยเครื่อง PMS มีดังต่อไปนี้
 

  • สามารถเห็นผลการบำบัดทันทีหลังการรักษาด้วยเครื่อง PMS
  • เครื่อง PMS สามารถช่วยบำบัดรักษาอาการปวดที่มาจากระบบประสาท และอาการปวดที่ไม่ได้มาจากระบบประสาท เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เอ็น และกระดูก
  • ลดอาการปวด อาการชา สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาตได้
  • เครื่อง PMS ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มือตก แขนขาอ่อนแรง พังผืดทับเส้นประสาท รวมถึงช่วยรักษาอาการที่เกิดจากโรคกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลัง
  • ช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของเส้นประสาท (Neuroplasticity) ที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยนไปจากปกติ ให้กลับมาเป็นปกติ เช่น ปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูก อาการปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
  • สามารถรักษาอาการในทุกระยะของโรค ทั้งระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรังได้
  • มีกลไกการรักษาที่กระตุ้นให้มีการซ่อมแซมการสร้างเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงแก้ไขอาการเท่านั้น
  • ใช้ระยะเวลาในการรักษาน้อย ประมาณ 5-30 นาทีต่อจุดการรักษา
  • สามารถรักษาต่อเนื่องน้อยครั้งแต่ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
     

ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง PMS กายภาพ

ก่อนการใช้เครื่อง PMS บำบัดรักษาอาการต่าง ๆ มีข้อควรระวังคือ ความร้อนจากการเหนี่ยวนำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเทคนิคการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนสะสมที่วัสดุโลหะที่อยู่ใกล้ตัวได้ จึงควรถอดอุปกรณ์ เครื่องประดับที่ หรือวัสดุที่เป็นโลหะต่าง ๆ ออกก่อนเข้ารับการรักษา
 


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง PMS

PMS กายภาพ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง PMS คือ กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมได้ ทั้งนี้แพทย์จะทำการประคบเย็นให้ทันทีหลังจากรักษาเสร็จ นอกจากนี้การใช้เครื่อง PMS รักษาอาการปวดต่าง ๆ จำเป็นจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด เนื่องจากเป็นกระบวนการรักษาที่เกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะการใช้เครื่อง PMS บริเวณใบหน้า ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง 

รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือปวดมาก หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต จำเป็นจะต้องอาศัยการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 


ใครไม่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่อง PMS

ข้อห้ามเครื่อง PMS

 

  • เครื่อง PMS ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการลมชักมาก่อน 
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังอยู่ในตัว หรือผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว
  • ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ยังทำการรักษา
  • กลุ่มผู้ใส่สายสวนหัวใจ ใส่เพสเมกเกอร์ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่อง PMS เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกระตุ้นได้
     

วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS

ก่อนการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS แพทย์จะซักประวัติร่างกายอย่างละเอียดเพื่อตรวจดูความเหมาะสมและความปลอดภัยในการรักษา เช่น เป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะกำลังตั้งครรภ์ไหม มีประวัติเป็นโรคลมชักหรืออาการทางจิตเวชหรือไม่ มีโลหะหรือเครื่องมือทางการแพทย์ใดฝังอยู่ในร่างกาย หรือตรงบริเวณที่จะทำหรือไม่ รวมถึงผู้เข้ารับการรักษาเคยได้รับการผ่าตัดหรือมีอุบัติเหตุใดบ้าง หากแพทย์ประเมินว่าสามารถเข้ารับการรักษาได้ก็ทำได้ทันที โดยหลังการรักษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนจำนวนครั้งที่ต้องทำการรักษาจะขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาในแต่ละบุคคล
 


กายภาพด้วยเครื่อง PMS ราคาเท่าไหร่

เครื่อง PMS ราคา

โปรแกรม PMS กายภาพลดอาการปวด ออฟฟิศซินโดรม ของโรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีรายละเอียดเครื่อง PMS ราคาดังนี้
 

PROMOTION PMS

ครั้ง

ราคา

Promotion A : PMS + Hot pack + Gentle Exercise

5

12,000.-

Promotion B : PMS + Ultrasound + Hot pack + Gentle Exercise

5

13,500.-

Promotion C : PMS + Shockwave + Hot pack + Gentle Exercise

5

18,500.-

Promotion : PMS + Hot pack smell set + Gentle Exercise

1

2,500.-

 

PROMOTION PMS WITH NEAR INFRARED RAY

ครั้ง

ราคา

Promotion A : PMS with Near Infrared rays + Hot pack + Gentle Exercise

5

13,300.-

Promotion B : PMS with Near Infrared rays + Ultrasound + Hot Pack + Gentle Exercise

5

15,000.-

Promotion C : PMS with Near Infrared rays + Shockwave + Hot pack + Gentle Exercise

5

19,900.-

Promotion : PMS with Near Infrared rays + Hot pack small set + Gentle Exercise

1

2,750.-

เงื่อนไข

  • ราคานี้รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • ระยะเวลาโปรโมชัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2556
  • สามารถรับบริการที่โรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เท่านั้น
     

เครื่อง PMS มีที่ไหนบ้าง

เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่อง PMS ถือเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้รักษากลุ่มผู้ป่วยอาการปวด ชา อ่อนแรง และกลุ่มโรคระบบประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่อง PMS มีที่ไหนบ้างนั้นในปัจจุบันเครื่อง PMS จะมีใช้อยู่เฉพาะกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น โดยโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีโปรแกรมรักษาด้วยเครื่อง PMS ให้เลือกอย่างหลากหลายตามความเหมาะสม หากพบว่าเริ่มมีอาการปวด ชา อ่อนแรง หรือต้องการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม การเลือกใช้เครื่อง PMS จะช่วยให้มีอาการดีขึ้น


ข้อสรุป

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า จะช่วยรักษาอาการปวด เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ เอ็นอักเสบ อาการชาต่าง ๆ ผู้ป่วยกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง รวมถึงออฟฟิศซินโดรมให้มีอาการดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

โทร. 0-2118-7888

Line : @SamitivejChinatown

Facebook : Dr.Odean by Samitivej Chinatown Hospital 
 


References

Napatpaphan Kanjanapanang. (2022, October 31). Peripheral Magnetic Stimulation. National Library of Medicine. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526087/#:~:text=Peripheral%20magnetic%20stimulation%20(PMS)%20or,periphery%20other%20than%20the%20brain.