Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปล่อยไว้ไม่ดีแน่ รักษาอย่างไรได้บ้าง?

ปวดคอ บ่า ไหล่

อาการปวดคอ บ่า ไหล่เป็นปัญหาใกล้ตัวของใครหลายๆ คน ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถนั่งทำงานหรือเรียนเป็นเวลานานได้ มักจะมีอาการปวดต้นคอและไหล่เกิดขึ้น ในบางรายมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรังจนกระทั่งต้องพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษา ในบทความนี้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาทุกท่านไปรู้จักปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว อาการเป็นอย่างไร สาเหตุปวดไหลซ้าย สะบัก บ่า ไปจนถึงวิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่
 


สารบัญบทความ

 


ปวดคอ บ่า ไหล่

ปวดบ่า ต้นคอ

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดขึ้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หลายคนอาจจะคิดว่าอาการปวดในบริการดังกล่าวเป็นเพียงบริเวณๆ เดียว แต่ในความจริงแล้ว การปวดคอ บ่า ไหล่สามารถสังเกตอาการและแยกจุดที่ปวดได้ว่ากำลังเมื่อยจุดไหนอยู่โดยเฉพาะ หากรู้ว่ากำลังปวดจุดไหนอยู่ ก็จะสามารถรักษาอาการได้อย่างตรงจุด

 

ปวดคอ

บริเวณของอาการปวดคอเริ่มตั้งแต่ท้ายทอย ต้นคอ ไปจบที่บริเวณบ่า อาการปวดคอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะจากการทำงานที่ต้องก้มหน้าเป็นเวลานาน การจ้องคอคอมที่ผิดลักษณะสรีระร่างกาย ไปจนถึงการนอนตกหมอน อาการปวดคอมีหลายรูปแบบตั้งแต่การปวดเมื่อยธรรม หรือปวดคอเรื้อรัง

 

ปวดบ่า

บริเวณของอาการอยู่ระหว่างคอกับไหล่ อาการปวดบ่าโดยมากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียด เกิดเป็นอาการปวดเมื่อย เกร็ง ตึงบ่า เบื้องต้นหากมีอาการปวดบ่าที่ไม่รุนแรงนัก หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชuวิตอาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นได้

 

ปวดไหล่

บริเวณของอาการปวดไหล่จะอยู่ในช่วงโค้งของไหล่ สามารถลามมาปวดช่วงเชื่อมระหว่างลำตัวกับต้นแขนได้ อาการปวดไหล่อาจเกิดมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม อย่างการออกกำลังกายผิดท่า การไม่ยืดหยุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย จนทำให้มีอาการปวดเมื่อยไหล่ เจ็บแปลบ ตึงไหล่


อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นอย่างไร

ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คืออาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเฉียบพลัน และอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง โดยมีรายละเอียดลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเฉียบพลัน

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเฉียบพลัน เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ผิดท่าทางจากปกติ เช่น การนอนตกหมอน จนทำให้บริเวณคอบ่าไหล่ตึงไม่สามารถขยับคอหรือหันหน้าได้อย่างอิสระเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเกิดอาการเกร็งตัวนั่นเอง

 

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง มักเกิดกับผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้งานคอ บ่า ไหล่ นานจนเกิดไป ไม่ได้หยุดพัก หรือมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงพอจากการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก 


ปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจากสาเหตุใด

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดบ่า ต้นคอ เกิดจากสาเหตุได้หลายสาเหตุดังต่อไปนี้
 

1. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดจาก

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันส่งผลต่ออาการปวดบ่า ต้นคอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่นั่งทำงานกับโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่ได้สัดส่วนเป็นเวลานาน ต้องทำงานก้มๆ เงยๆ จนไหล่เกร็งทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อักเสบทำให้เกิดเป็นอาการออฟฟิศซินโดรมตามมาได้ 

 

2. ปัญหาจากสรีระของร่างกาย

ปวดตึงคอ บ่า ไหล่

สรีระร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ทำให้มีโครงสร้างร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ ที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปมีอายุเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างร่างกายเหล่านี้ก็จะเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกต่างๆ ในร่างกายเกิดปัญหาความสึกหรอ เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

3. การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ

ปวดไหล่ซ้าย สะบัก บ่า

ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณคอ มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทำให้มีอาการปวดบริเวณคอต่อเนื่องมาด้วยเช่นกัน หากหลังประสบอุบัติเหตุมาสักระยะหนึ่งแล้วแต่ยังมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่มาก หรือปวดบ่า ต้นคอไม่หายเสียที ควรพบแพทย์เพื่อรักษาปวดคอ บ่า ไหล่

 

4. ภาวะกระดูกคอเสื่อม

อาการปวดต้นคอและไหล่

โรคกระดูกคอเสื่อมมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ข้อต่อต่างๆ ระหว่างคอเมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไฟ เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังยุบลงหรือมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ส่วนอื่นๆ โดนรอบต้องรับแรงกระแทกมากขึ้น เกิดเป็นอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่

 

5. ผลข้างเคียงจากโรคอื่น

ปวดต้นคอ บ่า ไหล่

อาการปวดต้นคอและไหล่อาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น ผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือหินปูนเกาะตามกระดูก ติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง อาจเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อและส่งผลทำให้ปวดคอ บ่า ไหล่ ได้เช่นกัน เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเชื่อมโยงถึงกัน
 


ใครบ้างที่เสี่ยงปวดคอ บ่า ไหล่

กลุ่มผู้เสี่ยงปวดคอ บ่า ไหล่ ได้แก่

 

  • นักกีฬาที่เล่นกีฬาอย่างหนัก
  • ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ นั่งหน้าจอคอมเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ทำงานก้มๆ เงยๆ ตลอดเวลา
  • ผู้ที่ต้องใช้แรงกายในการทำงาน
  • ผู้ที่ยกของหนักจนเกินไป
  • ผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนน้อย
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับกระดูกและคอ
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

ปวดคอ บ่า ไหล่ แบบไหนควรพบแพทย์

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่เริ่มรุนแรง ไม่ควรปล่อยไว้ให้อาการปวดหนักกว่าเดิม เช่น

 

  • ปวดคอ บ่า ไหล่ ร้าวลงมาตามแขนและมือ หรือสะบักข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีอาการชาตามแขนหรือนิ้วมือร่วมด้วย
  • เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง ตึงเมื่อเคลื่อนไหวจนสุด 
  • มีจุดกดเจ็บบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า
  • มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อต้นคอ
  • มีอาการปวดศีรษะตื้อๆ 

หากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารักษาเพราะอาจเกิดภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ 


การวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่

หากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบอาการได้ด้วยตัวเองดังนี้

 

  1. หากำแพงของบ้านที่โล่งๆ สามารถยืดแขนได้
  2. ยืนตัวตรง เอาหลังชิดกำแพง กางแขนออกระนาบหัวไหล่
  3. ยกแขนตั้งฉากกับลำตัวทำมุม 90 องศา คว่ำมือ สังเกตอาการตึงของบ่าและไหล่ และทำการตรวจสอบทีละข้าง
  4. สังเกตว่าในแต่ละข้างสามารถยกแขนได้ถึงระดับใด มีความตึงของบ่าและไหล่ประมาณใด

หากสามารถกางแขนได้มากกว่า 60 องศาขึ้นไป ถือว่ามีความยืดหยุ่นสูง คอ บ่า ไหล่ อยู่ในสภาวะปกติ แต่หากกางได้น้อยกว่านั้นควรพบแพทย์ ในกรณีที่ต้องพบแพทย์ การวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แรกเริ่มแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ประวัติการใช้ยา ไปจนถึงสอบถามอาการปวดเบื้องต้น แพทย์จะทำการบีบแขนเพื่อหาว่าจุดไหนคือต้นกำเนิดความเจ็บปวด และสามารถใช้วิธีทางการแพทย์ตรวจสอบอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้ดังนี้

 

  1. การเอกซ์เรย์ (X-ray)
  2. MRI (Magnetic Resonance Imaging) 
  3. CT scan 
  4. Electromyography (EMG)

วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การรักษาแบบประคับประคองอาการและการรักษาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้

 

การรักษาแบบประคับประคองอาการ

วิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

การรักษาแบบประคับประคองอาการ แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยประเมินจากความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากอาการไม่รุนแรงนัก อาจได้ยาพายาเซตามอลที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด หากอาการรุนแรงแพทย์อาจจ่ายยาแก้อักเสบให้ได้ การรักษาแบบประคับประคองอาการยังสามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม นั่งในท่าทางที่เหมาะสม
 

การรักษาสำหรับผู้ป่วยอาการเรื้อรัง

วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

สำหรับผู้ที่ปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาด้วยวิธีแบบประคองอาการไม่หาย แพทย์จะแนะนำให้กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด โดยการออกกำลังกายตามโปรแกรมฝึก หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องประคบร้อน เครื่อง Shockwave เข้าช่วย หากยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว


แนวทางป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่

การป้องกันอาการปวด คอ บ่า ไหล่ สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำตามต่อไปนี้ได้

 

  • ไม่เกร็งคอท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • ไม่สะบัดคอแรงๆ แก้เมื่อย
  • ไม่นอนหมอนสูงจนเกินไป
  • จัดอุปกรณ์การทำงานให้สอดคล้องกับสรีระของร่างกาย
  • บริหารคอเพิ่มความแข็งแรงเป็นประจำ
  • ยืดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่
  • โยคะแก้ปวดคอ บ่า ไหล่
  • นวดแก้ปวดคอ บ่า ไหล่

ข้อสรุป

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากแล้วเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดการเกร็งคอเป็นเวลานาน หรือนั่งอยู่ในลักษณะท่าเดิมๆ ที่ผิดสรีระของร่างกายเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน จนทำให้เกิดอาการปวดคอ ขึ้นมา ปกติแล้วอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หากไม่รุนแรงมากจะสามารถหายเองได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากเป็นผู้ป่วยปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด

หากผู้ป่วยมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา หรือปวดข้ออื่นๆ อาการสามารถติดต่อสอบถามรักษาอาการกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

References

Hecht, M. (2019, May 10). Neck and shoulder pain: Causes, remedies, treatment, and prevention. Healthline. Retrieved September 20, 2022, from https://www.healthline.com/health/what-causes-concurrent-neck-and-shoulder-pain-and-how-do-i-treat-it#diagnosis 
 

Ming, Z., Närhi, M., & Siivola, J. (2004). Neck and shoulder pain related to computer use. Pathophysiology, 11(1), 51–56. https://doi.org/10.1016/j.pathophys.2004.03.001 
 

Siivola, S. M., Levoska, S., Latvala, K., Hoskio, E., Vanharanta, H., & Keinänen-Kiukaanniemi, S. (2004). Predictive factors for neck and shoulder pain: A longitudinal study in Young Adults. Spine, 29(15), 1662–1669. https://doi.org/10.1097/01.brs.0000133644.29390.43 
 

WebMD. (n.d.). Why do my shoulders hurt? 13 causes of Neck & Shoulder pain. WebMD. Retrieved September 20, 2022, from https://www.webmd.com/pain-management/guide/neck-shoulder   

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม