Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

วิธีดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สาเหตุ อาการ แนวทางการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

อาการข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ ทั้งจากด้านพฤติกรรม กรรมพันธุ์ และด้วยวัยที่สูงขึ้น ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุจะมีอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึด เข่าอักเสบ เดินลำบาก หรือในบางรายที่อาการรุนแรง อาจเกิดขาโก่งในผู้สูงอายุได้


สารบัญบทความ

 

 

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ด้วยวัยที่เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมของเนื้อเยื่อรอบข้อและการแคบของช่องระหว่างเข่าเนื่องจากการสูญเสียกระดูกอ่อนข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ หัวเข่าบวมแดง เข่าตึงยึด มีเสียงในเข่า โรคข้ออักเสบ ในรายที่อาการรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จึงจำเป็นต้องได้รับการพยาบาลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุที่ถูกต้อง


โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เกิดจากสาเหตุใด

ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เกิดจากการอักเสบของข้อต่อ จากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย และกระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อนในข้อเข่าจะเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการอักเสบ เจ็บข้อเข่า ปวดเข่าในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมักมีลักษณะของกระดูกผิวข้อเข่าบางลง มีการแตกและเปื่อยยุ่ย รวมกับสูญเสียกระดูกอ่อนข้อผิวไป สาเหตุการเกิดอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีได้หลายประการ ดังนี้

 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

  1. ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เช่น การนั่งพับเพียบนานๆ 
  2. มีน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักเยอะ ส่งผลให้มีแรงกระทบต่อข้อเข่าขณะก้าวเดินมากขึ้น
  3. เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน
  4. จากการวิจัยพบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า เพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนโครงสร้างของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อจะบางลง ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
  5. อายุที่มากขึ้นจะทำให้อัตราการซ่อมแซมกระดูกลดลง ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม อายุ 65 ปีขึ้นไปมีอาการข้อเข่าเสื่อมถึง 50%
  6. พันธุกรรม สารประกอบทางพันธุกรรมชนิด T-allele ใน GDF5 polymorphism มีส่วนให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่า

ลักษณะอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ขาโก่งในผู้สูงอายุ

 

1. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะแรก

กระดูกอ่อนเริ่มมีการสึกกร่อนและเริ่มเกิดกระดูกงอก ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดข้อเล็กน้อย มีอาการตึงของข้อเข่าเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือตื่นนอนในตอนเช้า ระยะเวลาฝืดตึงไม่เกิน 30 นาที หัวเข่ามีเสียงจากการเสียดสีของกระดูกขณะเคลื่อนไหว ควรเริ่มพบแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุรุนแรงขึ้น
 

2. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะปานกลาง

บริเวณกระดูกอ่อนสึกกร่อนมากขึ้น กระดูกเริ่มหลุดร่อน ผิวไม่เรียบ มีรอยแตกเป็นส่วนๆ และเกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่ เกิดเสียงในข้อเข่ามากขึ้น โดยส่วนใหญ่คนแก่จะมีอาการปวดเข่าขณะเดิน ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะนี้จะเริ่มมีอาการข้อเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ายืดและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง 
 

3. ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุระยะรุนแรง

บริเวณกระดูกอ่อนสึกกร่อน หลุดอ่อน ผิวไม่เรียบ มีรอยแตกมากขึ้น เกิดกระดูกงอกขนาดใหญ่จำนวนมากภายในบริเวณข้อเข่า กล้ามเนื้อรอบเข่าอ่อนแรง ช่องแคบในข้อเข่าชิดติดกัน ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมาก ข้อเข่าหลวม ผิดรูป เข่าบวมโต ผู้สูงอายุบางรายมีขาโก่งออก เดินลำบาก หกล้มได้ง่าย


การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ปวดเข่าในผู้สูงอายุ

การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
 

1. ชักประวัติและตรวจร่างกาย 

โดยแบ่งออกเป็น
 

1.การซักประวัติอาการปวดข้อเข่า ข้อต่อว่าฝืดนานเกิน 30 นาทีในเวลาเช้าหรือไม่ วัดอาการเข่าบวม แดงร้อน กดเจ็บบริเวณข้อเข่า เสียงในข้อเข่า และซักถามความลำบากในการเคลื่อนไหว

2.ชั่งน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อวัดดัชนีมวลกายว่ามีภาวะอ้วนหรือมีภาวะ โภชนาการเกิน BMI ≥23 kg/m2 หรืออ้วนลงพุง เพราะถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคข้อเข่าเสื่อม

3.สังเกตท่าทางการเดินตัว ทรงตัว และตรวจข้อเข่าของผู้ป่วย โดยการสังเกตขนาด รูปร่างของข้อเข่า เปรียบเทียบความสมมาตรของเข่าทั้งสองข้าง ตรวจวัดความผิดรูปของข้อเข่า
 

2. ประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม

โดยใช้แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมแบบ Oxford knee score ประเมินอาการของผู้ป่วย 12 ข้อ ในช่วงเวลา 1 เดือน 
 

3. ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

ตามดัชนีบาร์เธล เอดีแอล (the Barthel activity of daily living) เพื่อประเมินว่าอาการข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด
 

4. ติดตามผลภาพเอกซเรย์

เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ตรวจหาว่ามีส่วนว่างระหว่างส่วนปลายของกระดูกต้นขาและส่วนตนของกระดูกหน้าแข้งแคบลงหรือไม่ หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ได้ภาพเสมือนของบริเวณภายในข้อเข่า และประเมินสภาพ
 

5. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ติดตามผล Complete Blood Count การตรวจน้ำไขข้อ (synovial fluid) หรือส่งเพาะเชื้อเพื่อแยกโรคข้อเข่าอักเสบจากการติดเชื้อโรค หรือโรคข้อรูมาตอยด์ 


แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุมีแนวทางดังต่อไปนี้
 

1. ใช้ยารักษาข้อเข่าเสื่อม

การรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ


ยาแก้ปวดเข่าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มยาที่ควบคุมอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้ หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และกลุ่มยาที่ปรับเปลี่ยนและชะลอการเสื่อมของกระดูกออก เพื่อชะลออาการของโรคข้อเข่าเสื่อม ซ่อมแซมกระดูก เพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ทำให้กระดูกอ่อนทำงานดีขึ้น
 

2. ฉีดยาแก้ข้อเข่าเสื่อม

อาการเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

 

  • ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Hyaluronic Acid)

การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า เป็นการฉีดน้ำไขข้อเทียมสังเคราะห์ที่มีส่วนประกอบใหญ่คือ Hyalulonic Acid ที่เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำเลี้ยงข้อเข่า เพื่อเลียนแบบน้ำเลี้ยงข้อเข่าที่ร่างกายสร้าง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพให้กับข้อเข่า วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงปานกลาง
 

  • ฉีดสเตียรอยด์

เป็นการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อยับยั้งอาการอักเสบของข้อเข่า ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของข้อเข่าที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ โดยฉีดไปยังจุดที่อักเสบโดยเฉพาะ สามารถลดอาการปวดอักเสบได้ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่อยู่ในระยะแรก ที่ข้อเข่ายังไม่มีความเสียหายมาก ข้อควรระวังคือ อาจจะมีผลข้างเคียงตามมาในผู้ป่วยบางราย ควรให้แพทย์ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
 

3. การทำกายภาพบำบัด

การพยาบาลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

สามารถทำเริ่มได้จากการบริหารร่างกาย เช่น ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและข้อต่อ หรือใช้เครื่องมือ Hot Pack เป็นความร้อนตื้นช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดความตคงตัวของกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวน์ ช็อคเวฟ กระตุ้นไฟฟ้า
 

4. การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

 
  • ผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องสำหรับผู้สูงอายุ

เป็นการผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก ประมาณ 2-5 มิลลิเมตร สอดเข้าไปในรอบแผลขนาดเล็ก โดยประกอบไปด้วยเลนส์และกล้องที่จะฉายภาพไปยังจอทีวี ทำให้แพทย์สามารถเห็นสภาพภายในช่องเข่าของผู้ป่วยและทำการผ่าตัดได้อย่างง่ายดาย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดโอกาสติดเชื้อและอาการเลือกคั่งในข้อ
 

  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้สูงอายุ

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแทนข้อเข่าที่เสื่อมสภาพของผู้ป่วย ข้อเข่าเทียมทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัยต่อร่างกาย มีอายุการใช้งานนาน การผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบ่งออกเป็น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมด และการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง


โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ผ่าตัดได้ไหม

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ หากอาการอยู่ในระยะแรก ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่าตัด สามารถรักษาด้วยการกายภาพบำบัด บริหารร่างได้ หรือใช้ยาในการรักษาได้ แต่หากอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่นการฉีดยา ผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง หรือผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โปรแกรมรักษาข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีดังนี้

 

แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ข้าง

ค่าข้อเข่าเทียม

ค่าห้องพักแบบมาตรฐาน 4 คืน ,รวมค่าการพยาบาล, บริการห้องพัก,ค่าอาหาร, ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด)

ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์, ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด)

ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอฟักฟื้น รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด)

ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด

ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี

ราคา 225,000 บาท

พิเศษ รับฟรี โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด มูลค่า 11,500 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 

หมายเหตุ
 

  • ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด   
  • ราคาดังกล่าว เริ่มใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค.65 เท่านั้น
  • ราคานี้สำหรับคนไทยเท่านั้น
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า            
  • สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ บนถนนเยาวราช ติดวงเวียนโอเดียน เท่านั้น        
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายตรงโทร. 02-118-7893 หรือสายตรงแผนกกระดูกและข้อ 02-118-7922

การดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การดูแลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ สามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้ 
 

การบริหารข้อเข่าสำหรับผู้สูงอายุ

การบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง ช่วยลดแรงกระแทกของข้อเข่า สามารถทำได้โดยการบริหารทั้งในท่านั่งชิดเก้าอี้ ท่านอนหงายโดยมีหมอนรองใต้เข่า หรือบริหารโดยนำยางยืดมาใช้บริหารกล้ามเนื้อขาและเข่า
 

แนะนำการใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี

การดูแลข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ควรหลีกเลี่ยงอิริยาบทที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคข้อเข่า เช่น 
 

  • เลี่ยงการนั่งพับเพียบ 
  • เลี่ยงการก้มถูบ้าน 
  • เลี่ยงการนั่งขัดสมาธิทำสมาธิ
  • เลี่ยงการเดินขึ้นลงบันได 
  • ควรใช้ส้วมแบบชักโครกแทนการนั่งยอง 
  • เลี่ยงการนั่งพื้นทำกิจกรรมต่างๆ
  • เลี่ยงการก้มถูพื้น ควรใช้ไม้ถูพื้นแทน
  • เลี่ยงการนั่งซักผ้าบนเก้าอี้เตี้ยๆ ให้ใช้เครื่องซักผ้าซักแทน
  •  ใส่ปลอกเข่าหรือผ้าพยุงเข่าไว้
  • ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

ปัญหาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ทางเลือกที่ดีที่สุดในการออกกำลังกายของโรคของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุคือ การออกกำลังกายในน้ำ เนื่องจากน้ำมีแรงพยุงตัว ทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักน้อยลง แรงหนืดของน้ำยังช่วยให้ต้องออกแรงมากขึ้น ทำให้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การเดินก็เป็นการออกกำลังที่ดีเช่นกัน หรืออาจใช้การขี่จักรยาน โดยปรับอานที่นั่งให้สูงกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อลดการงอเข่า ก็ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อเช่นกัน ส่วนการออกกำลังกายที่ควรเลี่ยงคือ การวิ่ง หรือ ท่าออกกำลังกายที่มีการกระโดเนื่องจากมีแรงกระทำต่อข้อเข่าสูง


การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

แม้โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบมากในผู้สูงอายุ แต่หากปฏิบัติตัวดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสม ก็สามารถบรรเทาหลีกเลี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้
 

1.คุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ไม่ให้มีภาวะอ้วนจนร่างกายรับภาระน้ำหนักตัวที่จะส่งผลต่อแรงกระทบของข้อเข่า

2.ลดการใช้งานของข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า

3.บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ

4.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและคอลลาเจนสูง เพื่อช่วยในการบำรุงกระดูก

5.หลีกเลี่ยงการกระโดดหรือยกของหนัก

6.นอนเตียงแทนการนอนพื้นเพื่อลดการงอเข่า

7.หากเลี่ยงได้ ผู้สูงอายุควรเลี่ยงการขึ้นลงบันได

8.ควรมีราวจับในบ้านที่มีผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการหกล้ม รวมถึงควรจัดบ้านให้ไม่มีสิ่งกีกขวางเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ


ข้อสรุป

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ แม้ฟังดูเป็นอาการที่หลีกเลี่ยงได้ยากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น แต่หากดูแลข้อเข่าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะช่วยชะลอการเกิดอาการเสื่อม และยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าได้ ทางที่ดีหากเริ่มมีอาการปวดข้อเข่าควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ หากอาการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอยู่ในขั้นรุนแรงแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด โดยสามารถปรึกษาทีมแพทย์เฉพาะทางของ ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

References 

แสงอรุณ ด. (2560). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. เวชบันทึกศิริราช., 10(2), 115-121.

สุวรรณี ส., อังคณา ร., ภัณฑิรชา ฟ., ผุสดี ส. (2562). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11., 33(2), 197-210.

ฉัตรสุดา ก., อภิรดี จ., วิทยา ว. (2563). การชะลอการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ., Rama Nus J., 26(1)., 5-17.

A. Shane Anderson. (2554). Why is Osteoarthritis an Age-Related Disease., (Online). Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2818253/.


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม