Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

วิธีรักษาสายตาสั้น แก้ไขปัญหาการมองเห็นไม่ชัด มีวิธีอะไรบ้าง

สายตาสั้นเป็นปัญหาทางสายตาที่พบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะในวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เพราะอาการสายตาสั้นทำให้มองวัตถุที่อยู่ระยะไกลได้ไม่ชัดเจน เช่น อ่านข้อความบนกระดานในห้องเรียนไม่ออก หรือมองเห็นตัวเลขบนป้ายรถประจำทางไม่ชัดเจน

การเพ่งอาจทำให้ปวดหัว ปวดตา ตาล้า และอาจทำให้สายตาแย่ลงได้ การเข้าใจและหาวิธีดูแลรักษาสายตาสั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายขึ้น และป้องกันปัญหาสายตาที่จะแย่ลงในระยะยาว

รักษาสายตาสั้น

สารบัญบทความ


การรักษาสายตาสั้น มีวิธีใดบ้าง

สายตาสั้น (Myopia) คืออะไร

ปกติแล้ว การมองเห็นภาพต่างๆเกิดจากแสงที่สะท้อนจากวัตถุเข้ามาบนกระจกตาและเลนส์ตา ตกกระทบที่เรตินาในบริเวณด้านหลังลูกตา ทำให้เห็นภาพและวัตถุต่างๆได้นั่นเอง

สายตาสั้นเกิดจากการที่วัตถุสะท้อนเข้าดวงตาแล้วตกกระทบกับบริเวณก่อนถึงเรตินา ส่งผลให้ภาพที่ปรากฎต่อสายตาไม่ชัดเจน วัตถุที่มองเห็นจะค่อนข้างเบลอ สาเหตุของสายตาสั้นยังไม่แน่ชัด จากการวิจัยพบว่ามักเป็นพันธุกรรม หากพ่อแม่สายตาสั้น ลูกก็จะมีโอกาสสายตาสั้น และปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสายตาสั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้จอมือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน

การรักษาสายตาสั้นมีหลายวิธี แบ่งหลักๆออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การรักษาแบบธรรมชาติ และการรักษาแบบผ่าตัด

รักษาสายตาสั้น ราคา
 


1. รักษาสายตาสั้นแบบธรรมชาติ

การใส่แว่นสายตา

การรักษาแบบธรรมชาติ คือ การสวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ โดยมีการวัดค่าสายตากับผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสองวิธีเป็นการปรับให้จุดรวมแสงตกกระทบบนจอตาพอดีเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจน ไม่ต้องหรี่ตาหรือเพ่งให้ปวดตา

การใส่แว่นตา เหมาะกับผู้ที่มีค่าสายตาสั้นทุกแบบโดยเฉพาะผู้ที่มีค่าสายตาค่อนข้างมาก หรือผู้ไม่ถนัดการใส่คอนแทคเลนส์

ข้อดีของการใส่แว่นตา

  • ดูแลรักษาง่าย ใช้ผ้าเช็ดแว่นธรรมดา หรือควบคู่กับสเปรย์เช็ดเลนส์ หรือน้ำสบู่อ่อนได้
  • สะดวกเรื่องค่าใช้จ่าย ตัดแว่นตาครั้งหนึ่งสามารถใส่ได้เป็นระยะเวลานาน ไม่จำเป็นต้องซื้อบ่อย
  • สวมใส่ง่ายสะดวก ปลอดภัย ไม่ส่งผลระคายเคืองต่อดวงตา
  • เลนส์แว่นตาบางประเภทสามารถกรองแสงสีฟ้า ช่วยลดอาการปวดตา ตาล้า จากแสงสีฟ้าของหน้าจอได้

ข้อเสียของการใส่แว่นตา

  • เลนส์แว่นเลอะหรือมีรอยขีดข่วนได้ง่าย ส่งผลต่อการใช้งาน
  • ฝ้าเกาะแว่นบางครั้ง เช่น ไอนำ้จากการทำอาหาร หรืออากาศเปลี่ยนแปลง
  • ไม่เหมาะแก่การออกกำลังกายที่โลดโผน นอกจากแว่นตาหล่นแล้วอาจเสียหายได้
 

รักษาสายตาสั้น ผ่าตัด

การใส่คอนแทคเลนส์

การใส่คอนแทคเลนส์ เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบใส่แว่น มีไลฟ์สไตล์ที่ไม่เอื้อต่อการใส่แว่น เช่น ชอบกีฬาพาดโผน หรือผู้ที่สามารถดูแลรักษาความสะอาดได้อย่างต่อเนื่อง

ข้อดีของการใส่คอนแทคเลนส์

  • ดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีแว่นตาบดบังใบหน้า
  • มีขนาดเล็ก พกพาง่าย สะดวก
  • หาซื้อได้ง่ายและรวดเร็วหากรู้ค่าสายตา ไม่ต้องรอตัดเลนส์แบบแว่น

ข้อเสียของการใส่คอนแทคเลนส์

  • หากไม่ดูแลรักษาความสะอาด อาจระคายดวงตา หรือเกิดการติดเชื้อได้
  • อาจระคายดวงตาเนื่องจากตาแห้ง หรือค่าอมน้ำของคอนแทคเลนส์น้อย
  • ต้องซื้อเรื่อยๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก
  • หาค่อนข้างยากหากทำหล่นหาย เนื่องจากมีขนาดเล็ก และคอนแทคเลนส์บางชนิดสีใส
 

วิธีรักษาสายตาสั้น
 


2. รักษาสายตาสั้นด้วยวิธีผ่าตัด

การรักษาแบบผ่าตัด เหมาะกับผู้ที่ไม่สะดวกรักษาแบบธรรมชาติ ต้องการรักษาในระยะยาว และสะดวกในด้านของค่าใช้จ่าย โดยวิธีผ่าตัดกับโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ แบ่งออกเป็น 5 วิธีหลัก ได้แค่ เลสิค เฟมโตเลสิค รีเลกซ์ PRK และ ICL

การทำเลสิค หรือ Laser In-Situ Keratomileusis คือ การใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาสายตาได้ทั้งอาการสายตาสั้น ยาว หรือสายตาเอียง ด้วยวิธีที่ง่าย สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 15 นาทีต่อการรักษา 2 ข้างและให้ผลถาวร ผู้ที่รับการรักษาไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์อีกต่อไป

โดยแพทย์จะแยกชั้นกระจกตาผิวบนก่อนทำการยิงเลเซอร์ วิธีนี้ให้ผลการรักษาที่แม่นยำ สายตาคมชัดอย่างรวดเร็วหลังผ่าตัด และมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีของศูนย์เลสิค โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ในการแยกชั้นกระจกตามีความก้าวหน้ามาก

รักษาสายตาสั้นและยาว

การทำเลสิค (LASIK)

LASIK (Microkeratome) เป็นวิธีการทำเลสิคโดยการใช้ใบมีดอัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูงในการตัดแยกชั้นกระจกตาก่อนทำการยิงเลเซอร์แก้ไขสายตา และนำกระจกตาชั้นนอกวางกลับที่เดิมให้แผลสมานตามธรรมชาติ วิธีนี้พัฒนามาเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการผลการรักษาที่ได้มีความปลอดภัยและแม่นยำสูง

  • แก้สายตาสั้นได้ถึง 1,200-1,300 (ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกตา)

  • สายตาเอียงถึง 500
 

ReLEx SMILE

รีเลกซ์ ReLEx SMILE หรือ Refractive Lenticule Extraction, Small Incision Lenticule Extraction พัฒนามาจากเทคโนโลยีเลสิค เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาสั้นและสายตาเอียงด้วยเลเซอร์โดยลดภาวะแทรกซ้อนบางประการของเลสิคได้ โดยจักษุแพทย์จะใช้ Femtosecond Laser แยกชั้นกระจกตาเป็นรูปเลนส์ และปรับความโค้งของกระจกตาให้เหมาะสมกับค่าสายตา

วิธีนี้ทำให้แผลมีขนาดเล็กและหายเร็ว และยังเกิดอาการตาแห้งหรือเคืองตาน้อยมากเพราะรบกวนเส้นประสาทบริเวณกระจกตาน้อยเมื่อเทียบกับเลสิค อีกทั้งยังได้ค่าสายตาที่แม่นยำ มองเห็นชัดเจน ใช้เวลาพักเพียง 1-2 วันก็สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ

  • แก้สายตาสั้นได้ถึง 1,000
  • สายตาเอียงถึง 500
 

Femto LASIK

เฟมโตเลสิค (Bladeless FemtoLASIK) หรือ เลสิคไร้ใบมีด เป็นวิธีใช้แสงเลเซอร์ Femtosecond Laser ซึ่งเป็นเลเซอร์คลื่นความถี่สูงในการแยกชั้นกระจกตาโดยสามารถกำหนดความหนาของฝากระจกได้ตามที่ต้องการ แยกชั้นกระจกตาได้อย่างเรียบเนียน มีความแม่นยำและปลอดภัยมากกว่าวิธีแรก ทำให้สามารถแก้ไขสายตาสั้นสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบางได้เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาสายตาดังนี้

  • แก้สายตาสั้นได้ถึง 1,200-1,300 (ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจกตา)
  • สายตาเอียงถึง 500
 

การทำ PRK

PRK (Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีการรักษาสายตาสั้น ยาว เอียง โดยการใช้ใบมีดกับผิวกระจกตาเพื่อยิงเลเซอร์แก้ไขสายตา วิธีนี้ไม่มีการแยกชั้นฝาประจกตา ทำให้เนื้อกระจกตาหลังการรักษาหายแบบไร้รอยต่อ มองเห็นได้อย่างคมชัด แต่อาจมีอาการปวดตามากกว่าการทำเลสิคในช่วง 2-3 วันแรก วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่สายตาสั้นไม่มาก

  • แก้สายตาสั้นได้ถึง 500
  • สายตาเอียงถึง 200
 

การทำ ICL

ICL (Implantable Collamer Lens) สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิคได้ มีอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า ICL คือการผ่าตัดใส่เลนส์เสริมชนิดใส่ถาวรในดวงตานั่นเอง ตัวเลนส์ทำมาจากวัสดุที่ชื่อว่า Collamer โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความยืดหยุ่นและเข้ากับร่างกายได้ดี สามารถอยู่ในลูกตาได้อย่างถาวร หลังจากทำการผ่าตัดภาพที่มองเห็นมีความคมชัด เกิดภาวะกระจายแสงและเห็นรัศมีรอบดวงไฟน้อย และยังช่วยกรองแสงยูวีซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาได้อีกด้วย

  • แก้ไขปัญหาสายตาสั้นได้ถึง 1,800
  • สายตาเอียงได้ถึง 600
 

ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาสายตาสั้น

ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาสายตาสั้น

ดูรายละเอียดการรักษาบริการได้ที่ เว็บไซต์ของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์, เพจ Facebook ศูนย์เลสิคของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์, ไลน์แอดของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ทำการนัดหมายล่วงหน้าที่เบอร์โทร 02-118-7946

ก่อนเข้ารับการตรวจ (ใช้เวลาตรวจ 2-3 ชั่วโมง)

  • งดใส่คอนแทคเลนส์ประเภท Soft Lens ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 3 วัน
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ประเภท Hard Lens ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 7 วัน
  • ใส่แว่นสายตาได้ตามปกติ
  • เลี่ยงการขับรถเนื่องจากขั้นตอนการตรวจจะมีการขยายม่านตา ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น 4-6 ชั่วโมงหลังตรวจ ควรมีญาติมาด้วย

หากต้องการตรวจพร้อมทำเลสิคใน 1 วัน

  • เข้ารับการตรวจช่วง 08.00 - 09.00 น.
  • งดน้ำหอม โรลออน เจลใส่ผม สเปรย์ที่มีกลิ่นหอมทุกชนิดทั้งร่างกายและเสื้อผ้า
  • งดแต่งหน้า
  • ใส่เสื้อที่มีกระดุมด้านหน้าเพื่อง่ายต่อการถอด-ใส่หลังการรักษา

หลังการทำเลสิค

  • หลังการผ่าตัด 60-90 นาที อาจมีอาการเจ็บและเคืองตาคล้ายมีเม็ดทรายหรือกรวดอยู่ในตา และอาจมีน้ำตาไหลจำนวนมาก แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดได้ทุก 4-6 ชั่วโมง นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวันเพื่อลดการระคายเคือง
  • หลังการผ่าตัดจะมีการปิดฝาที่ครอบตาป้องกันการขยี้ตา ห้ามแกะฝาครอบออกจนกระทั่งวันรุ่งขึ้น
  • หากคนไข้ไว้ผมยาว เส้นผมอาจสัมผัสดวงตา ควรหาที่คาดผม มัดผม หรือติดกิ๊บไว้
  • ควรปิดที่ครอบตาทุกคืนเป็นเวลา 7 คืน ป้องกันการขยี้ตาขณะนอนหลับ
  • เลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละออง ควันบุหรี่ รวมถึงเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าตาประมาณ 7 วัน
  • ควรงดใช้สายตาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์หรือหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นอย่างคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระคายเคืองตามากขึ้น
 

การรักษาสายตาสั้นแบบไหนเหมาะกับเรา

  • การใส่แว่น
  • การใส่คอนแทคเลนส์
  • การทำเลสิค (LASIK)
  • ReLEX SMILE
  • Femto LASIK
  • การทำ PRK
  • การทำ ICL

การใส่แว่นตา เหมาะกับผู้ที่มีไลฟ์สไตล์ไม่ได้พาดโผนมาก ใช้เวลาอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เยอะ เหมาะแก่การใส่แว่นตา และเลนส์แว่นบางประเภทสามารถกรองแสงสีฟ้าได้ด้วย

การใส่คอนแทคเลนส์ เหมาะกับผู้ที่อาจมีค่าสายตามากแต่ไม่ชอบใส่แว่น ต้องเป็นผู้ที่สามารถรักษาความสะอาดได้เนื่องจากต้องมีการล้างคอนแทคเลนส์ และใช้มือสะอาดเวลาถอด-ใส่

การทำเลสิค เฟมโตเลสิค รีเลกซ์ และ PRK เหมาะกับผู้ที่ค่าสายตาคงที่และกระจกตาไม่บางมากนัก

PRK เหมาะกับผู้ที่ค่าสายตาไม่มากและต้องการฟื้นตัวที่ไว ไลฟ์สไตล์หรืออาชีพมีความเสี่ยงเกิดแรงกระแทกบริเวณดวงตา เช่น ตำรวจ นักกีฬา หรือผู้ที่ไม่ต้องการเห็นร่องรอยการผ่าตัดแก้ไขสายตาอย่างอาชีพนักบิน

 


การป้องกันสายตาสั้น

สาเหตุของอาการสายตาสั้นอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมเสี่ยง การป้องกันสายตาสั้นจึงควรทำให้เป็นนิสัยตั้งแต่ยังเป็นเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสายตาสั้น/ไม่ให้สายตาแย่ลง

  • ไม่ใช้สายตามากเกินไป เช่น การอ่านหนังสือหรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้องเพ่ง เสี่ยงต่ออาการสายตาสั้น
  • พยายามใช้เวลานอกบ้าน เนื่องจากมีระดับแสงที่สว่างกว่าแสงในบ้าน เด็กที่ใช้เวลาเล่นนอกบ้านเป็นประจำไม่ค่อยเสี่ยงสายตาสั้น หรือสายตาสั้นช้าลง
  • พักสายตาเป็นระยะ เช่น พักสายตา 1 นาทีทุกครึ่งชั่วโมง หรือพักสายตาทุก 5-10 นาทีทุก 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดการเพ่งค้าง หรืออาการสายตาสั้นชั่วคราวเนื่องจากตาล้า

 


รักษาสายตาสั้นที่ไหนดี

โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีเครื่องเลเซอร์ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและใหม่ล่าสุดที่ศูนย์เลสิค นั่นคือเครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ Excimer Laser: Nidex Advance Vision Excimer Laser EC5000 Quest ซึ่งทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการรักษาของผู้เข้ารับบริการคนสำคัญทุกท่าน

แพทย์ของโรงพยาบาลพร้อมที่จะให้คำแนะนำ หาวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการอย่างแน่นอน หากท่านสนใจ กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 02-1187946 และ 081-9070220 หรือ [แอดไลน์]

สามารถดูข้อมูลและการรีวิวได้ที่ เพจ Facebook โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
 


FAQs รักษาสายตาสั้น

  • การทำเลสิคสามารถรักษาสายตาสั้นได้โดยถาวรหรือไม่

    • การทำเลสิครักษาอาการสายตาสั้น แต่หากผู้ที่เคยทำเลสิคกลับไปใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้สายตาหนักเป็นระยะเวลานาน ไม่ค่อยพักสายตา อาจทำให้สายตาสั้นอีกได้
 
  • การทำเลสิคแบบไหนดีที่สุด

    • การทำเลสิคแต่ละแบบมีข้อดีต่างกัน ดังนั้นก่อนเข้ารับการรักษา คนไข้จะได้พูดคุยและปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
 
  • สายตาสั้นข้างเดียว รักษาอย่างไร

    • สายตาสั้นข้างเดียว เบื้องต้นสามารถใส่แว่นเพื่อให้ค่าสายตาดวงตาทั้งสองข้างไม่ต่างกันมาก ป้องกันอาการปวดหัว ปวดตา จากค่าสายตาที่ไม่เท่ากัน  และป้องกันสายตาแย่ลงจากการเพ่งด้วย
 
  • การรับประทานวิตามินเสริม ช่วยรักษาสายตาสั้นหรือไม่

    • ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าวิตามินช่วยรักษาสายตาสั้นได้ วิตามินบางตัวสามารถช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อมได้ แต่การขาดวิตามินส่งผลต่อสายตา อาจทำให้ตาแห้ง ปวดตา มองไม่ค่อยเห็นในที่มืด ดังนั้นการรับประทานวิตามินเสริม อาจช่วยได้สำหรับผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ แต่อาจไม่ช่วยรักษาอาการสายตาสั้นโดยตรง
 

ข้อสรุป

อาการสายตาสั้นสามารถรักษาได้ด้วยหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล อาการสายตาสั้นสามารถป้องกันหรือควบคุมไม่ให้สายตาแย่ลงได้ตั้งแต่เด็ก หากมีอาการสายตาสั้นที่เริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ควรหาวิธีรักษาตามความสะดวกและเหมาะสม เช่น การใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ และสามารถเข้ารับการรักษาแบบผ่าตัดเมื่อค่าสายตาคงที่แล้ว

แม้อาการสายตาสั้นจะไม่ใช่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้แล้วสายตาอาจแย่ลง หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีการดูแลอาการสายตาสั้นที่ดีที่สุดนั่นเอง โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีพร้อมทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ และเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ดูแลดวงตาของคุณ ด้วยดวงใจของเรา
 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม