Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

อาการ “ปวดสะโพก” ไม่ควรมองข้าม เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร?

ปวดสะโพก

ปวดสะโพกแบบไหนที่ไม่ควรมองข้าม ? อาการปวดเส้นเอ็นสะโพก เจ็บร้าวตั้งแต่สะโพกลงไปเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ รู้สึกว่าสะโพกติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวกเหมือนเก่า แม้ว่าอาการปวดสะโพกจะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ แต่ภาวะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น 

บางคนอาจจะปวดหลังตรงสะโพกมาตั้งแต่กำเนิดจึงทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป เช่น ภาวะข้อสะโพกขาดเลือด ภาวะเบ้าสะโพกชันผิดปกติ ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ข้อสะโพก หรือข้อสะโพกติดเชื้อ ทั้งนี้อาการปวดสะโพกสามารถดีขึ้นได้ ถ้าหากผู้ป่วยมีการดูแลและรักษาที่ถูกวิธี แต่ถ้าหากอาการปวดหลังร้าวลงสะโพกทวีความรุนแรงมากขึ้นนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่มาจากร่างกาย

ร่วมหาคำตอบของต้นตอสาเหตุของอาการปวดสะโพก ปวดเส้นเอ็นสะโพก ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร อาการแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ พร้อมทั้งวิธีรักษาและแนวทางการป้องกันที่ถูกวิธี ทุกคำตอบที่สงสัยเกี่ยวกับการปวดสะโพกรวมไว้ในบทความนี้ 


สารบัญบทความ
 


ปวดสะโพก (Hip Pain)

ปวดกระดูกสะโพก

อาการปวดสะโพกเป็นอาการที่สามารถพบได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดสะโพกก้มไม่ได้ ปวดสะโพกด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านข้างลำตัว โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากการกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นบริเวณรอบข้อต่อสะโพกได้รับบาดเจ็บ และบางครั้งอาการปวดเส้นเอ็นสะโพกอาจจะมาจากโรคประจำตัวบางชนิดที่มีแต่กำเนิดของผู้ป่วย 

ทั้งนี้อาการปวดสะโพกเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้สะดวกเหมือนก่อนหน้านี้


ข้อสะโพก (Hip Joint) คืออะไร

สะโพก

ก่อนที่จะไปหาคำตอบของอาการปวดสะโพก อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกับอวัยวะที่สำคัญอย่างสะโพก ข้อสะโพกเสียก่อน ข้อต่อสะโพก (Hip Joint) คือ ข้อต่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและเป็นข้อต่อที่ยึดระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขาเข้าด้วยกัน มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน และช่วยให้สามารถเหยียดงอขาในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ 

โดยข้อต่อสะโพกมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ หัวกระดูกสะโพก (Head of Femur) และ เบ้าสะโพก (Acetabulum) โดยที่ผิวสัมผัสของกระดูกทั้งสองจะปกคลุมไปด้วยกระดูกอ่อนที่มีความหนาและแข็งแรง เพื่อรองรับแรงกดของน้ำหนักตัวทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้โดยไม่ติดขัด 

และบริเวณสะโพกจะมีเนื้อเยื่อที่เรียกว่า Acetabular โดยมีรูปร่างคล้ายวงแหวนอยู่ที่ขอบสะโพก มีความเหนียวและแข็งแรงช่วยเสริมความลึกของเบ้าสะโพก เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับเบ้าสะโพก และช่วยให้ข้อสะโพกไม่หลุดในขณะที่เคลื่อนไหว


สาเหตุอาการปวดสะโพก

อาการปวดสะโพกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น จากอุบัติเหตุหรือในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อสะโพกเกิดการฉีกขาด หรือได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้อาการปวดสะโพกอาจจะเกิดจากโรคหรือความผิดปกติที่ติดตัวผู้ป่วยมาตั้งแต่กำเนิด เช่น การอักเสบของเยื่อบุ เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อในบริเวณโดยรอบข้อต่อสะโพก โดยสามารถแบ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดสะโพกออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆ ดังนี้ 
 

ปวดสะโพกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต

อาการปวดสะโพกที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต มักมีสาเหตุมาจากการนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือท่านั่งยอง ในขณะที่นั่งข้อต่อสะโพกจะบิดงอและเกิดแรงอัดในข้อต่อสะโพกมากขึ้น กว่าการนั่งในท่าที่เหมาะสม เช่น การนั่งบนเก้าอี้ที่ลำตัวและขาสามารถทำมุมได้ 90 องศา หรือ จะใช้วิธีการเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกเดินเป็นระยะระหว่างวัน เพื่อถนอมข้อสะโพกและลดอาการปวดสะโพก สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงท่านั่งที่อาจจะก่อให้ปวดสะโพกและปวดก้นได้
 

ปวดสะโพกจากอาการทางสุขภาพ

นอกจากท่านั่งที่ไม่เหมาะสม หรือ การทำกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อสะโพกแล้ว การปวดสะโพกยังมีสาเหตุมาจากปัญหาทางสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากโรคที่เกี่ยวกับข้อต่อ หรือ อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ทำให้กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ หรือ เส้นเอ็นบริเวณข้อต่อสะโพกได้รับบาดเจ็บ จึงทำให้ในปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการเจ็บสะโพกในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งอาการทางสุขภาพที่มีผลต่อการปวดสะโพก ได้แก่ 
 

  • อาการตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น กิจกรรมและการเล่นกีฬาบางชนิดที่ใช้กล้ามเนื้อและเนื้อเส้นเอ็นที่รองรับสะโพกมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้เกิดการอักเสบและส่งผลให้รู้สึกปวดสะโพก
  • ข้อต่อสะโพกบวมและเกิดการอักเสบ บริเวณข้อต่อจะมีถุงเบอร์ซา (Bursa) ที่มีหน้าที่ลดแรงเสียดทาน และช่วยเพิ่มการหล่อลื่นของเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ ถ้าหากถุงเบอร์ซาเกิดการอักเสบก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดสะโพกได้ 
  • เส้นเอ็นบริเวณสะโพกอักเสบ หากเกิดการอักเสบ หรือ ตึงมากเกินไปของเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกและกล้ามเนื้อไว้ด้วยกัน จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณนั้นๆ ได้
  • กระดูกสะโพกหัก เมื่ออายุมากขึ้นนอกจากระบบต่างๆ ในร่างกายที่เสื่อมสภาพลงแล้ว กระดูกก็ค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น โดยผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะกระดูกเปราะ และ แตกหักได้ง่ายกว่า 
  • สะโพกฉีก เป็นอาการฉีกขาดของกระดูกอ่อนบริเวณสะโพก หรือที่เรียกว่า ลาบรัม (Labrum) ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการใช้งานสะโพกหนักเกินไป จนทำให้กระดูกอ่อนเกิดการฉีกขาดและทำให้เกิดอาการปวดสะโพกในที่สุด 
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับไขข้อ หรือ โรคข้ออักเสบชนิดต่างๆ มักจะพบในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการอักเสบบริเวณข้อต่อและกระดูกอ่อนของสะโพก 
  • ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือด (Avascular necrosis) เป็นภาวะที่เลือดไหลลงไปที่กระดูกสะโพกช้ากว่าปกติ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณสะโพกตาย และอันตรายต่อข้อต่อส่วนอื่นๆ ในร่างกาย 

กลุ่มอาการปวดสะโพก

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดสะโพกอาจจะมีบริเวณที่ปวดแตกต่างกัน เช่น ปวดสะโพกด้านหลัง ปวดสะโพกด้านขวา หรือปวดสะโพกด้านซ้าย ซึ่งบริเวณที่ปวดอาจจะมีสาเหตุที่ต่างกัน เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกด้านหลัง มักจะอยู่ในกลุ่มคนที่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อมที่มีผลมาจากภาวะกระดูกเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ กระดูกอ่อนถูกทำลายหรือได้รับบาดเจ็บ 

ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกขวามักจะมีสาเหตุมาจากการตึงและการเกร็งของกล้ามเนื้อ Quadratus Lumborum จากการที่กล้ามเนื้อทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดการปวดสะโพกบริเวณด้านหลังขวานั้นเอง 

ทั้งนี้อาการปวดสะโพกมีหลายสาเหตุ และมีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้ปวดบริเวณสะโพกได้ ทางที่ดีที่สุดควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของการปวดตรงสะโพก


ปวดสะโพก สัญญาณเตือนโรคที่ไม่ควรมองข้าม

แม้ว่าอาการปวดสะโพกอาจจะมีผลมาจากข้อต่อที่เสื่อมสภาพลงตามอายุที่มากขึ้น แต่ในบางครั้งการปวดข้ออาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางโรคที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ 
 

โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Osteoarthritis)

โรคข้อสะโพกเสื่อม

โรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นโรคที่มีปัจจัยหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิด ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน หรือ หัวสะโพกตายจากอุบัติเหตุและการขาดเลือดจนทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อภายในสะโพก  และเส้นเอ็นที่ยึดรอบสะโพกเสื่อมลง 

ทั้งนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บและติดขัดบริเวณขาหนีบด้านหน้า เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายในขณะที่กำกิจกรรมต่างๆ และผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมอาจจะพบปัญหาขายาวไม่เท่ากัน เนื่องจากกระดูกสะโพกข้างใดข้างหนึ่งทรุดตัวลง 
 

โรคข้อสะโพกขาดเลือด (Avascular Necrosis)

โรคข้อสะโพกขาดเลือด

โรคข้อสะโพกขาดเลือด เป็นภาวะที่ปริมาณเลือดที่มาหล่อเลี้ยงบริเวณกระดูกของหัวกระดูกสะโพกไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์กระดูกผิดรูปหรือตาย โดยสาเหตุของโรคข้อสะโพกขาดเลือดมีหลายปัจจัย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยาสเตียรอยด์ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อุบัติเหตุที่เคยเกิดในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสะโพก โรคเลือดบางชนิด โรคความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด และกลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น โรครูมาตอยด์ และโรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นต้น 
 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disc)

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประสิทธิภาพการรองรับน้ำหนักของหมอนรองกระดูกเสื่อมลง หรือ เกิดจากการที่หมอนรองกระดูกแตกออกมากดทับเส้นประสาท ที่มีสาเหตุมาจากการใช้งานกระดูกสันหลังมากเกินไป ทำให้ขณะที่เดินหรือยืนผู้ป่วยมักจะเกิดอาการปวดสะโพก หรือ ปวดร้าวตั้งแต่บริเวณสะโพกลงไปยังบริเวณขา 

ทั้งนี้โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมักจะทำให้เกิดการงอกยื่นของขอบกระดูกสันหลังส่วนบนและล่าง
 

โรคปวดสะโพกร้าวลงขาจากข้อเชิงกราน (Sacroiliac Joint Dysfunction)

โรคปวดสะโพกร้าวลงขาจากข้อเชิงกราน

อาการปวดสะโพกด้านหลัง หรือ ปวดสะโพกด้านล่าง อาจจะมีสาเหตุมาจากโรคปวดสะโพกร้าวลงขาจากข้อเชิงกราน เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับข้อต่อของกระดูกเชิงกรานโดยตรง มีสาเหตุมาจากการเกิดแรงกระแทกบริเวณหลังส่วนล่าง ไม่ว่าจะเป็น การถูกชนหรือกระแทกในระหว่างที่เล่นกีฬาบางชนิด การหกล้ม การใช้งานข้อต่อบริเวณกระดูกเชิงกรานหนัก หรือความผิดปกติของข้อเข่าหรือข้อต่อสะโพก เช่น ปัญหาขาทั้งสองข้างมีความยาวไม่เท่ากัน เป็นต้น 
 

โรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเอง (Autoimmune Disease)

โรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเอง

โรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเองเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิกันในร่างกาย ไปทำลายเนื้อเยื่อปกติทำให้เกิดการอักเสบ และทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะและระบบภูมิคุ้มกันทั่วทั้งร่างกาย โดยโรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเองมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และกลุ่มตัวอย่างโรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเองที่มีอาการปวดสะโพก ได้แก่ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) และ โรคภูมิกันบกพร่อง (SLE) เป็นต้น 


ปวดสะโพกแบบไหน ควรพบแพทย์

ผู้ที่มีอาการปวดสะโพกหากลองบรรเทาด้วยวิธีต่างๆ แล้ว อาการไม่ดีขึ้น นั้นอาจจะเป็นสัญญาณบอกว่าอาการปวดสะโพกที่คุณกำลังเป็นอาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเมื่อล้าในการทำงาน หรือ กิจกรรมบางอย่าง แต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ป่วย โดยถ้าหากเกิดอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันที 
 

  • ปวดสะโพกอย่างรุนแรง
  • ข้อต่อสะโพกผิดรูป หรือ บวมอย่างเฉียบพลัน
  • ได้ยินเสียงดังและรู้สึกเจ็บบริเวณข้อต่อ เมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย 
  • ไม่สามารถลงน้ำหนักที่สะโพกได้ 
  • ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ 
  • เกิดอาการบวม แดง มีไข้ หนาวสั่น ที่สื่อถึงการติดเชื้อ 
  • เกิดอุบัติเหตุ หรือ การชนและกระแทกจนทำให้รู้สึกปวดเอวลงสะโพก ปวดกระดูกสะโพก

การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์

พบแพทย์ตรวจสะโพก

ขั้นตอนแรกแพทย์มักจะสอบถามและซักประวัติเบื้องต้นของผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพก ไม่ว่าจะเป็น ปวดครั้งแรกเมื่อไหร่ เวลามีอาการปวดสามารถเคลื่อนไหวร่างกายไหวหรือไม่ เมื่อมีอาการปวดสะโพกปวดทั้งวันหรือปวดระยะๆ และอื่นๆ พร้อมทั้งแพทย์อาจจะให้ลองลุกเดินไปมารอบๆ เพื่อสังเกตการเคลื่อนไหวของข้อต่อสะโพกว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เพื่อประกอบการวินิจฉัย 

และนอกจากการซักประวัติเบื้องต้นและตรวจลักษณะภายนอกแล้ว แพทย์อาจจะใช้วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดสะโพก 
 

  • เอกซเรย์ (X-rays)
  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบภาพตัดขวางพื้นฐาน (CT Scans)
  • การตรวจหาความผิดปกติด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กและคลื่นความถี่วิทยุ (MRI Scans)

ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกทุกคนไม่จำเป็นต้องตรวจทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น 


วิธีรักษาอาการปวดสะโพก

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดสะโพกหากมีอาการปวดที่ไม่รุนแรง และมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้าสามารถบรรเทาอาการปวดสะโพกด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ แต่ผู้ที่มีอาการปวดที่รุนแรงแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีจะดีที่สุด 
 

การบรรเทาอาการปวดสะโพกด้วยตัวเองเบื้องต้น

วิธีการบรรเทาอาการปวดสะโพก
 

  • ลดการเคลื่อนไหวสะโพก

ผู้ที่มีอาการปวดสะโพกแนะนำให้พยายามลดการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการงอ หรือ แรงกดทับที่สะโพก เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งสมาธิ หรือการนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน และผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดทับที่สะโพกได้ด้วยการนอนตะแคงข้าง
 

  • การประคบร้อน-เย็น

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกสามารถใช้วิธีประคบร้อนด้วยน้ำอุ่น หรือ ถุงประคบร้อน และ ประคบเย็นน้ำแข็ง หรือ ผ้าชุบน้ำเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและบรรเทาอาการปวดอาการปวดสะโพกได้ 
 

  • การบริหารร่างกาย

บางกรณีผู้ป่วยที่มีปวดหลังสะโพกสามารถทำการบริหารร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบๆ ข้อต่อสะโพกคลายความตึงเครียดลง และยังเป็นวิธีที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อหลังให้กลับมาแข็งแรง 
 

การรักษาทางการแพทย์

การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม
 

  • การใช้ยาบรรเทาอาการปวด

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกสามารถทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดบางชนิดได้ เช่น อะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) แอสไพริน (Aspirin) และ ไอบูโฟรเฟน (Ibuprofen) ทั้งนี้การทานยาแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้งานเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 
 

  • การทำกายภาพบำบัด

สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวดสะโพก เสริมสร้างความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของข้อต่อ และเพื่อปรับข้อสะโพกให้กลับมาสมดุล การทำกายภาพบำบัดควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือนักกายภาพเท่านั้น เพราะการทำกายบำบัดแบบผิดวิธีอาจจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้ 
 

  • การฉีดสเตียรอยด์

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อสะโพกรุนแรงแพทย์อาจจะพิจารณาการฉีดสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้การรักษาด้วยการฉีดสเตียรอยด์เป็นการบรรเทาอาการปวดเพียงชั่วคราวเท่านั้น และถ้าหากฉีดสเตียรอยด์ 2-3 ครั้ง แต่อาการปวดสะโพกไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม
 

  • การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียมเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาอาการปวดสะโพกด้วยวิธีอื่นได้ หรือ ผู้ป่วยได้ลองรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วแต่อาการปวดกลับรุนแรงและไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนสะโพก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างต่ำ โดยเป็นการนำเอาส่วนของข้อต่อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ กระดูกตายหรือแตกหักออก และแทนด้วยข้อสะโพกเทียม (Prosthesis) 

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียมส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนผู้ป่วยสูงอายุ ประมาณ 60-80 ปี หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวัน และกิจกรรมต่างๆ ได้ พร้อมทั้งอาการปวดสะโพกลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้ข้อสะโพกเทียมมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี 


แนวทางการป้องกันการปวดสะโพก

แม้ว่าอาการปวดสะโพกจะสามารถเกิดได้กลับทุกคน และมักมีสาเหตุมาจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และการเล่นกีฬาบางชนิดที่ต้องรับแรงกระแทกระหว่างเล่น แต่สามารถปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปวดสะโพกต่อไปนี้ เพื่อช่วยรักษาข้อต่อสะโพกให้อยู่กับตนเองได้นานมากขึ้น 
 

  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเต้นแอโรบิก หรือ ว่ายน้ำ ช่วยให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบๆ สะโพกคลายตัวลง
  • ปรับท่านั่งให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และถ้าหากจำเป็นต้องนั่งทำงานตลอดทั้งวันให้ลุกเดินระหว่างวันเพื่อยืดเส้นยืดสาย 
  • สวมรองเท้าที่พอดีกับรูปเท้า รองรับน้ำหนักได้ดีและหลีกการออกกำลังกายบนพื้นผิวที่แข็ง เนื่องจากอาจจะทำให้ปวดสะโพก
  • ก่อนออกกำลังกายควรยืดกล้ามเนื้อทุกครั้ง ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการออกกำลังหนักๆ ทันที 
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะข้อต่อสะโพกเป็นข้อต่อที่รองรับน้ำหนักร่างกายส่วนบนทั้งหมด
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเส้นเอ็นแข็งแรง  

ข้อสรุป

หากมีอาการปวดสะโพกไม่หายสักที และอาการปวดยังคงรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการปวดสะโพกมีหลายสาเหตุทั้งการปวดสะโพกที่เกิดจากความเมื่อยล้าที่มาจากการทำกิจกรรมบางอย่างและการเล่นกีฬาบางชนิด และการปวดสะโพกที่มีสาเหตุมาจากโรคที่แอบแฝงอยู่ 

ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกเรื้อรังควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี เพราะการไม่เข้ารับการรักษาเพื่อบรรเทาความรุนแรงของการปวดสะโพก อาจจะทำให้อาการทรุดลงและอาการรุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีทั่วไปได้ จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียมเท่านั้น 

หากคุณมีอาการปวดสะโพกในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


References

Rob, W. (2016, Mar 21). Hip pain : Causes, Treatment, and Prevention. Coastal Orthopedics. 

https://www.coastalorthoteam.com/blog/hip-pain-causes-treatment-and-prevention


Kati, B. (2019, Aug 27). Everything You Need to Know About Hip Pain. Healthline.

https://www.healthline.com/health/hip-pain


แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
 

แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก 1 ข้าง รวมข้อทียม (นอน รพ. 5 คืน) ราคา 295,000 บาท
ค่าข้อเข่าเทียม Implant
ค่าห้องพักแบบมาตราฐาน 5 คืน ,รวมค่าการพยาบาล,บริการห้องพัก,ค่าอาหาร,ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด) Standard Room 5 Nights, Nursing, Room Service and Medical Equipment. The package includes 3 meals per day
ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์,ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด) Medicine, Medical Equipment/Supplies at Ward
ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอพักฟื้น รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด) Operating Room, Recovery Room, Medicine, Medical Equipment and supplies in OR
ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด Rehabilitation Service
ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี Surgeon and Anesthesiologist Fee


สิทธิพิเศษเพิ่มเติมจากแพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย:

  • รับสิทธิ พักฟื้นเพื่อติดตามอาการหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด พร้อมพยาบาลเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 1 คืน
  • รับสิทธิ พักฟื้นในห้องผู้ป่วยใน และขออัพเกรดห้องพักได้หากมีห้องว่าง จำนวน 3 - 4 คืน
  • รับสิทธิ ฟื้นฟูสภาพเข่าด้วยเทคนิคฟื้นฟูเฉพาะบุคคล จำนวน 8 ครั้ง
การดูแลและติดตามผลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด นัดตรวจติดตามอาการกับแพทย์เฉพาะทางหลังผ่า 2 สัปดาห์ และ X-ray หลังผ่าตัดครบ 1 เดือน - 3 เดือน -  6 เดือน - 1ปี และ 2 ปี

เงื่อนไข

  • ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
  • สามารถใช้ร่วมกับประกันสุขภาพได้ (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัทประกัน)
  • ราคานี้สำหรับคนไทยเท่านั้น
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า
  • สามารถรับบริการได้ที่ Smart Joint Center โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เท่านั้น

 โปรโมชั่นผ่อนชำระผ่าตัดเข่า/ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเสื่อม รับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน

  • บัตรเครดิตกสิกรไทย นาน 4-6 เดือน (6 เดือน เฉพาะบัตรร่วม BDMS)
  • บัตรเครดิตกรุงเทพ นาน 6 เดือน (บัตรทุกประเภท)
  • บัตรเครดิตกรุงศรี นาน 6-10 เดือน (บัตรทุกประเภท)

 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายขอคำปรึกษากับแพทย์ได้ที่ LINE: @samitivejchinatown หรือ คลิกที่นี่

                             

 สนใจปรึกษา ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช รักษาข้อเข่าเสื่อมกว่า 30 ปี ด้วยประสบการณ์การรักษาผ่าตัดเปลี่ยนเข่ากว่า 10,000 เคส


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม