บทความสุขภาพ

แนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ราคาไม่แพง

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

เมื่ออายุสูงขึ้น ระบบทุกอย่างของร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการตรวจสุขภาพอาจไม่ใช่เพียงแค่การเจาะเลือดเช็คความเข้มของเลือด หรือการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว เมื่อมีอายุมากขึ้นสภาพร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพตามวัย ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่ายขึ้น ทำให้การเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ตามอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยทางร่างกาย และส่งผลต่อเนื่องไปถึงด้านจิตใจ

การตรวจสุขภาพในผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญมาก นอกจากจะประคับประคองสุขภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติแล้วยังช่วยเฝ้าระวังไม่ให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น ควรตรวจสุขภาพประจำปี เผื่อว่าจะตรวจพบความเจ็บป่วยใด ๆ ตั้งแต่เริ่มแรก ช่วยลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุจึงมีหลายประเภท เพราะต้องตรวจอย่างละเอียดนั่นเอง


สารบัญบทความ
 


ทำไมการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องจำเป็น

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของเราก็จะเสื่อมตามธรรมชาติ โดยเฉพาะความเสื่อมจากภายในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรค การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในการวางแผนดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เช่นโรคความจำเสื่อม โรคทางสมองซึ่งมีผลให้มีอาการหลงลืม โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ รวมถึงลดความรุนแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยได้


โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ตรวจร่างกายผู้สูงอายุ

โรคยอดฮิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

 

  • โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตันหรือหลอดเลือดแตก 
  • โรคเบาหวาน โรคยอดนิยม ที่ไม่มีใครอยากเป็น เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ 
  • โรคหัวใจขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตันทำให้เลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจไม่พอ
  • โรคความดันเลือดสูง คนทั่วไปจะมีความดันเลือดไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ที่มีความดันเลือดสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทถือว่าเป็นโรคความดันเลือดสูง
  • โรคข้อเข่าเสื่อม  เกิดจากความเสื่อมของกระดูกบริเวณข้อต่อซึ่งพบมากในผู้สูงอายุหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
  • โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมถอยของโครงสร้างเนื้อเยื่อสมอง มักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม อาการหลงลืมจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

การเตรียมตัวสำหรับตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 10 ชั่วโมง (สามารถจิบน้ำได้)
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่เปลี่ยนง่ายและง่ายต่อการตรวจร่างกาย
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมียาที่รับประทานเป็นประจำ และโรคประจำตัว

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ2566

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุอะไรบ้าง

 

  • ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจความดันโลหิตและตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ และการซักประวัติผู้สูงอายุว่าเคยเป็นโรคหรืออุบัติเหตุเพื่อประเมินความเสี่ยงของร่างกาย
  • ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจเลือดเพื่อหาโรคเบาหวาน ขาดสารอาหาร ขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจาง
  • ตรวจสายตา เพื่อหาโรคต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อมและสายตายาว ที่ส่งผลต่อการมองเห็น
  • ตรวจหู เพื่อดูว่าเกิดอาการหูหนวก หูตึง หรือภาวะประสาทหูเสื่อม
  • ตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจภาวะจิตใจและโรคทางจิตเวชเช่น ซีมเศร้าที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์
  • ตรวจผิวหนัง โรคผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สุงอายุ เช่น มะเร็งผิวหนัง ผิวแห้งและเชื้อราที่ผิวหนังโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน
  • ตรวจช่องปาก การตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับฟันและเหงือก ปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร
  • ตรวจกระดูก เพื่อตรวจหากระดูกพรุน ป้องกันก่อนเกิดการบาดเจ็บจากภาวะกระดูกพรุน
  • ตรวจเต้านม เพื่อหาก้อนมะเร็งในเต้านม
  • ตรวจยาประจำตัว เพื่อหาความเหมาะสมของชนิดยาและปริมาณยาที่รับประทานอยู่
 

ตรวจทางห้องปฏิบัตรการหรือการตรวจแล็บ

การตรวจเลือด หาหมู่เลือด ความเข้มข้นของเลือดและการคัดกรองโรคเบาหวาน

ตรวจปัสสาวะเพื่อคัดกรองการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและเช็กสารโปรตีนในปัสสาวะ
 

ตรวจวินิจฉัยทางรังสี

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) 

การเอกซเรย์ปอด ช่วยตรวจหาวัณโรค โรคปอดเรื้อรังบางชนิดหรือโรคผิดปกติอื่น ๆ ในปอด (เฉพาะคนที่มีความเสี่ยง เช่น คนที่ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรคและมะเร็งปอด)
 

ตรวจร่างกายภายนอก

คือขั้นตอนแรกของการตรวจสุขภาพ แพทย์หรือพยาบาลจะสอบถามอาการผิดปกติทั่วไป ส่วนมากเป็นการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง วัดความดัน ส่องดูความปกติของช่องปาก ลำคอ ฟังการทำงานของปอดและหัวใจเป็นการคัดกรองโรคที่อาจมีโอกาสเป็นเบื้องต้น
 

ตรวจหัวใจ

การตรวจหัวใจ เริ่มจากการตรวจร่างกาย เพื่อดูน้ำหนักส่วนสูง อ้วนหรือไม่ การจับชีพจรอัตราและความสม่ำเสมอการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ต้องเข้าใจว่าคลื่นหัวใจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ 
 

ตรวจสุขภาพอื่น ๆ

การตรวจสุขภาพอื่น ๆ  คือการตรวจร่างกายที่ปกติดี ไม่มีอาการเจ็บป่วย แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติ เพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรคร้าย ในทุกช่วงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี สามารถตรวจได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน การดูแลรักษาสุขภาพเป็นพื้นฐานที่เราทุกคนควรพึงกระทำ ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือวัยใด


ข้อดีของการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ข้อดีของการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ

 

  1. ช่วยให้ทราบสุขภาวะและความสมบูรณ์ของร่างกาย ช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวันได้
  2. ช่วยให้ค้นพบความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถช่วยคนไข้ให้รักษาตัวได้อย่างทันท่วงที
  3. ช่วยติดตามและและประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
  4. ลดความสูญเสียทั้งด้านสุขอนามัยและด้านการเงิน

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ราคาเท่าไร

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุราคา 

ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพผู้สุงอายุ โดยราคาในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุของแต่ละโรงพยาบาลจะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การโปรแกรมที่เลือกในการตรวจว่ามีอะไรบ้าง ราคาการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ประมาณ 4,500-6,500 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลรัฐ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคาค่าตรวจก็ค่อนข้างจะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชนพอสมควร


ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่ไหนดี

สำหรับการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี ควรตรวจกับโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ มีอุปกรณ์ความพร้อมครบครัน ยกตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลสมิติเว

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่ไหนดี

 


เคล็ดลับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

แพคเกจตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

10 วิธีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านให้มีความสุข

ในความเป็นจริงหากดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวด้วยความรักและความเข้าใจก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

 

  1. การกินดีอยู่ดี สุขภาพดีจากภายใน สำคัญมากที่จะต้องเน้นเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย
  2. ความคุมน้ำหนักของผู้สูงอายุอย่าให้น้ำหนักเกิน หากมีน้ำหนักที่มากเกินไปย่อมไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
  3. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จัดเตรียมบ้านให้เหมาะสมมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท
  4. ยืดเส้นยืดสายบ้างให้ร่างกายยืดหยุ่น และทำให้เลือดลมดีขึ้นอีกด้วย
  5. พูดคุยกับผู้สูงอายุและหากิจกรรมทำร่วมกัน
  6. ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอบายมุขที่บั่นทอนสุขภาพ
  7. ดูแลผู้สูงอายุอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่ต้องระวังที่สุดในการดูแลผู้สูงอายุคือการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
  8. สังเกตอาการผิดปกติในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุนั้นเป็นวัยที่เจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
  9. หมั่นดูแลเรื่องสุขอนามัย หมั่นดูแลความสะอาดทุกวันอย่างต่อเนื่อง
  10. นัดพบแพทย์และตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ

สรุปเรื่องตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ

ความจริงแล้วเรื่องการตรวจสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในวัยสูงอายุเพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็จะเสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น อาจเกิดการก่อตัวของโรคต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่นไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 

การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเป็นวิธีการที่ช่วยให้ดูแลสุขภาพและป้องกันตัวเอง อย่างไรก็ตามการตรวจสุขภาพไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น และมีความสำคัญน้อยกว่าการดูแลสุขภาพ ดังนั้นผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพตัวเองทุก ๆ วัน เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ในปริมาณที่พอดี

การตรวจสุขภาพควรหาที่ที่ผู้สุงอายุไม่เกิดความเครียดง่าย ๆ เป็นดั่งเพื่อนบ้านที่รู้จักกันมานานอย่างสมิติเวช ไชน่าทาวน์ CTA สามารถแอดไลน์ เบอร์โทร ได้ที่ช่องทางติดต่อด้านล่างนี้เลย
Line : @samitivejchinatown

Tel: 02-118-7893 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


References 

TIMESOFINDIA.COM. (2021). Planning Preventive Health Checks for Seniors. Retrieved 15 May 2023, from

https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/health-fitness/health-news/planning-preventive-health-checks-for-seniors/articleshow/83779025.cms 

Sumi Varghese. (2021). Why do Senior Citizens Need a Regular Health Checkup. Retrieved 16 May 2023, from

https://healthatmos.com/why-do-senior-citizens-need-a-regular-health-checkup/


 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ