Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

ยา วิตามิน และอาหารเสริมตัวไหน ควร และไม่ควรทานคู่กัน



หลายพันปีก่อน คนนิยมนำสมุนไพรมาใช้ทางยาเพื่อรักษาอาการต่างๆ ในปัจจุบัน การใช้ยาสมุนไพรยังคงเกิดความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยหลายคนมีความเชื่อว่าสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตมาจากสมุนไพรธรรมชาตินั้น มีประสิทธิภาพที่ดีและมีความปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน

แต่ปัญหาที่เกิดจากการใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำพวกนี้มาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ส่งผลเสียต่อตับ รวมถึงเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งบางครั้งก็อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดังนั้น ก่อนที่จะรับประทานยา วิตามิน สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ร่วมกัน จึงควรศึกษาให้ดีก่อน ว่าแต่ละอย่างมีสรรพคุณอย่างไร ถ้ารับประทานร่วมกันแล้วจะก่อให้ประโยชน์หรือโทษอย่างไรบ้าง

 

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหารเสริม ที่ไม่ควรรับประทานร่วมกัน

ยา
ไม่ควรรับประทานกับ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงดังนี้
ยารักษาเบาหวานหรือ อินซูลิน (Insulin) มะระขี้นก ว่านหางจระเข้  โสม แมงลัก พืชตระกูลลูกซัด ผักเชียงดา และ อาหารเสริมที่มีแร่ธาตุโครเมียม (Chromium) จะเสริมการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป อาจเกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ สายตาพร่า เหงื่อออกมาก หิวบ่อย อ่อนเพลีย
ยาลดความดันโลหิต(Nifedipine, Felodipine) และยาลดไขมันในเลือด(Simvastatin, Atorvastatin) น้ำเกรปฟรุต ทำให้ปริมาณยาสูงหลายเท่าในกระแสเลือด อาจส่งผลให้เกิดพิษจากยาได้
ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Aspirin, Warfarin) น้ำมันคานูล่า (canola oil) หรือน้ำมันดอกคำฝอย (safflower oil) น้ำมันปลา (Fish oil) น้ำมันดอกอีฟนิ่ง (Evening primrose oil) ตังกุย (Dong quai), กระเทียม (Garlic), แป๊ะก๊วย (Ginkgo), ขิง (Ginger) เสริมฤทธิ์ของยาทำให้เลือดออกง่ายขึ้น หากทานปริมาณที่มาก (ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ปรุงในอาหารได้ตามปกติ แต่ไม่ควรทานในรูปของอาหารเสริมหรือสารสกัดเข้มข้น)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin) ผักใบเขียว ยอ ชาเขียว ถั่วเหลือง บรอกโคลี และ อาหารเสริมโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ลดฤทธิ์ของยาหรือต้านการออกฤทธิ์ของยาทำให้ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา
ยาปฏิชีวนะกลุ่ม fluoroquinolone เช่น ยา norfloxacin, ciprofloxacin และยาปฏิชีวนะกลุ่ม tetracycline นม โยเกิร์ตหรือยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร และแคลเซียม ยาสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับประจุบวกของธาตุแคลเซียม (ในนมและโยเกิร์ต) และแคลเซียม แมกนีเซียม อลูมิเนียม (ในยาลดกรด) ทำให้ยาดูดซึมได้ลดลง ระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา
 

5 กลุ่ม ยา วิตามินและอาหาร ที่ควรรับประทานร่วมกัน

ส่วนที่ละลายได้ดีในไขมัน ควรรับประทานพร้อมมื้ออาหารที่มีไขมัน และถ้าต้องรับประทานวิตามินในมื้อเดียว ให้เลือกมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวัน หรือรับประทานครึ่งหนึ่งหลังอาหารเช้า ครึ่งหนึ่งหลังอาหารเย็นก็ได้เช่นกัน
 
ยา
ควรรับประทานกับ เพราะ
วิตามินเอ ดี อี หรือเค หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช หรืออาหารเสริมกลุ่มน้ำมันปลา ช่วยให้วิตามินดูดซึมได้ดีในร่างกาย
ธาตุเหล็ก วิตามินซี หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น
แคลเซียม วิตามินดี หรืออาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น เห็ด  นม ปลา ชีส ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมได้ดีขึ้นในลำไส้เล็ก
คอลลาเจนเปปไทด์ ชนิดโมเลกุลเล็ก วิตามินซี ช่วยเสริมการทำงานของกันและกันในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวพรรณ
โคเอนไซม์คิวเท็น หลังอาหารมื้อใหญ่หรือมื้อที่มีไขมันจากสัตว์หรือจากพืช ช่วยให้โคเอนไซม์คิวเท็นดูดซึมได้ดีในร่างกาย
 
ยา วิตามิน สมุนไพร และอาหารเสริมจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรับประทานร่วมกันโดยไม่ได้ระมัดระวังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ โดยไม่รู้ตัว แต่ในปัจจุบันเราสามารถตรวจระดับวิตามินแร่ธาตุในร่างกายได้โดยการเจาะเลือด เพื่อค้นหาวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการจริง นำไปสู่การเลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมในแบบเฉพาะบุคคล โดยเรามีโปรแกรมแนะนำ ดังนี้

 
รายการตรวจ
โปรแกรม
Life Antioxidants
โปรแกรมตรวจหา
สารอนุมูลอิสระ
และสารต้านอนุมูลอิสระ
Life Hormone Male
โปรแกรมตรวจฮอร์โมน
ในร่างกาย (ผู้ชาย)
Life Hormone Female
โปรแกรมตรวจฮอร์โมน
ในร่างกาย (ผู้หญิง)
Nutrient program
โปรแกรมตรวจระดับวิตามินและเกลือแร่
ในร่างกาย
Homocysteine      
C-Reactive Protein      
PAT Test (Plasma Antioxidant Test)      
Free Radical Total - d-ROMS Test      
TSH    
Free T3    
Free T4    
FSH    
LH    
Free Testosterone      
Estradiol      
DHEAS    
Cortisol    
IGF1    
PSA      
Progesterone      
Estradiol (E2)      
Antioxidant,8 lipid and water soluble vitamins      
Selenium in Blood (Mass spectrometry)      
Zinc in Blood (Mass Spectrometry)      
Vitamin D2/D3 (25-OH Vit D2/D3) (LC-MS/MS)      
Chromium in Blood (Mass Spectrometry)      
Copper in Blood (Mass Spectrometry)      
Glutathione (HPLC)      
Calcium      
Magnesium      
Vitamin B12      
Ferritin      
Free Radical Total - d-ROMS  Test      
PAT Test (Plasma Antioxidant Test)      
Folate Serum      
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย
สมุดรายงานผลตรวจสุขภาพ
ราคาปกติ 5,500 15,500 9,900 21,200
ราคาโปรโมชั่น 5,000 14,000 9,500 20,000
ราคาเพื่อนไลน์ ลดเพิ่ม 10% (สูงสุด 2,000 บาท) 4,500 12,600 8,550 18,000
จองผ่านเว็บ
 

เงื่อนไขการรับบริการ
 

  1. ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  2. โปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้ส่วนลด 10% จากเพื่อนไลน์ได้ (สูงสุด 2,000 บาท) และไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้อีก
  3. โปรแกรมดังกล่าว สามารถซื้อและใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2565 เท่านั้น
  4. สามารถใช้บริการได้ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ถ.เยาวราช เท่านั้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม