อาการตาพร่า ตาล้า ภาพซ้อน สายตาสั้นลงเรื่อยๆ หรือค่าสายตาเปลี่ยนจนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆอาจไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรค “ต้อกระจก”
โรคต้อกระตกคืออะไร เกิดจากปัจจัยใดบ้าง โรคต้อกระจกอาการในแต่ละระยะมากน้อยแค่ไหน มีวิธีป้องกัน หรือมีวิธีการรักษาอย่างไร ใบบทความนี้ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับโรคต้อกระจก
สารบัญบทความ
โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นต้อชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับเลนส์ตา (Lens) เกิดจากโครงสร้างโปรตีนในเลนส์ตาเปลี่ยนไป จนทำให้เลนส์ไม่ใสอย่างที่ควรเป็น เลนส์จะมีลักษณะเป็นไตแข็ง สีขุ่น บริเวณที่ขุ่นอาจจะอยู่ตรงกลางเลนส์ หรือบริเวณขอบเลนส์ก็ได้
ต้อกระจกส่งผลกับการมองเห็นได้อย่างไร?
โดยปกติแล้ว เลนส์ตาของเราจะทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกกระทบที่จอประสาทตา (Retina) พอดี จากนั้นตาจะส่งสัญญาณไปที่สมอง เพื่อประมวลผลเป็นภาพออกมา
แต่ถ้าเป็นต้อกระจก เลนส์ตาขุ่น จะทำให้แสงผ่านเข้าไปจนถึงจอประสาทตาที่อยู่ด้านในได้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกมีการมองเห็นที่ลดลง บางครั้งก็ทำให้การตกกระทบของแสงเปลี่ยนไปจนค่าสายตาเปลี่ยน อาจมองไกลไม่ชัด หรือทำให้เกิดภาพซ้อนได้
“ต้อกระจกเกิดจากอะไรกันแน่?” โดยทั่วไปแล้ว ต้อกระจกจะพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะยิ่งอายุมากขึ้น ส่วนต่างๆของร่างกายจะเริ่มเสื่อมไปตามวัยเป็นปกติ หากเลนส์ตาเสื่อมสภาพ จนโครงสร้างทางเคมีของโปรตีนในเลนส์ตาเสื่อม ก็จะเกิดเป็นโรคต้อกระจกขึ้นมานั่นเอง
บางครั้ง สาเหตุต้อกระจกก็เป็นภาวะที่เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ หรือโรคอ้วน
อีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถพบได้ คือการเป็นต้อกระจกโดยกำเนิด (Congenital cataract) อาจจะเกิดจากการเจริญผิดปกติในครรภ์ โรคทางกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากการติดเชื้อบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน หรือไวรัสเริม เป็นต้น
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจก
นอกจากสาเหตุภายในร่างกายแล้ว ต้อกระจกยังเกิดจากพฤติกรรม หรือภาวะอื่นๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
โรคต้อกระจก อาการจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะเริ่มแรก (Early Cataract) ต้อกระจก อาการเริ่มต้นมักจะเริ่มมองภาพไม่ชัด ค่าสายตาเปลี่ยนไป ปรับระยะโฟกัสยากขึ้น จนบางครั้งทำให้ตาล้า ระยะอาการเริ่มต้นนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นต้อกระจก เพราะดวงตาจะเป็นปกติทุกอย่าง ทั้งยังไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกด้วย
2. ระยะก่อนต้อสุก (Immature Cataract) ระยะนี้เลนส์ตาจะเริ่มเป็นสีขาวขุ่น ส่วนใหญ่จะเริ่มขุ่นตรงกลางเลนส์ทำให้มีผลต่อการมองเห็นมากกว่าเดิม ผู้ป่วยจะเห็นภาพเป็นฝ้ามัวๆ คล้ายตามัวเหมือนมีหมอก มองเห็นไม่ชัดในที่สว่าง สายตาสั้นมากขึ้น
3. ระยะต้อสุก (Mature Cataract) คือ เลนส์ตาจะเริ่มขุ่นมากขึ้น จากที่ขุ่นแค่ตรงกลาง จะเริ่มขยายออกรอบๆจนขุ่นทั้งเลนส์ เริ่มมีผลกับการมองเห็นมากขึ้นจนใช้ชีวิตประจำวันได้ยาก เป็นขั้นที่ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างยิ่ง เนื่องจากยังอยู่ในระยะที่ผ่าตัดต้อกระจกได้ง่าย
4. ระยะต้อสุกเกิน หรือสุกงอม (Hypermature Cataract) คือ เลนส์ตาขุ่นมากที่สุด เริ่มเป็นก้อนแข็ง ภาพมัวจนมีผลต่อการมองเห็น และการใช้ชีวิตอย่างมาก เป็นระยะที่รักษาได้ยากกว่าระยะต้อสุก และถ้าทิ้งไว้อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างการอักเสบในดวงตา เลนส์บวมจนเป็นต้อหิน หรือโปรตีนรั่วออกจากแก้วตา เกิดความผิดปกติจนสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
ก่อนที่จะให้แพทย์วินิจฉัย คนไข้สามารถสังเกตและประเมินตัวเองเบื้องต้นได้โดยการสังเกตตนเอง หรือให้คนในครอบครัวช่วยสังเกตว่ามีอาการของโรคต้อกระจกหรือไม่ ภาพมัว ค่าสายตาเปลี่ยนบ่อย ตาเริ่มมีสีขาวขุ่นโดยที่ไม่เจ็บปวดใดๆเลยหรือไม่
หากมีอาการเหล่านี้หรือสงสัยว่ามีอาการคล้ายกับโรคต้อกระจกก็ควรเข้าพบจักษุแพทย์ ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเป็นปัญหากับการใช้ชีวิต เพราะถ้ามาพบแพทย์เร็วจะสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกสุกได้ หรือถ้าต้อสุกแล้ว เจอในระยะที่เพิ่งเริ่มสุก ก็จะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า
ส่วนการตรวจวินิจฉันโดยแพทย์นั้น แพทย์จะซักประวัติและตรวจทดสอบดวงตาหลายอย่าง เช่น วัดค่าสายตา ทดสอบการมองเห็น ทดสอบปฏิกิริยาต่อแสง วัดความดันลูกตา ดูการขยายของรูม่านตา
แพทย์จะตรวจให้แน่ใจว่าคนไข้เป็นต้อกระจกจริงหรือไม่ หรือเป็นโรคอื่นๆที่ทำให้เกิดอาการตาพร่าได้เช่นเดียวกับโรคต้อกระจก เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดต่อไป
มาถึงจุดนี้ หลายๆคนคงสงสัย “หากเป็นต้อกระจกรักษาอย่างไรได้บ้าง?” ต้องบอกก่อนว่า ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัดเลย เพราะยังไม่มียาหยอดตา หรือยารักษาต้อกระจกรูปแบบอื่น ในช่วงแรกจะทำได้เพียงรักษาไปตามอาการ และหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคเพื่อไม่ให้อาการหนักขึ้นเท่านั้น
หากอาการแย่ลง ต้อกระจกอยู่ในระยะต้อสุก มีผลต่อการมองเห็นมาก ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ต้อกระจก อาการเริ่มต้น คือ การมองเห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน มองไกลไม่ชัด และไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนในที่ที่มีแสงสว่างมาก ในระยะนี้ยังไม่มีการรักษาที่ต้นเหตุ แพทย์จะแนะนำให้ตัดแว่นเพื่อปรับค่าสายตา หรือใช้เลนส์ตัดแสง เพื่อรักษาไปตามอาการก่อน
การมองเห็นภาพไม่ชัด ไม่ได้มีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก อาการจะเหมือนผู้ที่สายตาสั้นตามปกติ ตราบใดที่อาการไม่แย่ลงมาก สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา
แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจกก็ต่อเมื่อคนไข้มองเห็นภาพไม่ชัด จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ หรือต้อกระจกเริ่มเป็นก้อนแข็ง เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ โดยการผ่าต้อกระจกมีทั้งหมด 2 วิธี ต่างกันตามวิธีนำเลนส์ตาเดิมออก คือ
1. การผ่าตัดแบบแผลเปิดกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction)
เป็นการผ่าตัดโดยการเปิดปากแผลที่ดวงตา ขนาด 6 - 10 มิลลิเมตร แล้วนำเลนส์ส่วนที่แข็งออกมา จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องมือดูดเนื้อเลนส์ตาที่เหลือออก ก่อนใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป วิธีนี้เป็นการรักษาแบบเก่าที่ได้ผลดี ใช้รักษาต้อกระจกระยะสุกหรือสุกเกิน แต่มีข้อเสียคือแผลค่อนข้างกว้าง ใช้เวลาผ่าตัดและพักฟื้นนาน
2. การผ่าตัดด้วยการสลายต้อกระจก (Phacoemulsification)
เป็นการรักษาต้อกระจกโดยใช้เครื่องมือเข้าไปสลายต้อที่เลนส์ตา ด้วยคลื่นเสียงอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) แพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 30 - 60 นาที
การผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีนี้จะไม่ทิ้งรอย ไม่ต้องตัดไหม สามารถกลับบ้านได้เลยหลังผ่าตัด พักฟื้นเพียง 1 อาทิตย์ ก็สามารถใช้ชีวิตได้เกือบปกติ
ข้อดีอีกอย่างของการผ่าตัดต้อกระจกแบบนี้ คือเลนส์เทียมที่ใส่เข้าไปแทนเลนส์ตาเดิม เป็นเลนส์แบบพับที่สามารถแก้ไขค่าสายตายาวและเอียงได้ สามารถเลือกระยะเลนส์ให้เหมาะกับการใช้งานได้ เป็นการแก้ไขค่าสายตาพร้อมกับการรักษาต้อกระจกในคราวเดียว
แต่การผ่าตัดต้อกระจกด้วยการสลายต้อ สามารถรักษาได้แค่ต้อกระจกในระยะแรกๆเท่านั้น หากเป็นหนัก ต้อสุกมาก หรือแข็งเกินไป คลื่นเสียงจะไม่สามารถสลายต้อได้หมด ทำให้รักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล ไม่ว่าจะต้องผ่าตัดด้วยวิธีใดก็ตาม ก่อนการผ่าตัดแพทย์จะมีการประเมินดวงตาในหลายๆด้านก่อน เพื่อการผ่าตัดรักษาที่แม่นยำ สามารถแก้ไขต้อกระจกได้จริง ในขณะผ่าตัดแพทย์จะใช้ยาชา และใช้ร่วมกับยาสลบในบางกรณี การผ่าตัดต้อกระจกจึงไม่เจ็บและไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เลนส์เทียมที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยการสลายต้อ เป็นเลนส์พับที่สามารถแก้ไขค่าสายตายาว และสายตาเอียงได้ โดยไม่ต้องทำเลสิค
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีเลนส์เทียมหลายแบบให้เลือกเปลี่ยนตามค่าสายตา และการใช้งานของผู้เข้ารับการรักษาแต่ละคน ทั้งเลนส์ปรับค่าสายตาธรรมดา เลนส์ปรับค่าสายตาเอียง เลนส์หนึ่งระยะ สองระยะ หรือแม้กระทั่งเลนส์หลายระยะก็มีให้เลือกเช่นกัน
โดยราคาของเลนส์เทียมแต่ละชนิด สามารถดูได้จากในบทความนี้ : ผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีการสมัยใหม่ที่ได้ผลลัพธ์อย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละคนจะเหมาะกับเลนส์แบบไหน ก็ขึ้นกับค่าสายตาก่อนทำ การใช้งานระยะสายตา และงบที่มีในการรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดให้กับผู้เข้ารับการรักษาเอง
อย่างที่ทราบกันว่าโรคต้อกระจกยังไม่มียารักษา ทางรักษาเดียวคือการผ่าตัดเท่านั้น หากไม่อยากผ่าตัด ก็ควรป้องกันไม่ให้เกิดต้อกระจกด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
ตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง หากเสียไปแล้วก็ยากที่จะรักษาให้กับมาปกติดังเดิม ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาก็ควรพบแพทย์ ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งหายได้เร็ว และถ้าตัดสินใจจะพบแพทย์แล้ว ก็ควรเลือกโรงพยาบาลที่ดีที่สุด และสบายใจจะพบแพทย์มากที่สุด
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราดูแลคนไข้เหมือนเป็นเพื่อนบ้านของเรา ทำให้การหาหมอพบแพทย์เป็นเรื่องปกติ อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังมีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลายท่าน สภาพแวดล้อมดี สะอาด ปลอดภัย เครื่องมือได้มาตรฐาน พร้อมเทคโนโลยีการรักษาได้คุณภาพ
ต้อกระจกไม่ใช่โรคที่อันตราย สามารถรักษาได้ อาการในระยะแรกแค่สร้างความรำคาญให้เท่านั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่นเหมือนสายตาสั้นหรือยาวตามปกติ ถ้าต้อสุกมากขึ้นก็รักษาได้ด้วยการผ่าตัด
ต้อกระจกจะอันตรายก็ต่อเมื่อทิ้งไว้นานจนเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจะทำให้ติดเชื้อ เกิดเป็นต้อหิน หรือทำให้ตาบอดได้
ยาหยอดตาต้อกระจก ยังไม่มีใช้รักษากันในปัจจุบัน การรักษาต้อกระจกทำได้เพียงปรับแว่นตามค่าสายตา และผ่าตัดต้อกระจกออกเมื่ออาการหนักขึ้นเท่านั้น
ต้อกระจกนั่นไม่สามารถหายเองได้ ไม่สามารถรักษาโดยปล่อยต้อกระจกให้สลายไปเองได้ เพราะปัจจุบันการรักษาอาการจะหายไปได้ ด้วยการผ่าตัดต้อกระจกเพียงเท่านั้น
การรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัด สามารถทำได้ในระยะแรก ถ้าดูแลตัวเองดี อาการไม่ลุกลามมากจนเป็นปัญหากับการใช้ชีวิต ก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องผ่า แต่ถ้าเป็นเยอะจนมีปัญหากับการมองเห็นก็ควรผ่าต้อกระจกเพื่อให้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต
ต้อกระจกส่วนใหญ่เกิดจากอายุที่มากขึ้นทำให้เลนส์ตาเสื่อมสภาพ อาการของโรคทำให้ผู้ป่วยมองภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน สามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่นตามค่าสายตา แต่ถ้าอาการหนักขึ้น การมองเห็นน้อยลง สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดต้อกระจก
หากรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ผู้เข้ารับการรักษาสามารถเลือกเลนส์ เพื่อแก้ไขปัญหาสายตายาว และสายตาเอียงพร้อมกับการผ่าตัดต้อกระจกได้ในครั้งเดียว อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลคุณตลอดกระบวนการรักษา ให้คุณอุ่นใจได้เหมือนมีคุณหมอเป็นเพื่อนบ้าน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อที่ Line: @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง