Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

วิธีคํานวณค่า BMI สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย บอกอะไรได้บ้าง

คำนวณค่า BMI

“การคำนวณค่า BMI” เป็นวิธีการประเมินลักษณะร่างกายของมนุษย์ในยุคปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยทุกสถาบันการรักษา ความงาม หรือฟิตเนส และสถาบันอื่น ๆ ต่างใช้สูตรคำนวณ BMI เพื่อหาค่าดัชนีมวลกายของผู้ใช้บริการ มาเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจต่อไป 

ดังนั้น ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจเรื่องการคำนวณค่า BMI ที่ดูเป็นการคาดคะเนผลลัพธ์ BMI ที่ดูซับซ้อน ให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย และคุณสามารถนำตัวคำนวณ BMI สูตรนี้ ไปใช้งานได้จริง ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันได้ในบทความนี้
 
สารบัญบทความ

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) เป็นข้อมูลดัชนีทางคณิตศาตร์ ที่ใช้การวัดจากน้ำหนัก (Weight) และส่วนสูง (Height) มาคำนวณค่า BMIเพื่อหาค่าผลลัพธ์ของปริมาณไขมันทั้งหมด เมื่อหาคำนวณมวลร่างกายเรียบร้อย ทางแพทย์จะนำคำตอบนี้ในการประเมินสภาวะลักษณะร่างกายของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน ว่าเกณฑ์น้ำหนักของคุณถูกประเมินอยู่ในระยะร่างกายรูปแบบไหน

สูตรคำนวณค่า BMI

คํานวณดัชนีมวลกาย

วิธีคำนวณ BMI ในการหาค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง
 
ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิง น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร 
 
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ (1.60 * 1.60)
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ 2.56 
ดัชนีมวลกาย (BMI) = 19.5 
 
เมื่อได้คำตอบค่าคำนวณดัชนีมวลกายแล้ว ให้นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบตารางเกณฑ์ BMI ตามเพศสภาพของตัวเอง
 

ตารางเปรียบเทียบค่า BMI
 

การแปรผล
ผลคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) ภาวะโรคแทรกซ้อน
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้อยกว่า 18.5 ลงไป มีความเสี่ยงเกิดโรคขาดสารอาหาร
น้ำหนักสมส่วน 18.5 - 22.9 โอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อน น้อยที่สุด
น้ำหนักเกินมาตรฐาน 23.0 - 24.9 ภาวะน้ำหนักเกินระยะเริ่มต้น เริ่มมีโรคแทรกซ้อนเล็กน้อย
อ้วน 25.0 - 29.9 ภาวะน้ำหนักเกินมาก มีโรคแทรกซ้อนในระยะอ้วนเริ่มต้น
อ้วนมาก มากกว่า 30.0 ขึ้นไป ภาวะน้ำหนักเกินมากที่สุดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง โรคอ้วน


ระดับ < 18.5 สภาวะ “น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์”


บุคคลที่มีค่า BMI ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงสูงที่ร่างกายขาดสารอาหารในการหล่อเลี้ยงภายในร่างกายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันพกบร่อง การออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนสูง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสารอาหารมากพอไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างเพียงพอ
 

ระดับ 18.5 - 22.9 สภาวะ “น้ำหนักสมส่วน”


บุคคลที่ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักตามมาตรฐาน เป็นกลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนได้น้อยที่สุด ควรรักษาความสุมดลของค่า BMI ระดับนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็คการคำนวณค่า BMI จากการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นผลชี้วัดในการตรวจเช็คมวลร่างกายอยู่เสมอ
 

ระดับ 23.0 - 24.9 สภาวะ “น้ำหนักเกินมาตรฐาน”

 
บุคคลที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับเกินตามมาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้ ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเอง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอตลอดกิจวัตรประจำวัน เพื่อลดระดับไขมันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 

ระดับ 25.0 - 29.9 สภาวะ “อ้วน”

 
บุคคลที่คํานวณค่า BMI แล้วอยู่ในเกณฑ์ระดับเกินตามมาตรฐานมาก มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูง ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเองแบบเร่งด่วน ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการกินที่เน้นสุขภาพให้มากขึ้น พร้อมออกกำลังกาย และงดทานของจุบจิบในยามท้องว่าง แล้วดื่มน้ำอย่างต่ำ 8 แก้วต่อวัน พร้อมกับพักผ่อนให้เพียงพอ และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนัก
 

ระดับ 30.0 > สภาวะ “อ้วนมาก”

 
บุคคลที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงเกินตามมาตรฐานมาก มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูงที่สุด ควรทำการนัดพบแพทย์เพื่อรับยาในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานให้เป็นอาหารสุขภาพ งดทานอาหารที่เพิ่มมวลไขมันแก่ร่างกาย และหมั่นออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ แล้วดื่มน้ำอย่างต่ำ 10-12 แก้วต่อวัน และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนัก
 

ข้อจำกัดของค่า BMI

เนื่องจากการคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณไขมันในมวลร่างกายของผู้ใช้บริการนั้นมีข้อจำกัดทางด้านเพศ อายุ รวมถึงปริมาณกล้ามเนื้อของบุคคลบางกลุ่ม ที่ทำให้ผลการคำนวณค่า BMI มีผลที่แตกต่างออกไป ดังต่อไปนี้
 
  1. การคำนวณ BMI ผู้หญิง มีแนวโน้มที่ปริมาณไขมันในร่างกายสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงช่วยเร่งสารอาหารให้เป็นไขมันได้ง่ายกว่าผู้ชาย ซึ่งทำให้การคำนวณดัชนีมวลกายผู้ชายในการตรวจดูไขมัน พบแค่ 15% ในขณะผู้หญิงพบถึง 25% ของมวลไขมันทั้งหมด
  2. ผู้ที่อายุมากกว่า มีโอกาสสูงที่ปริมาณไขมันสะสมมากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า
  3. นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนร่างกายทางกายภาพสูง จะมีผลการคำนวณค่า BMI ที่มีมวลกล้ามเนื้อสูงกว่าปริมาณไขมันในองค์ประกอบร่างกายมากกว่าคนทั่วไป

ความเสื่ยงเมื่อมีค่า BMI สูงเกินไป

คํานวณ BMI สูตร

โดยทั่วไป ความเสี่ยงของค่าเฉลี่ยจากการคำนวณค่า BMI ที่สูงเกินไป มีปัจจัยการเกิดปัญหาโรคอ้วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ

วิธีควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

1. การออกกำลังกาย


สูตรคํานวณ BMI

การออกกำลังกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านกายภาพของผู้ป่วยให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยทำให้สภาพจิตใจเบิกบานแจ่มใส ลดความเครียด อีกทั้งระบบภายในร่างกายสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยชะลออายุอวัยวะภายในให้มีการใช้งานที่ยืนยาว และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันจากโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนอีกด้วย

เมื่อผู้ป่วยออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน จะช่วยทำให้สรีระร่างกายที่เคยอ้วนท้วม กลับมามีรูปร่างที่สมส่วน กระชับ และเปลี่ยนปริมาณไขมันบางส่วนให้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง การคำนวณค่า BMI ที่มีค่าเฉลี่ยตัวเลขสูงก็จะลดลงตามความถี่ของผู้ป่วย มีวินัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  
 

2. การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ


วิธีคํานวณ BMI

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเกณฑ์การคำนวณค่า BMI ที่อยู่สูงกว่าระดับมาตรฐาน การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำแต่ให้พลังงานสูง จะช่วยทำให้อิ่มท้อง และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ในการหล่อเลี้ยงไปตามส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะภายในของร่างกาย และลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนอีกเช่นกัน

ยกตัวอย่างสารอาหารที่เป็นโปรตีนอย่าง เนื้อปลา อกไก่ และถั่วตระกูลอัลมอนต์ ที่ให้คุณค่าทางสารอาหารแก่ร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงวัตถุดิบอย่าง น้ำมัน แป้ง ในการมาเป็นส่วนประกอบอาหารที่เพิ่มปริมาณไขมันในร่างกาย
 

3. พักผ่อนให้เพียงพอ


เครื่องคํานวณ BMI

การพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างดี เนื่องจากช่วงเวลาพักผ่อน อวัยวะภายในจะทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ที่ได้รับภาระการทำกิจกรรมหนัก ๆ มาทั้งวัน ทำให้เป็นวิธีฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรง และฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้มีสุขภาพจิตที่แจ่มใส พร้อมใช้ชีวิตวันรุ่งขึ้นได้ต่อไป
 

4. ปากกาลดน้ำหนัก


ปากกาลดน้ำหนัก เป็นอีกตัวเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะการคำนวณค่า BMI ที่สูงกว่าน้ำหนักมาตรฐาน เนื่องจากปากกาลดน้ำหนักนี้ มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงจากฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ในร่างกาย ที่ยับยั้งความอยากอาหารที่ส่งไปทางสมอง มีความหิวที่น้อยลง พร้อมลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้ปริมาณอาหารในกระเพาะอยู่นานมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกอิ่มท้องและทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งตัวฤทธิ์ของยาช่วยกระตุ้นฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ในการปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดเพื่อลดความดันโลหิตในการสร้างผลกระทบอวัยวะส่วนอื่น ๆ อีกด้วย
 

ปากกาลดน้ำหนัก คืออะไร

ปากกาลดน้ำหนัก คือ แท่งปากกาที่ภายในบรรจุยาสำหรับฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (สามารถฉีดยาเองที่บ้านได้) ซึ่งเป็นตัวยา Liraglutide (ลิรากลูไทด์) โดยสารชนิดนี้เป็นเปปไทด์โปรตีนที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งมีอยู่แล้วในร่างกายที่จะหลั่งออกมาจากลำไส้หลังรับประทานอาหารเสร็จ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มนาน หิวน้อยลง กินน้อยลง ลดการกินจุกจิกระหว่างวัน ลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินบริเวณตับอ่อนและกล้ามเนื้อ

โดยปากกาลดน้ำหนักได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีความปลอดภัย และช่วยในการควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัยและได้ผลเมื่ออยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปากกาลดน้ำหนักจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบยั่งยืนอย่างปลอดภัย รวมไปถึงระดับไขมันทั่วร่างกายยังลดลงอีกด้วย ทั้งนี้การรักษาด้วยปากกาลดน้ำหนักจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้ประสิทธิภาพของการรักษาดียิ่งขึ้น
 

ปากกาลดน้ำหนัก เหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน
  2. ผู้มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากน้ำหนักเกินมาตรฐาน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
  3. ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแต่ไม่อยากผ่าตัด
  4. ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
 

ผลลัพธ์หลังการใช้ปากกาลดน้ำหนัก

หลังการใช้ยาในช่วงวันแรก ๆ คุณจะเริ่มรู้สึกอยากอาหารน้อยลง อิ่มไวและอิ่มนานขึ้น เมื่อคุมหิวได้นานขึ้นก็จะส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง และมีผลให้น้ำหนักลดลงตามด้วย
 
โปรแกรม
ราคา (บาท) ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง
1. ปากกาลดน้ำหนัก 3 ด้าม พร้อมปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง 1 ครั้ง 11,500 พญ.อิสรีย์ หาญอุทัยรัศมี
ออกตรวจทุกวันพุธ
เวลา 16.00-18.00 น.
2. ปากกาลดน้ำหนัก 5 ด้าม พร้อมปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง 1 ครั้ง 18,500

พญ.สุขุมาลย์ สว่างวารี

ออกตรวจทุกวันจันทร์
เวลา 09.00-15.00 น.

ต้องการนัดหมายปรึกษาแพทย์ โทร 02-1187922


เงื่อนไขการรับบริการ
  1. ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์ปรึกษาในครั้งแรก และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว/li>
  2. ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับคำปรึกษา
  3. ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าแพทย์ติดตามอาการ
  4. โปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดจากไลน์ หรือส่วนลดอื่นๆ ได้อีก
  5. โปรแกรมดังกล่าว สามารถซื้อและใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้น
  6. สามารถใช้บริการได้ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ถ.เยาวราช เท่านั้น
  7. ราคาดังกล่าวเฉพาะคนไทย และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
 
โปรแกรม
ราคา (บาท) ช่องทางการจอง
1. โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนใช้ปากกาลดน้ำหนัก (รายละเอียด คลิก) 2,800 จองผ่านเว็บ

เงื่อนไขการรับบริการ
  1. ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  2. โปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดจากไลน์ หรือส่วนลดอื่นๆ ได้อีก
  3. โปรแกรมดังกล่าว สามารถซื้อและใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้น
  4. สามารถใช้บริการได้ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ถ.เยาวราช เท่านั้น
  5. ราคาดังกล่าวเฉพาะคนไทย และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น

ข้อสรุป

การคำนวณค่า BMI เป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจดูดัชนีมวลกายทั้งหมดของผู้ป่วย เพื่อให้ทางแพทย์วินิจฉัยสภาพปริมาณไขมันสะสมในร่างกายปัจจุบันและโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนมากน้อยแค่ไหน หากผู้สนใจที่ต้องการตรวจหาค่า BMI มวลร่างกายของตัวเอง ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมอุปกรณ์เครื่องคํานวณ BMI ที่ทันสมัย สามารถวัดผลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เสียเวลา โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม