บทความสุขภาพ

ข้อเท้าแพลง ทำอย่างไรดี (Ankle Sprain)

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



เนื่องจากปัจจุบันการวิ่งออกกำลังกายเป็นที่นิยมมากขึ้น อุบัติเหตุขณะวิ่งที่เราพบบ่อยๆ ก็คงหนีไม่พ้น “โรคข้อเท้าแพลง (ankle sprain)” กันใช่ไหมครับ เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยประสบกับโรคนี้มาแล้วบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้นครับ

โรคข้อเท้าแพลง (ankle sprain) มีโอกาสเกิดขึ้นในคนที่มีภาวะอุ้งเท้าสูง (Pes cavus) มากกว่า คนที่มีภาวะอุ้งเท้าแบน นอกจากนี้พื้นผิวที่เราวิ่ง ความลื่น และรองเท้าที่ใส่ก็มีส่วนในการเพิ่มความเสี่ยงเช่นเดียวกัน โดยอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยคือ ข้อเท้าบิดเข้าใน (inversion)
 

 


ซึ่งจะทำให้เอ็นของข้อเท้าด้านนอกฉีกขาด หรือมีกระดูกแตกหักได้ครับ อาการที่พบบ่อย คือ มีอาการบวม เขียวม่วงช้ำที่ผิวหนังซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อจำง่าย คือ RICE ครับ
R est พักการใช้งาน งดลงน้ำหนักเท้าข้างที่บาดเจ็บ
I ce ประคบเย็นไม่ว่าจะเป็นน้ำแข็งห่อหรือเจลเก็บความเย็นก็ได้
C ompression ถ้ามีผ้ายืดสามารถนำมาพันจากปลายเท้าขึ้นสู่ข้อเท้าได้
E levation ยกเท้าสูงกว่าเข่าเพื่อลดการบวม
หากยังมีอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อเท้า ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรค และทำการรักษา รวมถึงทำกายภาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำครับ
นอกนี้จากกลไกการบาดเจ็บนี้ยังสามารถพบร่วมกับการบาดเจ็บอื่นๆ ได้เช่น ข้อเท้าแพลงแบบเอ็นระหว่างกระดูกขาช่วงล่างฉีกขาด(high ankle sprain or syndesmotic injury), กระดูกเท้านิ้วเท้าหักโดยเฉพาะฐานกระดูกนิ้วที่ 5 ซึ่งแต่ละโรคมีวิธีการรักษาแตกต่างกัน จึงแนะนำให้ท่านมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูกและข้อครับ

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ