Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

รู้จักโรคข้ออักเสบรู้มาตอยด์ สาเหตุ อาการ วิธีรักษา แนวทางการดูแล

โรครูมาตอยด์ ข้ออักเสบ อันตรายไหม

อาการปวดข้อตามบริเวณต่างๆ อาทิ ปวดข้อมือ ปวดข้อเท้า ข้อนิ้วมือ และข้อเท้า อาจจะไม่ใช่การปวดข้อธรรมดาอีกต่อไป แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงเป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบ หรือ โรคที่เรียกว่า “โรครูมาตอยด์” ซึ่งสามารถเกิดได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยสูงอายุ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ และอาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้พิการได้ 

บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์คืออะไร ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร โรครูมาตอยด์อันตรายไหม อาการเริ่มต้นของโรครูมาตอยด์มีอะไรบ้าง สามารถเกิดกับคนในวัยไหนได้บ้าง วิธีรักษาเพื่อยับยั้งความรุนแรงของโรครูมาตอยด์ต้องทำอย่างไร รวมถึงแนวทางการป้องกันที่จะช่วยไม่ให้เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์สามารถหาคำตอบได้ที่บทความนี้
 


สารบัญบทความ

 


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คือโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบตามข้อต่างๆ บนร่างกาย อาทิ ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อเท้า เป็นต้น ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดี ทำให้เมื่อระบบภูคุ้มกันเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกายจะได้รับผลกระทบมาก 

นอกจากนี้โรคข้อสักเสบรูมาตอยด์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกายเท่านั้น ยังมีส่วนอื่นของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากโรครูมาตอยด์ เช่น ตา กล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท 

ถึงแม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบเรื้อรังแต่ยังมีโรคข้ออักเสบแบบอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกับโรครูมาตอยด์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าจริงๆ แล้วอาการที่กำลังเผชิญอยู่ใช่โรครูมาตอยด์หรือไม่ ทางที่ดีผู้ป่วยควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคจากแพทย์ เนื่องจากการรักษาโรครูมาตอยด์กับโรคข้ออักเสบเรื้อรังแตกต่างกัน
 


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากสาเหตุใด

แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสาเหตุของโรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่าโรครูมาตอยด์มีสาเหตุมาจากระบบภูคุ้มกันในร่างกายทำลายตัวเอง โดยจะทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium) จนทำให้เกิดการอักเสบและบวมตามข้อ ส่งผลให้กระดูกอ่อนและกระดูกตามบริเวณข้อต่อ รวมไปถึงเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก เปราะบางลงและยืดขยายออก ทำให้ข้อต่อมีรูปร่างผิดปกติ และบิดเบี้ยว นอกจากอาการทางข้อแล้ว รูมาตอยด์ยังมีอาการที่บริเวณอื่น ๆ เช่น ข้อมือ หัวไหล่ เข่า เป็นต้น
 

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ดังนี้
 

  • อายุ โรครูมาตอยด์สามารถเกิดได้กับทุกวัย สามารถพบได้ทั้งในวัยหนุ่มสาว และวัยสูงอายุ ซึ่งมักพบผู้ป่วยในช่วงอายุ 40 - 60 ปี 
  • เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มการเป็นโรครูมาตอยด์สูงกว่าผู้ชายมากถึง 3 เท่า
  • พันธุกรรม หากพ่อแม่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะส่งผลให้ลูกมีความเสี่ยงเป็นโรครูมาตอยด์ สูงกว่าคนทั่วไป 
  • ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่จะเป็นโรครูมาตอยด์มากกว่าคนทั่วไป 
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับสารเคมีบางอย่าง สามารถทำให้เป็นโรครูมาตอยด์ได้ เช่น ใยหิน และซิลิกา
  • การสูบบุหรี่ นอกจจากจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรครูมาตอยด์แล้ว การสูบบุหรี่ยังสามารถเพิ่มความรุนแรงของโรคให้ร้ายแรงกว่าเดิมได้ด้วย 
     

อาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการรูมาตอยด์

อาการของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะแรกหรือเริ่มต้นจะมีอาการข้ออักเสบ (Arthritis) โดยบริเวณที่อักเสบมักจะเป็นข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วเท้า ข้อโคนนิ้วมือ และข้อกลางนิ้วมือ ซึ่งจะมีอาการปวด บวม แดง รู้สึกเจ็บข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเมื่อกดและรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัสบริเวณนั้น

แม้ว่าจะเป็นโรคที่มักเกิดการอักเสบหลายข้อพร้อมกันและเป็นแบบสมมาตร (Symmetrical Polyarthritis) แต่ในระยะแรกอาจจะมีอาการอักเสบเพียงข้อเดียวและไม่สมมาตร โดยอาการของโรครูมาตอยด์นั้น มีดังนี้
 

  • อาการของโรครูมาตอยด์มักจะมีอาการปวดแตกต่างจากการปวดแบบมีการใช้งานข้อหนัก ๆ จึงทำให้รู้สึกปวดที่ข้อ แต่อาการปวดของโรครูมาตอยด์จะปวดเมื่อไม่ได้มีการใช้งานข้อหนักแต่อย่างใด โดยจะปวดในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน หรือปวดเมื่อมีการหยุดใช้งานข้อเป็นระยะเวลานาน โดยจะมีอาการข้อฝืดตึง (Joint Stiffness) และปวดนานเกิน 1 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์จะมีอาการอักเสบและบมบริเวณข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วเท้า หัวไหล่ เข่า และอื่น ๆ ทั้งนี้อาจมีการอักเสบบริเวณดังกล่าวพร้อมทั้งมีเลือดซึมอยู่ด้วย
  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มานาน หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจจะเกิดการทำลายข้อจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อรอบข้อหย่อนยานและอ่อนแรง ทำให้กลายเป็นข้อพิการผิดรูปในที่สุด 
  • ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ระยะสุดท้าย อาจเกิดการอักเสบต่อข้อต่ออย่างรุนแรง หรือมีการปวดข้อต่อหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน 
  • สำหรับข้อพิการผิดรูปมักเกิดบริเวณนิ้วมือและข้อมือ และอาการโรครูมาตอยด์อาจจะไปคล้ายกับอาการโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อเข่า ทางที่ดีควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและวินิจฉัยโรค
  • อาการอื่น ๆ ที่พบได้นอกเหนือจากการอักเสบบริเวณข้อต่อ ได้แก่ ตาแห้ง เยื่อบุตาขาวอักเสบ และตาขาวอักเสบที่รุนแรงทำให้ทะลุได้, หลอดเลือดอักเสบ, ภาวะกระดูกพรุน และ เกล็ดเลือดสูง ภาวะม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต และเม็ดเลือดขาวต่ำ (Felty’s Syndrome)  เป็นต้น

ดังนั้นหากคุณพบว่าตนเองมีอาการปวดข้อแบบไม่หายสักที ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลาม ถึงแม้ว่าอาการของโรครูมาตอยด์นั้นจะไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่การรีบเข้ารักษาจะเป็นผลดีกว่าการปล่อยให้อาการนั้นรุนแรงมากกว่าเดิม และยากที่จะรักษาได้
 

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดร่วม

นอกจากการอักเสบบริเวณข้อต่อภายในร่างกายแล้ว 40% ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังพบอาการผิดปกติอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ ดังนี้

 

  • ตาแห้ง เยื่อบุตาขาวอักเสบ และตาขาวอักเสบที่รุนแรงทำให้ทะลุได้
  • เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ปอดอักเสบ และเป็นพังผืดที่ปอด 
  • พบภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
  • เกล็ดเลือดสูง ภาวะม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต และเม็ดเลือดขาวต่ำ (Felty’s Syndrome) 
  • หลอดเลือดอักเสบ
  • ภาวะกระดูกพรุน
  • ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules) เป็นปุ่มเนื้อนิ่มๆ ที่มักเกิดบริเวณข้อต่อที่มีการเสียดสีบ่อยๆ 
     

โรคที่อาการคล้ายรูมาตอยด์

พบว่ามีโรคอื่น ๆ ที่อาการคล้ายกับรูมาตอยด์ ที่มีการอักเสบเรื้อรัง ได้แก่
 

  1. โรคข้ออักเสบแบบเฉัยบพลันแบบข้อเดียว เป็นการอักเสบของข้อต่อเพียงข้อเดียว  ซึ่งอาจเกิดจากโรคเก๊าท์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ ข้ออักเสบจากการใช้งาน เอ็นข้อมืออักเสบ ผิวหนังอักเสบที่อยู่ติดข้อได้ การบาดเจ็บหรือสาเหตุอื่น ๆ
  2. ข้ออักเสบชนิดหลายข้อถ้ามีอาการชนิดเฉียบพลัน โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ และแบคทีเรียบางชนิด
  3. โรคเอ็นสะบ้าอักเสบ (Patellar tendinitis) โดยมีอากรเจ็บปวดบริเวณรอบๆ กระดูกสะบ้า ในรายที่เป็นมากจะเจ็บอยู่ตลอดเวลา หรือบางรายจะมีอาการก็ต่อเมื่อ วิ่ง กระโดด เป็นต้น โดยส่วนมากจะพบในนักกีฬากระโดสูง นักบาสเกตบอล  นักวอลเล่ย์บอล
  4. โรคเก๊าท์ โดยมีอาการปวดเฉียบพลัน ในช่วงแรก ๆ จะมีการอักเสบที่ข้อเพียงข้อเดียว ได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า แต่หากหยุดการใช้งานข้อที่อักเสบจะหายเองได้ 
  5. โรคซิวิตต์ (Spondyloarthritis) โดยจะมีอาการฝืดขัดตึงบริเวณหลังประมาณ 15-30 นาที บางครั้งอาจมีปวดข้อเข่า ข้อเข่าบวมข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดข้อเท้า ข้อเท้าบวม หรือปวดบริเวณแก้มก้นข้างใดข้างหนึ่ง มีปวดข้อสะโพก มีเอ็นอักเสบบริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้าแบบเป็น ๆ หาย ๆ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน และโรคนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเป็นพิเศษ
  6. โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน อาการของโรคสามารถเกิดขึเนได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น อาการปวดเท้า ปวดหลัง นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินอาจมีอาการปวดเท้าโดยเฉพาะที่บริเวณส้นเท้าด้านหลังหรือฝ่าเท้า
  7. โรคหลอดเลือดอักเสบ (Vasculitis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือด ได้แก่ หลอดแดง หลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอย ซึ่งอาการจะปวดตามข้อต่าง ๆ 
  8.  โรคแพ้ภูมิตัวเอสแอลอี (SLE) โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ โดยภูมิคุ้มกันที่ผิดปกตินั้นจะไปทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย จนทำให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะทั่วร่างกาย ซึ่งจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น
     

กลุ่มเสี่ยงโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แม้ว่าโรครูมาตอยด์สามารถเกิดขึ้นได้กลุ่มทุกคน แต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปในการเกิดโรคข้อสอักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ 
 

  • ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรครูมาตอยด์มากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 
  • ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรครูมาตอยด์ 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด 
     

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์..เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

โรครูมาตอยด์รักษาที่ไหน

โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อ ดังนั้นจำเป็นต้องคอยสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที 
 

  • มีอาการอักเสบเรื้อรังพร้อมกันหลายข้อ และเป็นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 6 สัปดาห์ 
  • หลังจากตื่นนอนและไม่ได้ใช้งานข้อต่อเป็นระยะเวลานาน หากเกิดอาการข้อฝืดตึงไม่สามารถขยับได้ และใช้เวลานานเกิน 1 ชั่วโมง จึงจะสามารถขยับข้อได้ตามปกติ 
  • มีอาการปวดและบวมตามบริเวณข้อต่อ เมื่อกดบริเวณข้อที่มีการอักเสบจะรู้สึกปวดมาก 
  • มีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ต่ำๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลดลง และปวดเมื่อยทั้งตัว 

หากคุณมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อบรรเทาอาการของโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะนั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครูมาตอยด์
 


การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

วินิจฉัยโรครูมาตอยด์

ปัจจุบันโรครูมาตอยด์ยังเป็นโรคที่ใช้การวินิจฉัยเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากอาการของโรคที่แสดงออกเป็นอาการที่สามารถพบได้หลายโรค ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรครูมาตอยด์ มีรายละเอียดดังนี้
 

การตรวจดูลักษณะอาการ

เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วยและตรวจดูการแสดงอาการของโรคจากภายนอก โดยดูอาการบวม แดง และความร้อน รวมไปถึงการตรวจความไวของเส้นประสาทและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
 

การเจาะเลือดตรวจ

แพทย์จะทำการเจาะเลือดผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพื่อเป็นการตรวจหาสารรูมาตอยด์ (Rheumatoid Factor) หรือตรวจหาค่าโปรตีนในร่างกายที่เป็นการตรวจเพื่อหาอาการอักเสบทีร่างกาย (C-reactive protein: CRP)
 

การตรวจเอกซเรย์

การเอกซเรย์ในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เป็นการตรวจเพื่อดูการดำเนินของโรค มักใช้ตรวจกับผู้ป่วยที่มีการอักเสบในระยะแรกที่อาการของโรคยังไม่สามารถใช้การตรวจวินิจฉัยร่างกายได้ เนื่องจากอาการที่แสดงออกไม่ชัดเจน โดยเป็นการตรวจจากเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)  

ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์แต่ละคน
 


วิธีรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

รักษาโรครูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ?

ในปัจจุบันการรักษาโรครูมาตอยด์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค และมีหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีรักษาโรครูมาตอยด์นั้นมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ดังนี้
 

การบำบัดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แบบไม่ใช้ยา

สำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะเริ่มต้นสามารถบรรเทาอาการและรักษาโรคได้จากการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่น และถือเป็นการฟื้นฟูสรรถภาพของข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยรอบบริเวณนั้น โดยการทำกายภาพบำบัดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น 

ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น การควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การกระโดดและการนั่งยองๆ และผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นสามารถใช้การประคบร้อน หรือแช่ข้อที่มีอาการอักเสบกับน้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการได้
 

การใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การรักษาโรครูมาตอยด์โดยใช้ยาในปัจจุบัน สามารถแบ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ 
 

  • ยากลุ่มสเตียรอยด์ 

การรักษาโรครูมาตอยด์โดยใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ โดยสำหรับยากลุ่มสเตียรอยด์จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบรุนแรง แต่ยาในกลุ่มนี้มีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ ติดเชื้อง่ายและกระดูกพรุน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นควรมีการลดปริมาณยาที่ใช้รักษาลง 
 

  • ยากลุ่มยับยั้งการอักเสบแต่ออกฤทธิ์ช้า 

สำหรับยาในกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณานำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยา โดยยาในกลุ่มนี้ต้องใช้ยารักษาอาการอักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ ได้แก่ Chloroquine, Sulfasalazine, Methotrexate และ Gold Salt ซึ่งยากลุ่มยับยั้งการอักเสบที่ออกฤทธิ์ช้าจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เพียงเท่านั้น 
 

  • ยากลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ 

ยาในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ สามารถใช้บรรเทาและรักษาอาการปวดบวมบริเวณข้อได้ดี และเห็นผลในทันที ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Indomethacin และ Diclofenac หรือที่หลายคนเรียกว่า ยาแก้ปวดรูมาตอยด์ 

แต่ยาในกลุ่มนี้นั้นมีผลข้างเคียง ได้แก่ อาการแสบท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยาให้มีผลข้างเคียงน้อยลงแต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง ที่สำคัญยากลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ควรหลีกเลี่ยงใช้กับผู้ป่วยที่เคยเป็นแผลทางเดินอาหารมาก่อน
 

การผ่าตัดรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรครูมาตอยด์มักเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะพิจารณา ส่วนใหญ่มักใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถวิธีรักษาแบบอื่นได้ แพทย์จึงจะพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อต่อที่มีอาการอักเสบหรือถูกทำลาย ข้อดีของการผ่าตัดข้อต่อ คือ สามารถรักษาอาการเจ็บปวดและช่วยทำให้ข้อต่อกลับมาเป็นปกติได้ 

ทั้งนี้การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบมารูตอยด์มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดรวมข้อ (Joint Fusion) การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ (Synovectomy) การเย็บซ่อมเส้นเอ็นรอบข้อต่อ (Tendon Repair) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Total Joint Replacement) 

ทั้งนี้การรักษาโรครูมาตอยด์จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการความรุนแรงของโรค โดยหากผู้ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ระยะแรกอาจจะใช้วิธีกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรงแพทย์จะปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาตามอาการความรุนแรงของโรค
 


ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาการรูมาตอยด์ที่มือ

โรครูมาตอยด์สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงและพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้ ดังต่อไปนี้
 

  • ปุ่มรูมาตอยด์ (Rheumatoid Nodules) 

เป็นปุ่มเนื้อนิ่มๆ ที่ขึ้นตามบริเวณข้อต่อที่มีการเสียดสีอยู่บ่อยๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อนิ้ว นอกจากนี้ปุ่มรูมาตอยด์ยังสามารถเกิดได้ทุกที่ในร่างกายและสามารถเกิดบริเวณปอดได้ด้วย
 

  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุนที่เกิดหลังจากการผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรครูมาตอยด์ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากยาที่ใช้รักษา ที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อมและเปราะบางลงจนถึงขั้นแตกร้าวได้ง่าย 
 

  • การติดเชื้อ 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และตัวยาบางชนิดที่ใช้รักษาสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอลง และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น 
 

  • ตาแห้งและปากแห้ง 

นอกจากอาการปากและตาแห้งแล้ว สามารถพบผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่เป็นโรคโจเกรน (Sjogren’s Sysdrome) ร่วมด้วย โดยที่โรคโจเกรนเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปากและตาแห้ง คล้ายกับมีเม็ดทรายในดวงตาหรือรู้สึกเหมือนมีสำลีอยู่ในปาก มักพบในผู้ป่วยผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้น
 

  • ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ 

อย่างที่ได้ทราบกันไปว่าผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีภาวะเสี่ยงในการเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบภายในร่างกาย 
 

  • โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

หากผู้ป่วยมีอาการอักเสบที่บริเวณข้อมืออาจจะทำให้มีการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานข้อมือและนิ้วมือของผู้ป่วย 
 

  • โรคปอด

ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงที่จะเกิดพังผืดบริเวณปอด ซึ่งจะส่งต่อระบบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบากหรือหายใจสั้นขึ้น 

ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรครูมาตอยด์จะมีภาวะแทรกซ้อน และไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นทุกภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมา
 


วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

แม้ว่าในปัจจุบันโรครูมาตอยด์จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามวิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพื่อบรรเทาอาการด้วยการกายภาพบำบัด รับประทานยา หรือการผ่าตัด รวมไปถึงเรื่องอาหารการกินที่ถูกต้อง อาหารที่ห้ามกินของโรครูมาตอยด์มีอะไรบ้าง

ดังนั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำเป็นต้องทราบว่าตนเอง ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง โดยอาหารที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ห้ามรับประทานมีดังนี้ 
 

  • อาหารที่ถูกขัดสี พบได้ในคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล เนื่องจากมีสาร AGE ที่สามารถทำให้อาการของโรคกำเริบได้ 
  • อาหารประเภททอด เนื่องจากมีสาร AGE ที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและสามารถทำให้อาการของโรคกำเริบได้ 
  • นมทุกชนิด เพราะในนมมีโปรตีนที่สามารถกระตุ้นอาหารที่ข้อได้ 
  • อาหารที่กระตุ้นให้เกิดกรด ได้แก่ กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่ว และโปรตีนจากสัตว์ 
  • อาหารที่มีไขมันไม่ดี (LDL) สามารถพบได้ในขนมเค้ก ชีส และเนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก 
     

แนะนำอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์

อาหารที่เหมาะกับโรครูมาตอยด์ ข้าวกล้อง

สำหรับผู้ป่วยโรคมารูตอยด์ครบดูแลเรื่องอาหารการกินของตัว เพื่อยับยั้งไม่ให้อาการกำเริบ โดยอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ มีดังนี้ 
 

  • อาหารที่ไม่มีการขัดสี หรืออาหารที่มีการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง และขนมปังโฮลวีท
  • อาหารที่มีไขมันต่ำ
  • ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียม
  • อาหารที่มีกรดโอเมก้า-3 เช่น ปลาทู ปลาแซลมอน และปลาซาร์ดีน
  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี เช่น ฝรั่ง ตับ ปลา เป็นต้น 

ทั้งนี้การทานอาหารของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมของแต่ละคน
 


แนวทางการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แนวทางการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด ทำให้การรักษาโรครูมาตอยด์ในส่วนใหญ่เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการความรุนแรงของโรค และยับยั้งการอักเสบของข้อเพียงเท่านั้น 

สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยลดโอกาสที่ข้อจะพิการได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการผิดปกติที่ปวดตาข้อบริเวณต่างๆ ในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิการ
 


คำถามที่พบบ่อย

โรครูมาตอยด์อันตรายไหม

โรครูมาตอยด์ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย เพราะในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ยังไม่มีวิธีป้องกัน และถ้าหากอาการของโรคมีความรุนแรง หรือ อยู่ในระยะสุดท้ายของโรคแล้วสามารถทำให้ผู้ป่วยพิการได้ การรักษาโรคจึงเป็นเพียงการยับยั้งอาการอักเสบและบรรเทาอาการเท่านั้น ทั้งนี้ทางที่ดีหากมีอาการปวดข้อ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดนั้น
 

โรครูมาตอยด์รักษาหายไหม

ในปัจจุบันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นเพียงแค่การบรรเทาอาการเจ็บปวด และการยับยั้งการอักเสบของข้อเท่านั้น โดยวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน 

ซึ่งวิธีการรักษาโรครูมาตอยด์มีตั้งแต่ การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์
 

โรครูมาตอยด์นวดได้ไหม

คำถามที่แพทย์หลายๆ คนมักพบคือ โรครูมาตอยด์นวดได้ไหม ? แนะนำให้เป็นการทำกายภาพบำบัดจะได้ผลที่ดีกว่า แต่การทำกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดที่ผิดวิธีอาจจะทำให้อาการของโรคแย่ลงได้
 

โรครูมาตอยด์ประคบร้อนหรือเย็น

โรครูมาตอยด์ถ้าหากเพิ่งเริ่มมีอาการของโรค สามารถใช้วิธีประคบร้อนหรือแช่ข้อที่ปวดกับน้ำอุ่นได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดที่รุนแรง การประคบอาจจะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ทางที่ดีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาวิธีรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด
 


ข้อสรุป

ในปัจจุบันโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด ทำให้การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นการรักษาตามอาการ และยับยั้งการอักเสบของข้อไม่ให้ลุกลาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาอยู่ตลอด แม้ว่าอาการของโรคจะสงบลงแล้ว เพื่อไม่ให้อาการโรครูมาตอยด์กลับมากำเริบอีกครั้ง 

นอกจากนี้โรครูมาตอยด์ยังถือว่าเป็นโรคที่อันตราย เพราะสามารถทำให้เกิดข้อพิการได้ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าข่ายโรครูมาตอยด์ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาโดยทันทีก่อนที่จะสายเกินไป

หากผู้ป่วยมีอาการปวดตามข้อมือ ข้อเท้า ข้อนิ้ว ข้อศอก และข้อต่ออื่นๆ ของร่างกาย และยังไม่มั่นใจว่าควรรักษาโรครูมาตอยด์ที่ไหนดี สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโม

 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

References

 

Mayo staff. (2021, May 18). Rheumatoid Arthritis. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rheumatoid-arthritis/symptoms-causes/syc-20353648

N.d. (2023, Apr 21). Rheumatoid Arthritis. NHS. https://www.nhs.uk/conditions/rheumatoid-arthritis/


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม