Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

แนะนำการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) พร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งเนื้อร้ายที่คร่าชีวิตเพศชายเป็นอันดับต้น ๆ ในแต่ละปี จึงทำให้การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพประจำปีที่สำคัญแก่ผู้ป่วยเพศชายเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะภายในของผู้ป่วย และหาทางวิธีรักษามะเร็งต่อมลูกหมากแต่ละระยะให้ถูกต้อง 

แล้วสาเหตุมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นจากปัจจัยใด? อาการมีผลข้างเคียงอย่างไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากได้ในบทความนี้

สารบัญบทความ

รู้จักมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) คือ ภาวะการเจริญและการแบ่งตัวของเซลล์ภายในต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) ลามทั่วภายในต่อมลูกหมาก
 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก


สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายที่เห็นได้ชัด คือ อายุที่มากขึ้นทำให้ระบบสืบพันธุ์มีการเสื่อมสภาพไป พันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน การรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และไขมันสูง และพฤติกรรมการสูบบุหรี่จนติดเป็นนิสัย
 

สังเกตอาการมะเร็งต่อมลูกหมาก


วิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกด้วยตนเอง สามารถสังเกตได้ด้วยการตรวจปัสสาวะเบื้องต้น เพื่อดูว่าปัสสาวะของผู้ป่วยนั้นมีภาวะติดขัดหรือไม่ เช่น ขับถ่ายแล้วรู้สึกฉี่บ่อยมากกว่าปกติ บางครั้งปลดปล่อยไม่สุด มีอาการแสบคันช่วงล่าง และลักษณะสีของปัสสาวะที่ถูกขับออกมามีเลือดหรืออสุจิปะปนในน้ำ 

หากผู้ป่วยเพศชายมีอาการหนึ่งในอาการดังกล่าวนี้ อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูง ควรเข้ารับการตรวจและได้รับรักษากับแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด
 

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ตรวจต่อมลูกหมาก
ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ถูกแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่

1.ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก เกาะติดภายในชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมาก ระยะนี้มะเร็งยังไม่เริ่มแพร่กระจายสามารถรักษามะเร็งต่อมลูกหมากให้หายขาดได้
2.ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นก้อนเนื้อบวมอยู่ภายในต่อมลูกหมากและเบียดไปยังบริเวณทวารหนัก ซึ่งเป็นโอกาสให้ทางแพทย์ใช้นิ้วคลำสังเกตอาการมะเร็งต่อมลูกหมากจากปากรูทวารเพื่อวินิจฉัยวิธีรักษาได้
3.ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ต่อมลูกหมากบวมจนกั้นทางเดินปัสสาวะมีภาวะขับถ่ายของเหลวติดขัด ก้อนเนื้อมะเร็งกระจายนอกต่อมลูกหมาก แพทย์สามารถใช้วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโดยสอดนิ้วคลำเข้าทวารหนักได้
4.ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง แล้วแพร่กระจายไปยังส่วนของกระดูกและอวัยวะภายในอื่น ๆ มีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง
 

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer Screening Tests) ทางแพทย์จึงจัดหาวิธีรักษาผู้ป่วยแต่ละระยะที่เหมาะสมที่สุด โดยวิธีตรวจต่อมลูกหมากตามมาตรฐาน มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่

1.การตรวจทางทวารหนัก (DRE)
2.การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
3.การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
4.การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (TRUS)
5.การตรวจแบบ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy
 

1. การตรวจทางทวารหนัก (DRE)

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination : DRE) คือ การตรวจผ่านรูทวารของผู้ป่วยเพื่อคลำดูลักษณะและรูปร่างของก้อนมะเร็งต่อมลูกหมากที่บวมจนยื่นไปทับผนังลำไส้ใหญ่
 

ขั้นตอนการตรวจทางทวารหนัก

วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านทวารหนัก มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้ป่วยนอนบนเตียงในท่าตะแคงหรือท่าโค้งแล้วงอตัวให้สุด 
2.แพทย์จะสวมใส่ถุงมือยาง ทาเจลหรือสารหล่อลื่นบนนิ้วชี้แล้วสอดนิ้วคลำปากทางเข้าไปในช่องทวารหนัก
3.หากพบเจอก้อนลักษณะของแข็ง มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดภาวะมะเร็งในต่อมลูกหมากบวมขึ้นจนยื่นไปเบียดผนังลำไส้ใหญ่
 

2. การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)

การตรวจ psa

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่า PSA (Prostate-Specific Antigen) คือ การตรวจโปรตีนชนิด PSA ที่ถูกสร้างจากเซลล์ภายในต่อมลูกหมากผ่านกระแสเลือดเป็นหลัก และโปรตีนชนิดมีการหลั่งไหลในน้ำอสุจิอีกด้วย
 

ขั้นตอนการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA

 
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ PSA มีขั้นตอนดังนี้
1.แพทย์จะทำการนัดล่วงหน้าการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ป่วย 
2.ก่อนวันตรวจเลือดนั้น จะกำกับให้งดกิจกรรมร่วมเพศ กิจกรรมกีฬาที่สร้างความสั่นสะเทือนแก่ต่อมลูกหมาก เช่น วิ่ง ขี่จักรยาน ก่อน 48 ชม. 
3.หากมีโรคประจำตัวแล้วทานยาประเภทยับยั้งฮอร์โมนเพศและยับยั้งการโตของต่อมลูกหมาก ทางแพทย์จะขอให้ผู้ป่วยงดยาจำพวกชนิดนี้ เพื่อป้องกันค่า psa ต่อมลูกหมากคลาดเคลื่อนได้
4.วันตรวจค่า PSA ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อที่สบายตัว ไม่รัดตัวเกินไป เพื่อให้ง่ายต่อทางแพทย์ในการเจาะเลือด
5.หลังจากจบการเจาะเลือดแล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยพัก 15-30 นาที แล้วเตรียมตัวรอฟังผล

3. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

mri ต่อมลูกหมาก

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยคลื่น MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ การตรวจผ่านเครื่อง MRI ในการโฟกัสต่อมลูกหมากโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติกระจายคลื่นสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มข้นสูง เพื่อส่งคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณภาพถ่ายอวัยวะภายใน ให้ถูกสแกนเป็นภาพถ่ายในภายหลัง
 

ขั้นตอนการตรวจด้วยคลื่น MRI

 
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ MRI มีขั้นตอนดังนี้ 
1.แพทย์จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดสำหรับการตรวจผ่านเครื่อง MRI 
2.นอนตัวตรงแล้วรอเข้ากระบวนการทำงานของเครื่องให้เสร็จ 
3.รอตัวเครื่อง MRI ส่งคลื่นวิทยุไปยังระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายภาพข้อมูลจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้วใช้สารทึบรังสี (Contrast media) เพื่อให้เห็นเซลล์ก้อนมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  
4.รอรับฟังผลจากแพทย์

4. การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (TRUS)

วิธีตรวจต่อมลูกหมาก

การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound : TRUS) คือ การตรวจรูทวารของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องสอดหัวอัลตราซาวด์เพื่อดูภาพลักษณะและรูปร่างของก้อนมะเร็งต่อมลูกหมากที่บวมจนยื่นไปทับผนังลำไส้ใหญ่ผ่านจอคอมพิวเตอร์
 

ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางทวารหนัก

 
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ TRUS มีขั้นตอนดังนี้ 
1.แพทย์จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดสำหรับการตรวจผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ 
2.ผู้ป่วยให้นอนบนเปลี่ยนแล้วกางขาออก เพื่อให้แพทย์สอดหัวอุปกรณ์ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากขนาดเล็กเข้าไปในปากช่องทวารหนัก 
3.เมื่อแพทย์สอดความยาวของเครื่องไปในบริเวณที่ใกล้เคียงกับต่อมลูกหมาก แพทย์จะกดเครื่องให้ส่งคลื่นสะท้อนผ่านคอมพิวเตอร์ในจอแบบเรียลไทม์

5. การตรวจแบบ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy

เจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก

การอัลตราซาวด์ตัดเนื้อต่อมลูกหมาก (MRI-Ultrasound Fusion Biopsy) คือ การใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์ประกอบร่วมกับเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ในทวารหนักไปวินิจฉัยตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก
 

ขั้นตอนการตรวจแบบ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy

 
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy มีขั้นตอนดังนี้ 
1.แพทย์จะซักถามประวัติการทานอาหารเสริมหรือยาประจำตัวที่มีผลต่อให้เลือดแข็งตัวช้า หากมี ทางแพทย์จะให้งดทาน 7 วันก่อนตรวจ 
2.แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อสำหรับประทานมื้อเช้าก่อนวันตรวจ 1 วัน 
3.วันนัดตรวจนั้นให้ผู้ป่วยทำการสวนรูทวารช่วงเช้าก่อนตรวจ TRUS 
4.ในขั้นตอนการทำ แพทย์จะทำการฉีดยาชาผ่านทางทวารหนัก แล้วใช้เข็มสำหรับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก 10-12 ชิ้น 
5.รอฟังการวัดผลจากทางแพทย์

ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

บุคคลที่ควรได้รับการตรวจมะเร็งลูกหมากมีดังต่อไปนี้
- เพศชายอายุ 50-70 ปี
- บุคคลที่เสพติดการสูบบุหรี่
- บุคคลที่รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง 
- บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน
- บุคคลที่มีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะติดขัด ถ่ายไม่สุด ฉี่บ่อย อาจมีเลือดปนมาด้วย

ทางเลือกการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

วิธีการตรวจต่อมลูกหมาก

การพบตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถรักษาได้ถาวรได้ด้วยวิธีรักษา 4 ประเภท ดังนี้
 

1. การฉายรังสี

การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือ การใช้รังสีเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากให้เป็นก้อนเนื้อตายในที่สุด สามารถยับยั้งการแพร่กระจายเนื้อมะเร็งสู่อวัยวะภายในส่วนอื่น ๆ และลดโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับอวัยวะช่วงล่างได้อย่างปลอดภัย แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1-2 เท่านั้น
 

2. การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก แบ่งออกเป็น 2 วิธีการ ได้แก่

1.การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Myomectomy) คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้องผู้ป่วยผ่านการตัดเลาะท่อน้ำเหลือง เพื่อเอาต่อมลูกหมากทั้งก้อน รวมถึงท่อน้ำเชื้อและถุงพักน้ำเชื้อออกไปทั้งหมด แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 3-4 เป็นต้นไป
2.การผ่าตัดโดยใช้เครื่องส่องกล้อง (Transurethral Resection of Prostate Gland : TURP) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านรูท่อปัสสาวะ แพทย์จะใช้เข็มเจาะเนื้อขูดต่อมลูกหมากเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยแพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีอาการขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้ ถ่ายออกมามีเลือดปน หรือขับถ่ายแล้วไม่สุด
 

3.การรักษาด้วยฮอร์โมน

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone Therapy) คือ การใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อยับยั้งฮอร์โมนชนิดเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ที่เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากได้ แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ 3-4 เป็นต้นไป
 

4.การใช้เคมีบำบัด (คีโม)

การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการทำคีโม คือ การรักษาโดยฉีดยาต้านมะเร็งเข้าสู่ทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากและมะเร็งส่วนอื่น ๆ ของอวัยวะให้ตายให้หมด แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในรอบที่ 2 หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมากได้สำเร็จ

การดูแลตัวเองสำหรับคนไข้มะเร็งต่อมลูกหมาก

ข้อปฏิบัติและการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้
- หลังจากการรักษา ให้ผู้ป่วยสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายและลักษณะอวัยวะเพศชายเป็นระยะ หากมีอาการผิดปกติควรนัดพบแพทย์ทันที
- หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ 3-4 เป็นต้นไป ควรทำการรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น การรักษาด้วยการปรับฮอร์โมนและการใช้เคมีบำบัดควบคู่กัน
- ปรับการใช้ชีวิตแบบ Slow life ในระหว่างการรักษา ควรงดกิจกรรมที่อาจทำให้ต่อมลูกหมากได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การวิ่ง การขี่จักรยาน เป็นต้น
- ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรให้กำลังใจและดูแลอย่างใกล้ชิด

คำแนะนำในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

โดยทั่วไป มีวิธีการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนี้
- ทานอาหารจำพวกพืชตระกูลกะหล่ำ ที่ให้สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) เพื่อขับสารพิษในร่างกายและเพิ่มภูมิคุ้มกันสูง เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่  และดอกกะหล่ำ เป็นต้น 
- ทานอาหารจำพวกเนื้อปลาที่ให้สารอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น แซลมอน และปลาทูน่า เป็นต้น
- ทานอาหารจำพวกผักผลไม้สีแดง ส้ม และเหลือง ที่ให้สารไลโคพีน (Lycopene) เพื่อเพิ่มสารอนุมูลอิสระ เช่น แตงโม แครรอท และพริกหยวกสีเหลือง เป็นต้น
- งดทานอาหารที่มีรสเค็ม หวานจัด
- งดการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
- ควรหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ เฉลี่ย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการตรวจมะเร็งลำไส้ เพื่อเช็คความผิดปกติภายในรูทวาร

ค่าใช้จ่ายตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากสูง และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานพยาบาลตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ไหนดี ทางสถาบันรักษาโรคมะเร็งทุกส่วนของอวัยวะภายใน โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และโปรโมชันราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้
 

โปรแกรมตรวจสุขภาพ
ประจำปี

 

Basic

<30 ปี
 

Advanced

30-40 ปี
 

Executive

40-50 ปี
 

Absolute

50 ปีขึ้นไป
 

Longevity

60 ปีขึ้นไป
 

อัตราค่าบริการปกติ 6,485 ชาย 13,365
หญิง 14,965
ชาย 29,865
หญิง 35,290
ชาย 38,285
หญิง 47,030
ชาย 43,740
หญิง 54,085
อัตราพิเศษ 2,800 ชาย 8,000
หญิง 8,000
ชาย 13,500
หญิง 17,500
ชาย 17,700
หญิง 22,700
ชาย 20,000
หญิง 23,200
ราคา Online และหลังไลน์ @samitivejchinatown ลด 10% 2,520 ชาย 7,200
หญิง 7,200
ชาย 12,150
หญิง 15,750
ชาย 15,930
หญิง 20,700
ชาย 18,000
หญิง 21,200
 
 

ข้อสรุป

การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นการตรวจเช็คเซลล์ภายในต่อมลูกหมาก ว่ามีการแตกเซลล์ที่ผิดปกติจากปัจจัยใดบ้างไม่ว่าจะเป็นภาวะอายุมากขึ้น พันธุกรรม และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากการเสื่อมสภาพการทำงานของต่อมลูกหมาก

ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ และพร้อมรายงานผลตรวจค่าไตแต่ละองค์ประกอบได้ทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

เอกสารอ้างอิง :

Hagan Thomas,T. (2021, Nov 23). What to know about prostate cancer
medicalnewstoday
https://www.medicalnewstoday.com/articles/150086

Mayo Clinic Staff (2022, May 25). Prostate cancer
mayoclinic
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087

Urology Care Foundation (2020, Jan). What is Prostate Cancer? 
urologyhealth
https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/prostate-cancer

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม