Hospital Hotline

02-118-7893

  เปลี่ยนภาษา
English ภาษาไทย 中文(简体)

บทความสุขภาพ

รักษาอาการปวด เมื่อย ออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS กายภาพ

เครื่อง PMS

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษากลุ่มอาการปวด อาการชาจากเส้นประสาท และอาการออฟฟิศซินโดรมที่หลายคนเลือกใช้บำบัดรักษา รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โดยเครื่อง PMS เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดดังกล่าวให้ดีขึ้น ในบทความนี้จะอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเครื่อง PMS กายภาพไว้เป็นทางเลือกเพื่อการรักษาต่อไป


สารบัญบทความ

 


เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS)

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยการใช้ระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท อาการปวดออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น ด้วยคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุเข้าผ่านอวัยวะเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
 


เครื่อง PMS คืออะไร

เครื่อง PMS คือ

เครื่อง PMS ย่อมาจาก Peripheral Magnetic Stimulation คือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic กระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยคลื่นแม่เหล็กความแรงสูงเพื่อยับยั้งอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคปวดข้อต่อ โรคเอ็นข้อมืออักเสบหรือโรคเอ็นต่าง ๆ และอาการชาจากเส้นประสาท โดยกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง PMS ได้ เช่น กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stoke) กลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังหรือกลุ่มที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือออฟฟิศซินโดรม กลุ่มอาการชา เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาร่วมกับ Shockwave และ High power laser therapy ได้
 


หลักการทำงานของเครื่อง PMS

หลักการทำงานของเครื่อง PMS คือ เมื่อเกิดอาการปวดหรืออาการชาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปวดจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นต่าง ๆ เอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือเส้นประสาท เครื่อง PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดหรือชา ทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดีขึ้น 

รวมถึงเครื่อง PMS จะส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไปยังสมองและกระตุ้นให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว และส่งสัญญาณกลับมายังบริเวณที่มีอาการปวด ชา หรือบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เพื่อยับยั้งการอาการปวด อาการชา หรือบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น
 


เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง

เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง

เครื่อง PMS รักษาอะไรได้บ้าง? กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง PMS หรือรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถแบ่งได้หลัก ๆ ประมาณ 5 กลุ่มโรค ดังนี้
 

1. ออฟฟิศซินโดรม

ผู้ป่วยกลุ่มออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดต่าง ๆ ทั้งชนิดเชื้อรัง และเฉียบพลัน การใช้เครื่อง PMS เข้ารักษาจะช่วยลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาท กล้ามเนื้อ พังผืด เอ็น อาการเคล็ดคัดยอก เช่น อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แขน มือ หลัง เอว สะโพก เข่า หรือปวดข้อเท้า เป็นต้น หากรักษาด้วยเครื่อง PMS อย่างต่อเนื่องอาการปวดต่าง ๆ รวมถึงออฟฟิศซินโดรมจะค่อย ๆ ดีขึ้น
 

2. อัมพฤกษ์ อัมพาต จากหลอดเลือดสมองตีบ

กลุ่มผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke) รวมถึงการบาดเจ็บในสมอง การบาดเจ็บของไขสันหลัง หน้าเบี้ยวครึ่งซีก โดยการรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยลดภาวะการเกร็งของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในกลุ่มคนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
 

3. โรคกระดูกสันหลัง

กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังคือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง มาจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือในกลุ่มคนที่กระดูกสันหลังมีการยุบตัวลงจนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการเหมือนปวดร้าวลงขา หรือถ้าหากเป็นกระดูกบริเวณต้นคอก็จะมีอาการปวดร้าวลงแขน 

การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยเครื่อง PMS จะช่วยรักษาและลดอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลังได้ เนื่องจากการถูกกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถลงลึกไปถึงรากประสาทได้
 

4. กลุ่มอาการชา

กลุ่มอาการชา หรือผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาท หรือเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา เท้าชา แขนชา โดยส่วนมากมักพบในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานทำให้เกิดการขาดสารอาหารจากน้ำตาลในเลือดที่จะไปเลี้ยงตัวเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบขึ้นมา การรักษาด้วยเครื่อง PMS จะช่วยให้อาการชาดีขึ้นในแต่ละครั้งที่รักษา
 

5. อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

เครื่องกายภาพ PMS ยังสามารถช่วยรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้ เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก จำพวกอาการเคล็ดขัดยอกต่าง ๆ การใช้เครื่อง PMS จะช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและช่วยซ่อมแซมระบบประสาทส่วนที่มีการเสียหายให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
 


ระยะเวลาในการรักษาแบบ PMS

การใช้เครื่อง PMS บำบัดรักษาจะใช้ระยะครั้งละ 5-30 นาที ส่วนจำนวนครั้งในการรักษาจะขึ้นอยู่กับแพทย์ประเมินอาการ สำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น จะใช้ระยะเวลารักษาด้วยเครื่อง PMS 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
 


กายภาพ PMS กี่ครั้งเห็นผล

การใช้เครื่องกายภาพ PMS ช่วยรักษากลุ่มที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หรือจากโรคออฟฟิศซินโดรม อาการปวดจะดีขึ้นใน 1-2 ครั้ง ส่วนผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการเกร็ง จะใช้ระยะเวลารักษาด้วยเครื่อง PMS 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ก็จะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ขยับดีขึ้น

สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังจากข้อไหล่ติดไม่มาก การทำ PMS ประมาณ 1-2 ครั้ง ร่วมกับเทคนิคทางกายภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถยกแขนได้ นอกจากนี้การใช้เครื่อง PMS รักษากลุ่มคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด ปกติจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และจะเริ่มดีขึ้นในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
 


ข้อดีของการกายภาพด้วยเครื่อง PMS

ข้อดีของการกายภาพด้วยเครื่อง PMS มีดังต่อไปนี้
 

  • สามารถเห็นผลการบำบัดทันทีหลังการรักษาด้วยเครื่อง PMS
  • เครื่อง PMS สามารถช่วยบำบัดรักษาอาการปวดที่มาจากระบบประสาท และอาการปวดที่ไม่ได้มาจากระบบประสาท เช่น อาการปวดจากกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เอ็น และกระดูก
  • ลดอาการปวด อาการชา สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาตได้
  • เครื่อง PMS ช่วยเร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มือตก แขนขาอ่อนแรง พังผืดทับเส้นประสาท รวมถึงช่วยรักษาอาการที่เกิดจากโรคกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลัง
  • ช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของเส้นประสาท (Neuroplasticity) ที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยนไปจากปกติ ให้กลับมาเป็นปกติ เช่น ปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูก อาการปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
  • สามารถรักษาอาการในทุกระยะของโรค ทั้งระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรังได้
  • มีกลไกการรักษาที่กระตุ้นให้มีการซ่อมแซมการสร้างเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงแก้ไขอาการเท่านั้น
  • ใช้ระยะเวลาในการรักษาน้อย ประมาณ 5-30 นาทีต่อจุดการรักษา
  • สามารถรักษาต่อเนื่องน้อยครั้งแต่ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
     

ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง PMS กายภาพ

ก่อนการใช้เครื่อง PMS บำบัดรักษาอาการต่าง ๆ มีข้อควรระวังคือ ความร้อนจากการเหนี่ยวนำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเทคนิคการยิงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อนสะสมที่วัสดุโลหะที่อยู่ใกล้ตัวได้ จึงควรถอดอุปกรณ์ เครื่องประดับที่ หรือวัสดุที่เป็นโลหะต่าง ๆ ออกก่อนเข้ารับการรักษา
 


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง PMS

PMS กายภาพ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง PMS คือ กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมได้ ทั้งนี้แพทย์จะทำการประคบเย็นให้ทันทีหลังจากรักษาเสร็จ นอกจากนี้การใช้เครื่อง PMS รักษาอาการปวดต่าง ๆ จำเป็นจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้นเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด เนื่องจากเป็นกระบวนการรักษาที่เกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะการใช้เครื่อง PMS บริเวณใบหน้า ที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง 

รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือปวดมาก หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อยอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต จำเป็นจะต้องอาศัยการรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 


ใครไม่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่อง PMS

ข้อห้ามเครื่อง PMS

 

  • เครื่อง PMS ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการลมชักมาก่อน 
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังอยู่ในตัว หรือผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว
  • ผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ยังทำการรักษา
  • กลุ่มผู้ใส่สายสวนหัวใจ ใส่เพสเมกเกอร์ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่อง PMS เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกระตุ้นได้
     

วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS

ก่อนการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง PMS แพทย์จะซักประวัติร่างกายอย่างละเอียดเพื่อตรวจดูความเหมาะสมและความปลอดภัยในการรักษา เช่น เป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะกำลังตั้งครรภ์ไหม มีประวัติเป็นโรคลมชักหรืออาการทางจิตเวชหรือไม่ มีโลหะหรือเครื่องมือทางการแพทย์ใดฝังอยู่ในร่างกาย หรือตรงบริเวณที่จะทำหรือไม่ รวมถึงผู้เข้ารับการรักษาเคยได้รับการผ่าตัดหรือมีอุบัติเหตุใดบ้าง หากแพทย์ประเมินว่าสามารถเข้ารับการรักษาได้ก็ทำได้ทันที โดยหลังการรักษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ส่วนจำนวนครั้งที่ต้องทำการรักษาจะขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาในแต่ละบุคคล
 


กายภาพด้วยเครื่อง PMS ราคาเท่าไหร่

เครื่อง PMS ราคา

โปรแกรม PMS กายภาพลดอาการปวด ออฟฟิศซินโดรม ของโรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีรายละเอียดเครื่อง PMS ราคาดังนี้
 

PROMOTION PMS

ครั้ง

ราคา

Promotion A : PMS + Hot pack + Gentle Exercise

5

12,000.-

Promotion B : PMS + Ultrasound + Hot pack + Gentle Exercise

5

13,500.-

Promotion C : PMS + Shockwave + Hot pack + Gentle Exercise

5

18,500.-

Promotion : PMS + Hot pack smell set + Gentle Exercise

1

2,500.-

 

PROMOTION PMS WITH NEAR INFRARED RAY

ครั้ง

ราคา

Promotion A : PMS with Near Infrared rays + Hot pack + Gentle Exercise

5

13,300.-

Promotion B : PMS with Near Infrared rays + Ultrasound + Hot Pack + Gentle Exercise

5

15,000.-

Promotion C : PMS with Near Infrared rays + Shockwave + Hot pack + Gentle Exercise

5

19,900.-

Promotion : PMS with Near Infrared rays + Hot pack small set + Gentle Exercise

1

2,750.-

เงื่อนไข

  • ราคานี้รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • ระยะเวลาโปรโมชัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค. 2556
  • สามารถรับบริการที่โรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เท่านั้น
     

เครื่อง PMS มีที่ไหนบ้าง

เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่อง PMS ถือเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้รักษากลุ่มผู้ป่วยอาการปวด ชา อ่อนแรง และกลุ่มโรคระบบประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเครื่อง PMS มีที่ไหนบ้างนั้นในปัจจุบันเครื่อง PMS จะมีใช้อยู่เฉพาะกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น โดยโรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์มีโปรแกรมรักษาด้วยเครื่อง PMS ให้เลือกอย่างหลากหลายตามความเหมาะสม หากพบว่าเริ่มมีอาการปวด ชา อ่อนแรง หรือต้องการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม การเลือกใช้เครื่อง PMS จะช่วยให้มีอาการดีขึ้น
 


ข้อสรุป

เครื่อง PMS หรือเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า จะช่วยรักษาอาการปวด เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ เอ็นอักเสบ อาการชาต่าง ๆ ผู้ป่วยกลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง รวมถึงออฟฟิศซินโดรมให้มีอาการดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

โทร. 0-2118-7888

Line : @SamitivejChinatown

Facebook : Dr.Odean by Samitivej Chinatown Hospital 
 


References

Napatpaphan Kanjanapanang. (2022, October 31). Peripheral Magnetic Stimulation. National Library of Medicine. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK526087/#:~:text=Peripheral%20magnetic%20stimulation%20(PMS)%20or,periphery%20other%20than%20the%20brain.

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม