เปลี่ยนเลนส์ตาด้วยเลนส์เสริม Phakic IOL แก้สายตาสั้น ยาว เอียง
แม้ในปัจจุบันปัญหาสายตาสั้นสามารถแก้ไขให้หายขาดได้ด้วยการทำเลสิค (Lasik) ก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่สายตาสั้นมากอาจไม่เหมาะหรือไม่สามารถทำเลสิคได้ การรักษาสายตาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาโดยการฝังเลนส์เสริม (Phakic IOL) จึงเป็นอีกทางเลือกการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง) ได้แบบถาวร
สารบัญบทความ
การเปลี่ยนเลนส์ตา คือ
การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา คือ การฝังเลนส์ชนิดพิเศษที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ (สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง) เช่นเดียวกับคอนแทคเลนส์ แต่ต่างกันตรงที่การรักษาสายตาด้วยเลนส์เสริมจะถูกนำไปใส่ไว้ในตาแบบถาวร โดยที่ไม่ได้นำเลนส์ธรรมชาติออกจากตาแต่อย่างใด
ข้อควรระวัง: วิธีการรักษาสายตาแบบเดิมๆ เช่น การแก้ไขสายตาสั้นด้วยวิธีการผ่าตัดทั้งใบมีดหรือเลเซอร์บนกระจกตา และการทำเลสิค อาจเจอปัญหาดังนี้ต่อไปนี้
- กระจกตาหนาไม่พอ โดยเฉพาะผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ทำให้ต้องตัดเนื้อกระจกตาออกมาก หากมีเนื้อกระจกตาเหลือน้อย อาจทำให้เกิดภาวะกระจกตาไม่ทรงตัว จนกระจกตาปูดออกมาข้างหน้า หรือเกิดอาการกระจกตาย้วยในภายหลังได้ ซึ่งจะทำให
- สายตาแย่ลงมาก จึงไม่แนะนำการรักษาสายตาด้วยการทำเลสิคเท่าไหร่นัก
เกิดจากการเปลี่ยนความโค้งกระจกตาจากเดิมมากเกินไป ถึงแม้ว่าสายตาจะหายสั้นก็ตาม แต่คุณภาพของการมองเห็นอาจไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจนมากเท่าไหร่นัก
เลนส์เสริม Phakic IOL คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร


เลนส์เสริม Phakic IOL คือเลนส์ที่ถูกสร้างมาจากพลาสติกหรือซิลิโคนเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาวะสายตาที่ผิดปกติ เช่น ภาวะสายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง โดยที่การเปลี่ยนเลนส์ตาด้วยเลนส์เสริมหรือ IOL (Intraocular lens) จะถูกนำไปใส่ที่ดวงตาโดยที่ยังคงปล่อยเลนส์ตาธรรมชาติเอาไว้ที่เดิม
เลนส์เสริมนี้จะมีคุณสมบัติคล้ายคอนแทคเลนส์ ต่างกันที่เลนส์ Phakic IOL จะถูกใส่เข้าไปในดวงตาแบบถาวร ทำให้การมองเห็นนั้นเป็นธรรมชาติและไม่ระคายเคือง
เปลี่ยนเลนส์ตาด้วย Phakic IOL ต่างกับเลสิคไหม แบบไหนดีกว่า
การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาด้วย Phakic IOL และการทำเลสิคมีความต่างกัน โดยการเปลี่ยนเลนส์ตาด้วย Phakic IOL นั้นคือการผ่าตัดเพื่อนำเลนส์ชนิดพิเศษไปฝังไว้ที่บริเวณดวงตาเพื่อรักษาอาการภาวะสายปกติมากจนที่ไม่อาจแก้ได้ด้วยการทำเลสิค อีกทั้งการผ่าตัดนี้เป็นการรักษาเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่อยู่ถาวร
ในขณะเดียวกันการทำเลสิค คือการรักษาอาการภาวะสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ โดยจะมีการยิงแสงเลเซอร์ไปยังกระจกตาเพื่อปรับกระจกตาให้รับภาพได้ชัดขึ้น แต่ก็สามารถกลับมาผิดปกติได้อีกครั้งหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามากระทบ
ผู้ที่เหมาะกับการเปลี่ยนเลนส์ตาด้วย Phakic IOL
การเปลี่ยนเลนส์ตาด้วยเลนส์ Phakic IOL เป็นการผ่าตัดใส่เลนส์เทียมที่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธภาพสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติมาก ดังนี้
- สำหรับผู้ที่มีสายตายาวระหว่าง 300-1,900 สายตาสั้นระหว่าง 300-2,300 หรือว่าสายตาเอียง 100-600 คงที่อย่างน้อย 1 ปีโดยบวกลบไม่เกิน 50
- สำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติมากจนไม่สามารถทำเลสิคได้
- สำหรับผู้ที่อายุระหว่าง 20-50 ปี
- สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคดวงตาเช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือจอประสาทตาเสื่อม และไม่เคยทำการผ่าตัดที่ดวงตามาก่อน
- สำหรับผู้ที่มีช่องด้านหน้าดวงตามีความหนาอย่างน้อย 3 มิลลิเมตรขึ้นไป
การเตรียมตัวก่อนเปลี่ยนเลนส์ตา
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการเปลี่ยนเลนส์ตาด้วย Phakic IOL มีดังนี้
- แจ้งโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ
- งดการสวมคอนแทคเลนส์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 3 วัน เพื่อให้กระจกตาคืนรูปตามธรรมชาติ
- งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน ก่อนหน้าเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 7-10 วัน
- ผ่านการตรวจและประเมินสภาพตาดังนี้
- ตรวจความดันของดวงตา
- ตรวจวัดค่าสายตา
- ตรวจระดับการมองเห็น
- ตรวจวัดค่าความผิดปกติของสายตา
- ตรวจค่าความเพี้ยนในการรวมแสงระดับสูง
- ตรวจและประเมินสภาพของดวงตาโดยจักษุแพทย์
ขั้นตอนการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา
- จักษุแพทย์จะทำการเปิดแผลที่กระจกตาขนาดเล็กประมาณ 3 มิลลิเมตร เพื่อนำเลนส์ (มีลักษณะพับได้) ใส่เข้าไปวางอยู่หน้าเลนส์แก้วตาของคนไข้ โดยแผลจะสามารถสมานได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องเย็บแผลแต่อย่างใด
- หลังจากที่เลนส์ถูกสอดเข้าไปในตา เลนส์จะค่อยๆ คลี่ตัวออกที่บริเวณหลังม่านตาและด้านหน้าเลนส์แก้วตา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาด้วยการใส่เลนส์เสริมมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากคนไข้จะได้รับยาชาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการไม่สบายตาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด
- การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังเปลี่ยนเลนส์ตา
แม้จะเป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่ใช้เวลาน้อย แต่เนื่องจากดวงตาเป็นจุดที่ละเอียดอ่อน จึงมีโอกาสที่จะเกิดอาการข้างเคียงหลังการเปลี่ยนเลนส์ตาดังนี้
- อาการตาแดง
- อาการเคืองตาหรือแสบตา ทำให้มีน้ำตาไหลมากและอาจจะมีอาการคัดจมูกร่วม
- ดวงตาไม่สู้แสงหรืออาจเห็นแสงเป็นวงหรือประกาย
อย่างไรก็ตาม อาจมีอาการอื่นที่เกิดขึ้นได้แม้จะมีโอกาสน้อยมาก ดังนี้
- การเกิดต้อหินในกรณีที่มีการเคลื่อนของเลนส์
- การเกิดต้อกระจกในกรณีที่มีการผ่าด้วยวิธี Sulcus-Supported PIOLs ในผู้ที่มีสายตาสั้นมากหรือผู้สูงอายุ
หลังเปลี่ยนเลนส์ตา ดูแลตนเองอย่างไร
หลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา สามารถดูแลตนเองโดยปฏิบัติได้ดังนี้
- หลังการผ่าตัดไม่ควรนำผ้าปิดตาออกด้วยตัวเอง
- งดการขยี้ตาหรือนอนตะแคงทับตาที่เข้ารับการรักษา
- ระวังไม่ให้น้ำหรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ เช่น ฝุ่นละอองหรือควัน เข้าตาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- งดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตาที่ผ่าตัด
- งดกิจกรรมอย่างเช่น การว่ายน้ำ สวมเสื้อทางศีรษะ ก้มศีรษะ เพื่อไม่ให้กระทบดวงตา
- รับประทานยาและใช้ยาหยอดตามตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเข้าพบแพทย์ตามนัดเพื่อเช็คอาการ
ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา
- สามารถเพ่งมองได้เหมือนเดิม เพราะเลนส์ธรรมชาติยังอยู่
- คุณภาพการหักเหของแสงในตายังดีอยู่ จึงทำให้เห็นภาพคมชัดกว่าการแก้ไขสายตาสั้นโดยการผ่าตัดรักษาสายตาที่กระจกตา
- สามารถเอาเลนส์เสริมออกได้หากผลลัพธ์ไม่เป็นที่พอใจ
- โอกาสที่จะเกิดสายตาสั้นและยาวหลังการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเป็นไปได้น้อย
- สามารถรักษาสายตาในผู้มีอาการตาแห้งมากได้
ข้อจำกัดของการเปลี่ยนเลนส์ตา
- กระบวนการเปลี่ยนเลนส์ตานั้นใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องมีการสั่งทำเลนส์ที่เหมาะกับระยะสายตาข้างนั้น ๆ โดยประมาณ 1-2 เดือนขึ้นอยู่กับค่าสายตาและชนิดของเลนส์ อีกทั้งยังทำการรักษาได้เพียงครั้งละข้างเท่านั้นก่อนจะทำการรักษาตาอีกข้าง
- การเข้ารับการผ่าเปลี่ยนเลนส์ตา ผู้เข้ารับการรักษาต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่ข้อกำหนดระบุไว้เท่านั้น
- ผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาราคาสูงกว่าการรักษาแบบอื่น ๆ
เปลี่ยนเลนส์ตาที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์
การเปลี่ยนเลนส์ตาเทียม Phakic IOL เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดบริเวณดวงตา โดยเฉพาะการเปลี่ยนเลนส์ตา ควรจะดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และควรทำในโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ
สมิติเวช ไชน่าทาวน์เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงในการรักษาโรคเกี่ยวกับดวงตา การเปลี่ยนเลนส์ตาเทียมที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาที่ไหนดี หรือกำลังสงสัยเกี่ยวกับราคาของการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเทียม การปรึกษากับโรงพยาบาลโดยตรงอาจทำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
เปลี่ยนเลนส์ตา ราคาเท่าไร
สำหรับค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนเลนส์ตา โดยการผ่าตัดตาทั้งสองข้าง ราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาลในเครือรัฐบาลอยู่ที่ประมาณ 80,000 บาท และโรงพยาบาลเครือเอกชนราคาเริ่มต้นที่ 150,000 บาท พร้อมอาจมีค่าบริการอื่นๆ เพิ่มเติมจากทางโรงพยาบาลอีกด้วย
ข้อสรุปเรื่องเปลี่ยนเลนส์ตา
หากใครที่รู้ตัวว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา เริ่มมองเห็นภาพไม่ชัดเจน อย่ามัวรีรอที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และตรงกับอาการมากที่สุด ซึ่งทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีทีมจักษุแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญเรื่องดวงตาพร้อมให้บริการและรักษา โดยสามารถโทรติดต่อที่เบอร์ 02-118-7893 ตลอด 24 ชั่วโมง
References
- Center for Devices and Radiological Health. (n.d.). What are phakic lenses? U.S. Food and Drug Administration. www.fda.gov/medical-devices/phakic-intraocular-lenses/what-are-phakic-lenses
- MyVision.org. (2022, May 4). Phakic intraocular lens (IOL) surgery. myvision.org/eye-surgery/phakic-iol/